PHRANAKHON STORY
โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ 23 แห่ง
วัดนรนาถสุนทริการาม ตั้งอยู่เชิงสะพานเทเวศร์นฤมิตร ตรงมุมคลองผดุงกรุงเกษม ตัดกับถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร ส่วนการสร้างตั้งเเต่เเรกนั้นยังไม่ทราบหลักฐานเเน่ชัดว่าสร้างมาตั้งเเต่เมื่อใด จนมาถึง ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระยาโชฎีกราชเศรษฐีเเละภรรยาได้มีจิตศรัทธาปฏิสังขรณ์วัด จนเเล้วเสร็จเเละถวายเเด่รัชกาลที่ 5 จนพระองค์พระราชทานนามว่า วัดนรนาถสุนทริการาม สมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ได้ทรงซ่อมเเซมวัดเเห่งนี้ เเต่ก็ได้รับความเสียหายอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เเละมีการบูรณะเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
วัดนรนาถสุนทริการาม เดิมชื่อว่า “วัดเทพยพลี” บางคนเรียกเพื้ยนไปเป็น วัดฉิมพลี สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงก่อน พ.ศ. 2394
ครั้นต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเห็นความทรุดโทรมของวัดในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการซ่อมแซมหมดทั้งวัด ต่อมา พ.ศ. 2475
พระยาโชฎีกราชเศรษฐีเเละภรรยาได้มีจิตศรัทธาปฏิสังขรณ์วัด จนเเล้วเสร็จเเละถวายเเด่รัชกาลที่ 5 จนพระองค์พระราชทานนามว่า วัดนรนาถสุนทริการาม
ความสวยงามของ วัดนรนาถสุนทริการาม นั้นมีอยู่หลายจุดเลยทีเดียวทั้ง พระอุโบสถ ที่มีศิลปะของรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วัดนรนาถสุนทริการาม เดิมชื่อว่า “วัดเทพยพลี” บางคนเรียกเพื้ยนไปเป็น วัดฉิมพลี สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นระหว่างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ถึงก่อน พ.ศ. 2394 ซึ่งเป็นปีที่รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้ขุดคลองผดุงกรุงเกษม และคลองนี้ได้ตัดผ่าน พื้นที่ของวัดเทพยพลีด้วย ต่อมาสมัยต้นรัชกาลที่ 5 พระยาโชฎีกราชเศรษฐี (เถียน โชติกเสถียร) ครั้งยังเป็นพระยานรนาถภักดี กับคุณหญิงสุ่น (ภรรยา) ได้มีจิตศรัทธาสละทรัพย์ทำการปฏิสังขรณ์วัด แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นการสร้างวัดขึ้นใหม่เพราะ ได้สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ พระเจดีย์ และกุฏิสงฆ์ใหม่หมด แม้แผ่นศิลาสี่เหลี่ยมจำนวนมากที่ปูภายใน บริเวณวัด
ก็สั่งมาจากเมืองจีน ครั้นปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อย ก็ได้น้อมเกล้าฯ ถวายแด่รัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ท่านก็ทรงรับไว้ เป็นพระอารามหลวงและได้ทรงแปลงให้เป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดนรนาถสุนทริการาม” ตั้งแต่ พ.ศ. 2418 เป็นต้นมา
ครั้นต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงเห็นความทรุดโทรมของวัดในคราวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการซ่อมแซมหมดทั้งวัด ต่อมา พ.ศ. 2475 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัติยนารี พระราชธิดาในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฎ
ปิยมหาราชปดิวรัดา ได้ทรงช่วยซ่อมพระอุโบสถ พระวิหาร และกุฏิสงฆ์อีกครึ่งหนึ่ง ในสมัยสงครามเอเชียบูรพา ปูชนียวัตถุภายในวัดแตกร้าวหักพังเพราะแรงสะเทือน ภายหลังเมื่อสงครามสงบแล้ว ต่อมาใน ระยะหลังๆ ทางวัดได้ทำการบูรณะซ่อมแซมบ้างและสร้างกุฏิสงฆ์ศาลาการเปรียญ และตึกสามัคคีเนรมิตเพิ่ม
วัดนรนาถสุนทริการาม ตั้งอยู่เชิงสะพานเทเวศร์นฤมิตร ตรงมุมคลองผดุงกรุงเกษม ตัดกับถนนสามเสน กรุงเทพมหานคร ส่วนการสร้างตั้งเเต่เเรกนั้นยังไม่ทราบหลักฐานเเน่ชัดว่าสร้างมาตั้งเเต่เมื่อใด จนมาถึงในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระยาโชฎีกราชเศรษฐีเเละภรรยาได้มีจิตศรัทธาปฏิสังขรณ์วัด จนเเล้วเสร็จเเละถวายเเด่รัชกาลที่ 5 จนพระองค์พระราชทานนามว่า วัดนรนาถสุนทริการาม ล่วงเลยมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์ได้ทรงซ่อมเเซม
วัดเเห่งนี้ เเต่ก็ได้รับความเสียหายอีกครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เเละมีการบูรณะอีกครั้งเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
ความสวยงามของ วัดนรนาถสุนทริการาม นั้นมีอยู่หลายจุดเลยทีเดียวทั้ง พระอุโบสถ ที่มีศิลปะของรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ส่วนพระวิหาร และกุฏิสงฆ์ นั้นก็สวยงามเป็นอย่างยิ่ง ส่วนตึกสามัคคีเนรมิตก็มีความงดงามเเละน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียวจนมีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมความงดงามอยู่เสมอ และด้วยการที่ตั้งอยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ก็ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถมาเห็นวิถีชีวิตที่ยังมีความงดงามเป็นอย่างมาก และมีวิวที่มีความสวยงามเป็นอย่างมากเลยทีเดียว นับว่าเป็นอีกวัด
ที่มีความพร้อมสรรพในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจในกรุงเทพ