PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ 23 แห่ง

วัดราชบุรณะ

วัดราชบุรณะ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐาน

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

วัดราชบุรณะ

คลิกหัวข้อที่สนใจได้ที่ด้านล่างนี้

มูลเหตุแห่งการสร้างวัด
พระศรีรัตนศาสดารามขึ้นนั้น
เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณี
รัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต

เป็นพระภิกษุอีกรูปที่มีชื่อเสียง
ในฐานะจิตรกรเอก ในพระราชสำนัก
ผู้หนึ่ง ท่านเป็นจิตรกรท่านแรกที่นำเทคนิคภาพเขียนแบบยุโรปมาผสมผสานกับลักษณะดั้งเดิมของไทย

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปแบบพระพุทธชินราช พระนามว่า พระพุทธมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อ

พระปรางค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3
ฐานกว้างด้านละ 15 วา สูงจากพื้นถึงยอดนภศูล และยอดฉัตร 16 วา 2 ศอก

ประวัติการก่อตั้ง

วัดราชบุรณะ

วัดราชบุรณะ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ "วัดเลียบ" ตั้งอยู่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดนี้เป็นวัดหนึ่งตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ และวัดราชประดิษฐาน

สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระศรีสุดารักษ์ พระพี่นางเธอในรัชกาลที่ 1
ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดเลียบ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานนามว่า "วัดราชบุรณะ"

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากวัดตั้งอยู่ใกล้เคียงกับสถานที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ สะพานพระพุทธยอดฟ้า และโรงไฟฟ้าวัดเลียบ (ปัจจุบันคือการไฟฟ้านครหลวง เขตวัดเลียบ) สถานที่สำคัญต่าง ๆ ของวัด รวมทั้งพระอุโบสถที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ฝีมือขรัวอินโข่ง จึงถูกระเบิดทำลายจนหมด เหลือแต่พระปรางค์องค์ใหญ่หน้าพระอุโบสถเพียงองค์เดียว[1] จนต้องประกาศยุบวัดเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ต่อมาใน พ.ศ. 2491 ผู้มีศรัทธาได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์
ให้เป็นวัดตามเดิม จนตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 2491 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513

วัดราชบุรณะนี้ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชสมัย รัชกาลที่ 2 และ 3 ทั้งยังมีพระภิษุที่มีชื่อเสียง 2 องค์ คือ สมเด็จพระศรีสมโพธิราชครู (ขรัวอีโต้) และขรัวอินโข่ง มีชีวิตอยู่ในช่วง รัชกาลที่ 1 และ 2 ท่านได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากมหาชนตลอดจนเจ้านายทั้งหลาย ครั้นเมื่อท่านเสี่ยงความบริสุทธิ์ด้วยการลอยมีดโต้ลอยน้ำในสระกลางวัด ปรากฏว่ามีดโต้ลอยน้ำอย่างน่ามหัศจรรย์ นับแต่นั้นท่านก็ได้รับความศรัทธาเลื่อมใสจากมหาชนตลอดจนเจ้านายทั้งหลาย และพระพิมพ์ของท่านชื่อว่า พระขรัวอีโต้ จำนวน 84,000 องค์ ที่ถูกค้นพบในพระเจดีย์ที่ถูกรื้อในปี พ.ศ. 2472 เพื่อใช้พื้นที่สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก นั้นเป็นที่นับถือแพร่หลายเช่นเดียวกับพระพิมพ์สมเด็จวัดระฆัง หรือพระรอด และนอกจากนั้นยังมีแผ่นศิลาจารึกปริศนาด้วยอักษรขอมอีกแผ่นหนึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ในตู้ภายในพระอุโบสถ

ขรัวอินโข่ง

ขรัวอินโข่ง เป็นพระภิกษุอีกรูปที่มีชื่อเสียงในฐานะจิตรกรเอก ในพระราชสำนักผู้หนึ่ง ผลงานจะมีอยู่ทั้งในพระนครและหัวเมือง
แต่ไม่ปรากฏประวัติละเอียด ท่านเป็นจิตรกรท่านแรกที่นำเทคนิคภาพเขียนแบบยุโรปมาผสมผสานกับลักษณะดั้งเดิมของไทย
คือ การใช้แสงเงาทำให้เกิดภาพแบบสามมิติ ผลงานของท่านในปัจจุบันคือ ภาพลายรดน้ำที่หอไตรวัดชัยชนะสงคราม(วัดตึก) จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ภาพจิตรกรรมฝาผนังในหอพระคันธารราษฎร์ หอพระราชกรมานุสร
และหอพระราชพงศานุสรในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถวัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถวัดมหาสมณาราม จังหวัดเพชรบุรี และสมุดร่างภาพรามเกียรติ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร ที่วัดราชบุรณะนี้ ขรัวอินโข่งเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่พระอุโบสถหลังเดิม ซึ่งถูกระเบิดทำลายไปเมื่อปี พ.ศ. 2488 นับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายยิ่งที่ไม่เหลือผลงานอยู่ในวัดที่ท่านจำพรรษาจนมรณภาพ

วัดราชบุรณะ

พระประธาน
ในพระอุโบสถ

พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปแบบพระพุทธชินราช พระนามว่า พระพุทธมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อในพระอุโบสถเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2503

วัดราชบุรณะ

พระปรางค์

พระปรางค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 ฐานกว้างด้านละ 15 วา สูงจากพื้นถึงยอดนภศูล และยอดฉัตร 16 วา 2 ศอก ก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบทั้งองค์ เป็นพระปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบแปด มีฐานบัวซ้อนขึ้นไป 5 ชั้น แต่ละชั้นทำเป็นรูปมารแบก
โดยรอบชั้นซุ้มค่อนข้างสูงเหนือชั้นซุ้มขึ้นไปเป็นชั้นกลีบขนุน 8 ชั้น ยอดพระปรางค์เป็นนภศูล มีมงกุฎครอบบนนภศูลอีกทีหนึ่ง

อ้างอิงจาก
เดอะคลาวด์. (2563). สุดยอดงานศิลปะในวัดหลวง 11 แห่งใจกลางพระนครที่เป็นเหมือน Art Gallery ชั้นดี. สืบค้นจากhttps://readthecloud.co/royal-temple-rattanakosin-island/
Dhammathai. (2563). วัดราชบุรณ ราชวรวิหาร. สืบค้นจาก https://dhammathai.org/watthai/bangkok/watratchaburana.php
ยิ้ม ปัณฑยางกูร.(2499). ขรัวอินโข่ง. สารานุกรมไทยเล่ม 3. ราชบัณฑิตยสถาน