PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ 23 แห่ง

วัดมกุฏกษัตริยาราม

วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนและคลองผดุงกรุงเกษม
ด้านใกล้ถนนราชดำเนินนอก วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสราชวรวิหาร

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

วัดมกุฏกษัตริยาราม

คลิกหัวข้อที่สนใจได้ที่ด้านล่างนี้

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้น

อาคารสำคัญในวัดได้แก่ พระวิหาร และพระอุโบสถ มีลายพระมหามงกุฏอันเป็นตราประจำรัชกาลที่ 4 ทั้งที่หน้าบันและด้านบนของซุ้มประตูหน้าต่างเช่นเดียวกัน

พระประธานในพระวิหารหลวง มีพระนามว่า “พระพุทธวชิรมงกุฏ” ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ วัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 9 นิ้ว สูง 2 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนพระบุษบกฐานหินอ่อน 2 ชั้น

ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารหลวง ท่ามกลางพระวิหารคด (พระระเบียงคด) สูง 20 วา รอบองค์พระเจดีย์ใหญ่ 25 วา

ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสหลังพระวิหารคดและกำแพงกั้นเขตหันหน้าสู่ทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฝาผนังพระอุโบสถหนาเกือบ 2 ศอก ยาว 7 วา กว้าง 3 วา มีหน้าต่างข้างละ 5 ช่อง

วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่มีสีมา 2 ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกและมีเฉพาะวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างขึ้นเท่านั้น สีมาชั้นแรกหรือชั้นนอก เรียกว่า “มหาสีมา”

ประวัติการก่อตั้ง

วัดมกุฏกษัตริยาราม

วัดมกุฏกษัตริยาราม
สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากขุดคลองผดุงกรุงเกษมเป็นคูพระนครชั้นนอกแล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มีวัดเรียงรายอยู่ตามชายคลองเหมือนที่กรุงศรีอยุธยา จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นเคียงคู่กับวัดโสมนัสราชวรวิหาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นแม่กองก่อสร้าง และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมขุนราชสีหวิกรม เป็นนายช่าง การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2411 ในขั้นแรกโปรดเกล้าฯ ให้เรียกชื่อ
ว่าวัดนามบัญญัติ เป็นการชั่วคราวก่อน เมื่อสิ้นรัชกาลจึงค่อยเรียกนามพระราชทานว่าวัดมกุฏกษัตริยาราม
อันเป็นนามตามพระปรมาภิไธย

วัดมกุฏกษัตริยารามในเขตพระนคร และวัดโสมนัสวิหาร
ที่อยู่ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นวัดในเขต
กรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีเสมา 2 ชั้น ชั้นแรกเรียกว่า
มหาสีมา อยู่ในซุ้มที่มุมกำแพงรอบวัด และยังมีเสมา
รอบพระอุโบสถอีกเรียกว่า ขัณฑสีมา ในวัดที่มีเสมา 2 ชั้นเช่นนี้ พระสงฆ์สามารถประชุมทำสังฆกรรมได้
ทั้งพระอุโบสถและพระวิหาร

ประวัติสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

ในวัดมกุฏกษัตริยาราม

อาคารสำคัญในวัดได้แก่ พระวิหาร และพระอุโบสถ
มีลายพระมหามงกุฏอันเป็นตราประจำรัชกาลที่ 4 ทั้งที่หน้าบัน
และด้านบนของซุ้มประตูหน้าต่างเช่นเดียวกัน ผนังด้านในพระอุโบสถ
มีภาพจิตรกรรมอันหลากหลายแตกต่างจากวัดอื่น เช่น เรื่องพระสาวกในบาลีและอรรถกถา พระอัครสาวก 11 พระองค์ อัครสาวิกา 8 องค์ ภาพการบำเพ็ญกรรมฐาน สิ่งที่พึ่งปฏิบัติเนื่องด้วยธรรมวินัย
ธุดงควัตร บนบานหน้าต่างและบานประตูด้านในเขียนพระสูตร
ที่เป็นคาถาด้วยตัวอักษรบรรจง เป็นต้น

วัดมกุฏกษัตริยาราม

พระวิหารหลวง

พระประธานในพระวิหารหลวง มีพระนามว่า “พระพุทธวชิรมงกุฏ” ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางสมาธิราบ วัสดุสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง
มีขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอก 9 นิ้ว สูง 2 ศอก 1 คืบ 8 นิ้ว ประดิษฐานอยู่บนพระบุษบกฐานหินอ่อน 2 ชั้น กล่าวกันว่าสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เจ้าอาวาสองค์ปฐมแห่งวัดโสมนัส ราชวรวิหาร (วัดโสมนัสวิหาร) ในขณะนั้นมาเป็นประธานในการหล่อ แต่ในคราแรกยังมิได้ตั้งนามตราบจน พ.ศ. 2511 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ในวาระครบ 100 ปีแห่งสถาปนาวัดมกุฏกษัตริยาราม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้ทรงถวายพระนามพระประธานองค์นี้ว่า “พระพุทธวชิรมกุฏ” [2] โดยถือเอานามวัด ซึ่งตั้งตามพระนามเดิมของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 คือ เจ้าฟ้ามงกุฎประกอบกับพระนามฉายาเมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาโณผนวกกับการที่วัดแห่งนี้ยังเป็นที่ประทับศึกษาพระปริยัติธรรม ของพระราชโอรส คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และของพระราชนัดดา คือ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 13 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกด้วย

วัดมกุฏกษัตริยาราม

พระมหาเจดีย์ใหญ่

ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหารหลวง ท่ามกลางพระวิหารคด (พระระเบียงคด) สูง 20 วา รอบองค์พระเจดีย์ใหญ่ 25 วา ฐานพระเจดีย์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ปัจจุบันได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหญ่ นับเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่สีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นสง่าราศี
แก่กรุงรัตนโกสินทร์อีกวัดหนึ่ง

วัดมกุฏกษัตริยาราม

พระอุโบสถ

ตั้งอยู่ในเขตพุทธาวาสหลังพระวิหารคดและกำแพงกั้นเขตหันหน้าสู่ทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐาน 2 ชั้น ฝาผนังพระอุโบสถ
หนาเกือบ 2 ศอก ยาว 7 วา กว้าง 3 วา มีหน้าต่างข้างละ 5 ช่อง ประตูข้างละ 2 ช่อง หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ใช้ปูนปั้น
เป็นนาคแทนช่อฟ้าใบระกา หน้าบันพระอุโบสถทั้ง 2 ข้าง ปั้นเป็นรูปพระมหามงกุฏ พระประดิษฐาน ณ ท่ามกลางลวดลาย
กระหนก ซุ้มประตูหน้าต่างภายนอกเป็นปูนปั้น ปิดทองล่องกระจกประกอบด้วยลายกระหนก บนซุ้มประตูหน้าต่าง
ปั้นเป็นรูปพระมหามงกุฏ ปิดทองล่องกระจกคล้ายกับที่พระวิหารหลวง มีเลข 4 ภายใต้พระมหามงกุฏ ประกอบด้วยลายกระหนกดอกพุดตาน นับว่าออกแบบได้งดงามยิ่ง ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังงดงามมาก เขียนเป็นตอนๆ ตั้งแต่
กรอบหน้าต่างถึงเพดาน เป็นการเขียนเล่าเรื่องพระอัครสาวก 10 ภาพ และประวัติของพระอัครสาวิกา คือนางภิกษุณี 9 ภาพ โดยภาพจิตรกรรมดังกล่าวได้รับการเขียนอย่างให้อารมณ์คล้อยตาม ด้วยสีสันอันงดงามเหมาะเจาะ อาคารบางหลังเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลทางตะวันตกซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในสภาพที่ยังดีอยู่น่าค้นคว้าศึกษา

วัดมกุฏกษัตริยาราม

สีมา

วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นวัดที่มีสีมา 2 ชั้น ซึ่งเป็นลักษณะที่แปลกและมีเฉพาะวัดที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดให้สร้างขึ้นเท่านั้น สีมาชั้นแรกหรือชั้นนอก เรียกว่า “มหาสีมา” มีซุ้มสีมาซึ่งตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของกำแพงรอบวัด
เป็นเครื่องหมายกำหนดเขต ภายในมหาสีมามีซุ้มบอกเขตมหาสีมาซุ้มสีมา เป็นลักษณะมหาสีมาแบบสีมาโปร่ง เป็นมหาสีมาที่ทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมจัตุรัสยาวแนบไปตลอดแนวความสูงของกำแพงเช่นกันส่วนปลายทำรูปทรงล้อสีมาแท่ง แต่ทำในลักษณะของสีมาโปร่งคือแต่ละด้านเป็นซุ้มคูหาทะลุถึงกันทั้งสี่ด้าน สีมาชั้นใน เรียกว่า “ขัณฑสีมา” ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถโดยมี
แผ่นหินจำหลักลายดอกบัวแปดกลีบแสดงเขตสีมาชั้นในหรือขัณฑสีมาประดับอยู่บนพื้นระเบียงตรงมุมทั้ง 4 ของพระอุโบสถ กำแพงแก้วและซุ้มสีมาบนกำแพง เป็นเขตคั่นกลางเพื่อมิให้สีมาชั้นนอก คือ “มหาสีมา” และสีมาชั้นใน คือ “ขัณฑสีมา”
คาบเกี่ยวกันหรือปนกัน อันจะทำให้สีมาทั้งสองนั้นใช้ไม่ได้ ระยะของช่องว่างที่จะต้องเว้นไว้หรือคั่นกลาง ระหว่างมหาเสมาและขัณฑเสมา เรียกว่า “สีมันตริก” พระสงฆ์สามารถประชุมทำสังฆกรรมได้ทั้งที่พระอุโบสถและพระวิหารหลวงแต่ถ้าทำในพระวิหารหลวงจะต้องให้พระสงฆ์ในวัดมาร่วมในพิธีทุกรูปมิฉะนั้นถือว่าพิธีสังฆกรรมนั้นเป็นโมฆะปัจจุบันเพื่อความสะดวกในการดูแล
ให้ถูกต้องตามพระวินัยกำหนดทางวัดจึงทำสังฆกรรมที่พระวิหารหลวงเพียงรับกฐินอย่างเดียว สังฆกรรมอื่นๆ

อ้างอิงจาก
ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458, หน้า 290
วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร. (2552). สืบค้น 18 เมษายน 2565, จากhttp://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=47918