PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ 23 แห่ง

วัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหาร (เดิมชื่อว่า วัดใหม่) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร
ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชไทยถึง 4 พระองค์
และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์
แห่งแรกในประเทศ และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และ 9

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

วัดบวรนิเวศวิหาร

คลิกหัวข้อที่สนใจได้ที่ด้านล่างนี้

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถ
มีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็น
พระประธาน

จดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง รอบฐานพระเจดีย์
มีศาลาจีนและซุ้มจีน

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงผนวชและประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ
ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่น
และสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

ประวัติการก่อตั้ง

วัดบวรนิเวศวิหาร

วัดบวรนิเวศวิหาร (เดิมชื่อว่า วัดใหม่) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ
แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สถาปนาขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
ในรัชกาลที่ 3 พระอารามนี้เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชไทยถึง 4 พระองค์ และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาของสงฆ์แห่งแรกในประเทศ และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 6 และ 9 พระประธานในพระอารามนี้มีความแตกต่าง
จากวัดอื่น ๆ โดยทั่วไป คือ มีพระประธาน 2 องค์ และล้วนมีความสำคัญเนื่องจากเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่โบราณ ได้แก่ พระพุทธชินสีห์
ซึ่งอัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก โดยอัญเชิญมาทั้งองค์ราวปี พ.ศ. 2373[2]
และพระสุวรรณเขต หรือ "พระโต" หรือ หลวงพ่อเพชร พระประธานองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานไว้เบื้องหลังพระพุทธชินสีห์
เป็นพระประธานองค์แรกของอุโบสถวัดนี้ ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี

วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคตเสียก่อน

วัดบวรนิเวศวิหาร

สถาปัตยกรรม

วัดบวรนิเวศวิหารมีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ 2 องค์เป็นพระประธาน
คือ พระพุทธสุวรรณเขต (หลวงพ่อโต) ที่อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี และพระพุทธชินสีห์ อัญเชิญมาจากวิหารทิศเหนือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ใต้ฐานพุทธบัลลังก์ พระพุทธชินสีห์ พระประธาน
ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทั้งสองพระองค์ทรงเคยผนวช ณ วัดแห่งนี้

วัดบวรนิเวศวิหาร

เจดีย์กลมขนาดใหญ่

ถัดจากพระอุโบสถออกไปเป็นเจดีย์กลมขนาดใหญ่ สร้างรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หุ้มกระเบื้องสีทอง
รอบฐานพระเจดีย์มีศาลาจีนและซุ้มจีน ถัดออกไปเป็นวิหารเก๋งจีน นอกจากนี้ก็มีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่ง
บริเวณรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระไพรีพินาศ

วัดบวรนิเวศวิหาร

พระพุทธนราวันตบพิตร

ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงผนวชและประทับ
ที่วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ประติมากรของกรมศิลปากรปั้นหุ่นและสร้างพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร
โดยเสด็จพระราชดำเนินหล่อพระพุทธรูปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2499 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ได้ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "พระพุทธนราวันตบพิตร"

อ้างอิงจาก
ประวัติวัดบวรนิเวศวิหาร – Wat Bowonniwet Vihara, https://watbowon.org/ .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร – กรุงเทพมหานคร : เว็บไซต์ธรรมะไทย, dhammathai.org .สืบค้นเมื่อ 09/01/2561
วัดบวรนิเวศวิหาร, http://www.watbowon.com/ .สืบค้นเมื่อ 09/07/2561
ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกสังฆการี เรื่อง รวมวัดรังษีสุทธาวาศเข้าหาวัดบวรนิเวศวิหาร, เล่ม 32, ตอน 0 ง, 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2458, หน้า 366
วัดบวรนิเวศวิหาร, ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร สมัยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์, กรุงเทพฯ : วัดบวรนิเวศวิหาร, 2503, หน้า 119-120