PHRANAKHON STORY
โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ 23 แห่ง
วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นพระอารามหลวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวังและการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี
ในปี พ.ศ. 2325 ประเพณีการสร้างพระอารามหลวงในเขตพระราชวังมีมาตั้งแต่อดีต เช่น วัดมหาธาตุ
ในพระราชวังกรุงสุโขทัย วัดพระศรีสรรเพชญ์ในพระราชวังกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น ลักษณะสำคัญของ
พระอารามหลวงในพระราชวัง คือ มีแต่เขตพุทธาวาส ไม่มีเขตสังฆาวาสสาหรับพระสงฆ์จำพรรษา
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นนั้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต
เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน ขนาด 15 ห้อง มีทางขึ้นพระอุโบสถ 6 ทาง ราวบันไดก่ออิฐฉาบปูนตอนปลายทำเป็นเสาเม็ดทรงมัณฑ์
หรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะแบบล้านนารุ่นหลัง มีหน้าตักกว้าง 48.30 เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี 66 เซนติเมตร
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปกาไหล่ทอง ประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิ
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นศาลาโถงไม่มีฝา ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถ
เป็นหอประดิษฐานพระพุทธรูปทรงอุทิศถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จานวน 8 องค์
มีลักษณะเป็นบุษบกยอดมงกุฎ
ตั้งอยู่บนฐานไพทีมีฐานทักษิณก่ออิฐถือปูนบุหินอ่อน
ทาจากสาริด ปั้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์เป็นหมอที่ถวายการรักษาพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยักษ์ปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ
มีลักษณะเป็นพระเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูนทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสิงห์ 3 ชั้น ฉาบปูนทาสีขาว มีฐานบัวหงาย
สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชา
ใช้สำหรับประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี
เป็นเจดีย์ทรงลังกา ตั้งอยู่บนฐานไพทีด้านทิศตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2398
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2332 เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่
ตั้งอยู่บนฐานไพทีด้านทิศตะวันออก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2398 พระราชทานนามว่าพระพุทธปรางค์ปราสาท
เป็นสถาปัตยกรรมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จำลองไว้บนฐานไพทีทางด้านทิศเหนือ
มีอยู่ 2 องค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นอุทิศถวายสมเด็จพระปฐมบรมราชชนก และพระราชมารดา
เป็นอาคารทรงไทย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีขนาด 7 ห้อง
ต่เดิมเป็นที่ตั้งของหอพระเชษฐบิดร หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าวิหารขาว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
สร้างขึ้นหลังจากที่หอพระมณเฑียรธรรมเดิมซึ่งอยู่กลางสระน้าถูกเพลิงไหม้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ สร้างขึ้นหลังจากที่หอพระมณเฑียรธรรมเดิม
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารทรงไทยขนาดเล็ก หลังคาแบ่งเป็น 2 ตอน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับหอพระคันธารราษฎร์ เพื่อประดิษฐานพระเจดีย์โบราณที่ทรงได้มาจากเมืองเหนือ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อให้ครบบริบูรณ์ตามลักษณะของวัดทั่วไป
ขยายพระระเบียงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามขึ้นนั้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้อัญเชิญมาจาก
กรุงศรี-สัตนาคนหุตหรือประเทศลาว แล้วนำไปประดิษฐาน
ไว้ที่โรงด้านหน้าพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ต่อมาเมื่อ
เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ขึ้นเป็นพระปฐมบรมกษัตริย์
แห่งพระบรมราชวงศ์จักรีแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญ
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เข้ามาประดิษฐานในพระอุโบสถ
พระอารามใหม่ ในวันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2327
แล้วพระราชทานนามพระอารามว่า “วัดพระศรีรัตนศาสดาราม”
การก่อสร้างได้รับอิทธิพลตามคติความเชื่อสมมุติเทวราช และคติจักรวาลอันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกน สร้างความรู้สึกเบาลอยตัวเสมือนไร้น้ำหนัก
มุ่งสู่สวรรค์ โดยช่างรับเอาแนวนิยมแบบสร้างความเบาลอยมาใช้
เนื่องด้วยความเชื่อในคติพุทธศาสนาที่เกี่ยวกับเรื่องราวในมิติของสวรรค์ ซึ่งกล่าวถึงเทพวิมานผสมกับความเชื่อเรื่องสมมุติเทวราช
ที่พระมหากษัตริย์ได้รับการยกย่อง จึงทำให้ช่างพยายามคิดลักษณะสถาปัตยกรรมที่จะให้คล้อยตามความรู้สึกของอาคารบนเทวภูมิให้ได้
มากที่สุด เช่น เส้นอ่อนยกปลายทั้งสองขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกเบาลอยเหมือนเรือที่ลอยอยู่เหนือน้ำ หรือรู้สึกว่าลอยอยู่กลางอากาศได้ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า “ท้องสำเภา” และเส้นอ่อนที่ทอดตัวยกปลายขึ้นสู่ท้องฟ้า
นิยมเรียกกันว่าเส้น “จอมแห” เส้นนี้ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกที่นำขึ้นสู่
เบื้องสูงชี้ทางสวรรค์ มักใช้กับสถาปัตยกรรมที่มีทรงสูง เช่น พระเจดีย์ มณฑป พระปรางค์ ปั้นลมหลังคา และจั่ว วัดพระศรีรัตนศาสดารามประกอบด้วยอาคารต่างๆ ดังนี้
เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน ขนาด 15 ห้อง มีทางขึ้นพระอุโบสถ 6 ทาง ราวบันไดก่ออิฐฉาบปูนตอนปลายทำเป็น
เสาเม็ดทรงมัณฑ์ และระดับพื้นพระอุโบสถมีบันไดทางขึ้นมุขทิศตะวันออกและตะวันตกด้านละ 3 ทาง บันไดกลางตรงกับ
พระทวารใหญ่เป็นทางเสด็จพระราชดำเนินโดยเฉพาะ ส่วนบันไดอีก 2 ข้าง สำหรับประชาชนทั่วไป บริเวณพื้นเฉลียงสองข้างบันไดตั้งสิงห์สาริด ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ศิลปะแบบเขมร มีทั้งสิ้น 6 คู่
หลังคาพระอุโบสถเป็นหลังคาทรงไทย
มีมุขลด 3 ชั้น มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์
นาคสะดุ้ง หน้าบันเป็นไม้จาหลักลายรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ซึ่งเป็นการยกย่องสถาบัน
พระมหากษัตริย์ สร้างตามคติความเชื่อเรื่อง
พระนารายณ์อวตาร และเป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นอาคารที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้สร้าง โดยมีลายกระหนกเครือเถาปิดทองเป็นลายก้านขด
ปลายลายเป็นรูปเทพนมประดับอยู่โดยรอบ
ผนังพระอุโบสถด้านนอก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เขียนลายรดน้ำบนพื้นสีแดงชาด แต่มีการซ่อมแปลงเป็นการประดับด้วยดินเผาลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง
ปิดทองประดับกระจก เมื่อคราวบูรณปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตามที่เห็นในปัจจุบัน ผนังตอนล่างใต้หน้าต่างเป็นฐานปัทม์ตั้งรูปครุฑยุดนาคทรงเครื่องโดยรอบ จำนวน 112 ตน ซุ้มพระทวาร
เป็นซุ้มทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก เพดานซุ้มทาสีชาดประดับด้วยดอกจอกใหญ่และดอกจอกน้อยรายรอบทั้งแปดทิศ
ผนังกบภายนอกเป็นลายปูนปั้นรูปเซี่ยวกางถือง้าวเหยียบสิงโตแต่ทรงเครื่องและสวมชฎาแบบไทย บานพระทวารบานกลาง
เป็นบานพระทวารประดับมุกลายช่องกลม แต่ละช่องมีปลายลายเป็นภาพสัตว์หิมพานต์ครึ่งตัวออกจากช่อลาย ส่วนบานพระทวารข้างซ้ายและขวาเป็นบานประดับมุกลายเต็ม ปลายลายเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ บานพระทวารด้านในเป็นลายรดน้ำเครือแย่งทรงข้าวบิณฑ์ดอกในปิดทอง ซุ้มพระบัญชรเป็นซุ้มทรงมณฑป ผนังกบภายนอกเป็นลายปูนปั้นรูปเทวดาถืออาวุธยืนบนแท่น บานพระบัญชรเป็นบานประดับมุกลายประจำยามก้านแย่ง
ผนังด้านในโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังด้วยสีฝุ่นผสมกาว โดยแสดงภาพต่างๆ ดังนี้ ผนังเหนือกรอบประตูหน้าต่าง
รอบพระอุโบสถ เขียนภาพปฐมสมโพธิ แสดงภาพพระพุทธประวัติของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ผนังหุ้มกลองด้านหน้า ปรากฏภาพมารผจญ ภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผม และทรงชนะพญามาร ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผนังทางด้านทิศเหนือตั้งต้นจากด้านหน้า เป็นเรื่องต่อเนื่องจากตอนตรัสรู้ เรื่อยมาจนถึงเสด็จปรินิพพาน และการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
ผนังหุ้มกลองด้านหลัง เป็นภาพไตรภูมิ โดยเขียนเฉพาะเรื่องกามภพหรือกามาวจรภูมิ ผนังระหว่างช่องหน้าต่าง
เขียนภาพพุทธชาดกต่างๆ ขอบล่างหน้าต่างตอนล่างด้านทิศเหนือเป็นภาพขบวนพยุหยาตราสถลมารค ด้านทิศใต้เป็นภาพ
ขบวนพยุหยาตราชลมารค เหนือกรอบประตูหน้าต่างประดับภาพจิตรกรรมพระพุทธรูปปางต่างๆ เขียนบนแผ่นกระจกใส่กรอบไม้ฉลุลายปิดทอง ประดับไว้กลุ่มละ 3 ภาพ รวมทั้งสิ้น 72 ภาพ
รอบพระอุโบสถล้อมด้วยกาแพงแก้ว ตั้งซุ้มเสมา 8 ซุ้ม เสมา
เป็นสิ่งที่แสดงขอบเขตความเป็นพระอุโบสถ สำหรับซุ้มเสมาวัดพระศรีรัตนศาสดารามมีรูปแบบพิเศษมากกว่าแห่งอื่นๆ คือ ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างเสมา และพัฒนาขึ้นในลักษณะของอาคารทรงปราสาท คือ มีส่วนที่เป็นเรือนธาตุไว้ใบเสมา มีหลังคาจัตุรมุข เหนือหลังคาเป็นทรงปราสาท 5 ยอด
ประกอบด้วยยอดประธานที่เป็นเจดีย์ทรงเครื่อง และมียอดเจดีย์อีก 4 ยอดเหนือหลังคาจัตุรมุข ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงเครื่องเช่นเดียวกัน ถือเป็นซุ้มเสมาที่มีการประยุกต์เอาแนวความคิดเรื่องซุ้มเสมา และอาคารทรงปราสาทมาใช่อย่างแท้จริง ภายในซุ้มประดิษฐานใบเสมา อันเป็นเครื่องหมายปักเขตพระอุโบสถ เพื่อแสดงว่าเป็นวิสุงคามสีมา แต่เดิมใบเสมาที่ประดิษฐานอยู่ภายในซุ้ม เป็นใบเสมาศิลาทรงเครื่องซุ้มละ 1 คู่ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็นใบเสมาที่ทาจากโลหะ ตามที่เห็นในปัจจุบัน
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และพระพุทธรูปสำคัญอื่นๆ ตลอดจนเครื่องสักการะบูชาต่างๆ แต่เดิมพระพุทธมหามณี
รัตนปฏิมากรประดิษฐานในบุษบกทองคาต่อกับฐานชุกชี มีพระพุทธรูปฉลองพระองค์ตั้งบังอยู่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ
ให้นำไม้ที่สร้างเป็นเบญจารองรับพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จ
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาหนุนบุษบกให้สูงขึ้นดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะแบบล้านนารุ่นหลัง มีหน้าตักกว้าง
48.30 เซนติเมตร สูงจากฐานถึงพระรัศมี 66 เซนติเมตร ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิราบเหนือฐานหน้ากระดานเกลี้ยง
ฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงประจำฤดู ซึ่งมี 3 ฤดู ได้แก่ คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) และ วสันตฤดู (ฤดูฝน) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้างถวาย ส่วนเครื่องทรงสำหรับ เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงสร้างถวาย โดยจะมีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทุกฤดูจนกระทั่งถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนเครื่องทรง
ประจำฤดูกาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถือเป็นพระราชภารกิจสำคัญที่จะเสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวงศ์เสด็จแทนพระองค์เมื่อมิอาจเสด็จพระราชดำเนินได้ กำหนดการเสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ถือปฏิบัติดังนี้
พระสัมพุทธพรรณี เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เป็นพระพุทธรูปกาไหล่ทอง ประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบ
แสดงปางสมาธิ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อสร้างเมื่อครั้งยังทรงผนวช พระพุทธรูปองค์นี้ปราศจากพระเกตุมาลา และครองจีวรจีบเป็นริ้วดังริ้วผ้าตามธรรมชาติ และได้ทรงบรรจุดวงพระชนมพรรษาและพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระ และประดิษฐานไว้ในพระตำหนักเป็นที่ทรงนมัสการ และเป็นหอสวดมนต์ของพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายตลอดมา
เมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสัมพุทธพรรณีไปตั้งในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
และอัญเชิญไปประดิษฐานบนฐานชุกชีพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้ทรงแก้ไขแบบพระพุทธรูปให้มีพระรัศมี โดยพระรัศมีนั้นมี 3 องค์ๆ ละสี คือ กาไหล่ทอง แก้วขาว และแก้วน้ำเงิน (6)
พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนพระรัศมีตามฤดูกาล คือ พระรัศมีองค์กาไหล่ทองสำหรับฤดูร้อน องค์สีขาวหรือสีนากสำหรับฤดูหนาว
และสีน้ำเงินสาหรับฤดูฝน ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนพระรัศมีในคราวเดียว
กับการเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปทรง-เครื่องจักรพรรดิราชาธิราชขึ้นสองหมู่
หมู่แรกประกอบด้วยพระพุทธรูปประทับยืนขนาดใหญ่ 2 องค์ คือ พระพุทธรูปพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธรูป
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย มูลเหตุของการสร้างพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ สืบเนื่องจากทรงพระราชปรารภถึงพระราชพงศาวดาร
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งพระนครศรีอยุธยา ทรงหล่อพระศรีสรรเพชญ์หุ้มด้วยทองคำ ประการหนึ่ง และพระเจ้าแผ่นดิน
ภายหลังก็ได้ทรงหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ซึ่งเป็นปฐมบรมราชาธิราชผู้สถาปนากรุงศรี-อยุธยาขึ้นไว้เป็นที่นมัสการอีกประการหนึ่งจึงทรงพระราชศรัทธาจะทรงสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่หุ้มด้วยทองคำให้เป็นพระราชกุศลใหญ่
และเป็นพระเกียรติยศบ้าง โดยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยทรงปรึกษาด้วยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งยังทรงผนวชอยู่ เมื่อสร้างสำเร็จบริบูรณ์แล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ
ศาลาราย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นศาลาโถงไม่มีฝา ตั้งอยู่รายรอบพระอุโบสถ
ศาลารายทั้ง 12 หลังนี้ มีลักษณะเหมือนกันทั้งรูปร่าง ขนาดและความสูง ลักษณะเป็นศาลาโถงขนาด 2 ห้อง หลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสี หน้าบันเป็นรูป เทพนมปิดทองบนพื้นกระจกสีขาว ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และนาคสะดุ้ง พื้นทาเป็น 2 ระดับปูด้วยหินอ่อน ใช้สำหรับนักเรียนสวดในเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งยังคงสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันแล้ว
ยังใช้เป็นที่นั่งพักผ่อนสำหรับพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยว
หอพระราชกรมานุสร เป็นอาคารทรงไทยขนาดเล็ก
หลังคาเป็นโครงไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง หน้าบันจำหลักลาย
เป็นพระบรมราชสัญลักษณ์รูปอุณาโลมของรัชกาลที่ 1
ด้านทิศเหนือ และพระบรมราชสัญลักษณ์รูปครุฑยุดนาค
ของรัชกาลที่ 2 ด้านทิศใต้ ผนังภายในเป็นจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ พระอาจารย์อิน (ขรัวอินโข่ง) แห่งวัดราชบูรณะฯ เขียนภาพ
พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาที่สาคัญ คือ ภาพพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถี ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มบันแถลง 2 ชั้น
มีการนำรูปใบไม้แบบตะวันตกผสมผสานกับลายดอกพุดตาน
มาผูกลายเป็นซุ้ม แสดงให้เห็นความสามารถของช่างไทย ที่นำลวดลายแบบตะวันตกมาผูกเป็นซุ้มแบบไทยได้อย่างลงตัว
บานประตูและหน้าต่างเป็นบานไม้ปิดทองจาหลักลายเป็นรูปเทวดายืนบนแท่น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวน 34 องค์ ทำจากทองแดงในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระโพธิธาตุพิมาน มีลักษณะเป็นบุษบกยอดมงกุฎ ตั้งอยู่บนฐานไพทีมีฐานทักษิณก่ออิฐถือปูนบุหินอ่อน ภายในบุษบกประดิษฐานพระปรางค์โบราณขนาดเล็ก
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญมาจากเมืองเหนือขณะยังทรงผนวช ภายในองค์พระปรางค์มีปูชนียวัตถุบรรจุอยู่ภายใน คือ ผอบศิลาบรรจุพระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยา ผอบศิลาหุ้มด้วยขี้ผึ้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
และพระพุทธรูป รวม 13 องค์
รูปปั้นชีวกโกมารภัจจ์ ทำจากสำริด ปั้นขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ชีวกโกมารภัจจ์เป็นหมอที่ถวายการรักษาพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล ซึ่งคนไทยได้ยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนโบราณ ที่ด้านหน้าหมอชีวกโกมารภัจจ์
ตั้งแท่นหินบดยา สมัยโบราณจะนำสมุนไพรมาบด โดยเชื่อว่าจะทำให้ยาสมุนไพรนั้นมีสรรพคุณมากขึ้น
ยักษ์ทวารบาล สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยักษ์ปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ แกนในเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 6 เมตร มือทั้งสองกุมกระบอง เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 6 คู่ ยักษ์ทวารบาลแห่งนี้
ต่างจากยักษ์ทวารบาลวัดอื่นๆ คือ วัดโดยทั่วไปยักษ์ทวารบาลจะอยู่นอกวัดหรือหันหน้าออกจากอาคาร
เพื่อปกปักรักษาสถานที่ เช่น ยักษ์วัดอรุณราชวราราม แต่ยักษ์ทวารบาลทั้ง 6 คู่ นี้ หันหน้าเข้าสู่วัดทุกตน เนื่องจากการสร้างยักษ์เหล่านี้ขึ้นมา ก็เพื่อให้มีหน้าที่
เฝ้ารักษาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
ทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ จะเห็นฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ย่อมุมไม้สิบสอง ยกสูง 3 ชั้น มีกำแพงแก้ว
โดยรอบ แต่เดิมในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นฐานประทักษิณ
ของพระมณฑปสูง 3 ชั้น ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ถมฐานประทักษิณของพระมณฑปเสีย 2 ชั้นแล้วขยายไปทางด้าน
ทิศตะวันออกและตะวันตก สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์บนฐานที่ขยายออกไป รวมเรียกฐานที่สร้างอาคารทั้งสามหลังว่า “ฐานไพที” บนฐานนี้ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างต่างๆ
พระเจดีย์ทรงเครื่อง แต่เดิมเป็นพระเจดีย์ประดับอยู่ที่มุมพระมณฑป ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างปราสาทพระเทพบิดร และพระศรีรัตนเจดีย์ พระเจดีย์คงจะกีดขวางการก่อสร้าง จึงย้ายไปประดิษฐานไว้ด้านหลัง
ของพระศรีรัตนเจดีย์ มีลักษณะเป็นพระเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูนทรงเครื่องย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสิงห์ 3 ชั้น ฉาบปูนทาสีขาว มีฐานบัวหงายรอบรับองค์พระเจดีย์ซึ่งปิดทองประดับกระจก ตอนบนเป็นบัวกลุ่ม 7 ชั้น เหนือบัวกลุ่มเป็นปลีมีลูกแก้วคั่น
ถึงเม็ดน้ำค้างประดับกระจก
พนมหมาก สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว เพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชา พนมหมากเป็นเครื่องตกแต่งฐานไพทีตรงส่วนย่อมุมด้านทิศตะวันออกและตะวันตก รวมทั้งสิ้น
18 พุ่ม ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมประดับด้วยหินอ่อน พนมหมากสร้างด้วยการก่ออิฐฉาบปูน ประดับกระเบื้องถ้วย ลักษณะคล้ายกรวยใบตอง ตั้งบนพานแว่นฟ้าย่อมุมไม้สิบสอง 2 ชั้น
พระบุษบก ใช้สำหรับประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์
ของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบุษบกขึ้น
3 องค์ เพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อทรงปฏิสังขรณ์พระอารามในโอกาสฉลองพระนครครบ 100 ปี ในปี พ.ศ. 2425 โดยโปรดฯ
ให้จำลองพระราชลัญจกรประจำพระองค์ รัชกาลที่ 1 -5
มาประดิษฐาน ในรัชกาลปัจจุบัน สมเด็จพระเทพ-รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ในสร้างบุษบกประดิษฐาน
พระราชลัญจกรรัชกาลที่ 6 ถึงรัชกาลปัจจุบัน อีก 1 องค์
เมื่อคราวฉลองสมโภชพระนครครบ 100 ปี พระบุษบกทั้ง
4 องค์ มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ ทำเป็นรูปบุษบก
ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายในบุษบกประดิษฐาน
พระบรมราชสัญลักษณ์บนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ตอนล่างเป็นแท่นก่ออิฐฉาบปูนบุหินอ่อนก่อลดหลั่นกัน 3 ชั้น ชั้นบนจารึกคำอุทิศถวายพระมหากษัตริย์ พร้อมกับพระราชกรณียกิจ
เกี่ยวกับการสร้าง และการปฏิสังขรณ์
วัดพระศรีรัตนศาสดารามของรัชกาลนั้นๆ ระหว่าง
ฐานแปดเหลี่ยมทั้ง 4 ด้าน ก่อเป็นแท่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ตั้งรูปจำลองสำริด พญาช้างเผือกและช้างสำคัญ
ประจำรัชกาลนั้นๆ
เป็นเจดีย์ทรงลังกา ตั้งอยู่บนฐานไพทีด้านทิศตะวันตก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
ในปี พ.ศ. 2398 ตามแบบพระมหาเจดีย์ในวัดพระศรีสรร-เพชญ์ ในพระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุที่ทรงได้มาจากลังกา ในคราวฉลองพระนครครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ให้เสริมพอกแก้รูปทรงพระศรีรัตนเจดีย์ และประดับกระเบื้องทองภายนอกทั้งองค์ ภายในองค์พระเจดีย์เป็นห้องโถงกลม
ผนังโบกปูนทาสีขาวสอบไปตามความสูงของพระเจดีย์ ตรงกลางห้อยฉัตรสีขาวตรงกับพระเจดีย์ที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุ ตรงกลางห้องประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่บนฐานก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น ฐานล่าง
เป็นรูปแปดเหลี่ยมมีมุขสี่มุข ฐานบนเป็นฐานบัวหงาย องค์เจดีย์มีลักษณะเหมือนกับพระศรีรัตนเจดีย์ทุกประการ
ยกเว้นแต่เป็นเจดีย์ลงรักสีดำทั้งองค์
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2332 ตรงบริเวณตำแหน่งที่ตั้งของ
หอพระมณเฑียรธรรมองค์เดิมที่ถูกเพลิงไหม้ เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ที่โปรดเกล้าฯ ให้สังคายนาขึ้นไว้สำหรับแผ่นดิน พระมณฑปนี้มีลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมทรงมณฑปตั้งอยู่บนฐานยกพื้น หลังคาเป็นยอดจอมแห
ให้ความรู้สึกไร้น้ำหนักล่องลอยสู่สวรรค์ สร้างขึ้นตามคติ
เขาพระสุเมรุ ส่วนยอดมณฑป 7 ชั้นซ้อน ทำขึ้นสำหรับ
อาคารสาคัญในพุทธศาสนาโดยถือว่าเป็นบริโภคเจดีย์
และสำหรับอาคารสำคัญในสถาบันพระมหากษัตริย์
บันไดทั้ง 4 ด้าน ตกแต่งด้วยพลสิงห์รูปนาคจำแลง
คือ นาคที่มีหน้าเป็นมนุษย์สวมมงกุฎ ตัวนาคปั้นปูนปิดทองประดับกระจก หัวนาคทั้ง 5 หัวและหางนาคเป็นโลหะหล่อ
ลงรักปิดทอง ปลายพลสิงห์บันไดก่อเป็นฐานบัว
ประดับหินอ่อนตั้งประติมากรรมรูปยักษ์ถือกระบอง ซึ่งเป็นฝีมือครูดำ ประติมากรในรัชกาลที่ 1 หน้ากระดานฐานปัทม์
ตอนล่างประดับด้วยหิน ต่อจากนั้นเป็นกระจังและกระหนก
เท้าสิงห์ประดับด้วยกระจกสี หลังกระจังเป็นครุฑพนมและอสูรทรงเครื่องนั่งพนมมือสลับกัน เหนือขึ้นไปมีเทพพนม
ทรงเครื่องหล่อด้วยทองแดงปิดทอง ซึ่งสร้างตาม
คติความเชื่อเรื่องเขาพระสุเมรุเช่นเดียวกัน
ซุ้มพระทวาร
เป็นซุ้มยอดทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก
บานแผละเขียนลายกำมะลอมีพื้นสีม่วงลายทองเป็นรูปเซี่ยวกางถือหอกและตรียืนเหยียบหลังสิงโต บานพระทวารด้านนอกเป็นบานประดับมุก มีแม่ลายเป็นกระหนกก้านขดนกคาบ
ตรงกลางเป็นราชสีห์ บานพระทวารนี้มีภาพจับเป็น
ลายประดับมุกที่สาคัญอยู่ในกรอบวงกลม 8 ดวง
ด้วยกันทั้ง 2 บาน ผนังด้านในเป็นลายรดน้ำปิดทอง
ทรงข้าวบิณฑ์ บนพื้นสีชาด พื้นพระมณฑปปูด้วยเสื่อเงิน
สานเต็มทั้งห้องถึงฐานตู้ที่ประดิษฐานพระไตรปิฎก ตรงกลางห้องประดิษฐานตู้พระไตรปิฎกประดับมุกทรงมณฑปใหญ่ บรรจุพระไตรปิฎก 84,000 พระธรรมขันธ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
บริเวณฐานพระมณฑปทั้ง 4 มุม ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลามุมละ 1 องค์ พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิพระหัตถ์ทำมุทราต่างๆ มีพุทธลักษณะตามคติมหายาน มีประภามณฑล
รูปเสมาขอบสลักลายบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย พระพุทธรูปศิลาเหล่านี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงได้มาจากชวา เมื่อครั้งเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2439 (13) พระพุทธรูปทั้ง 4 องค์
ที่มุมพระมณฑปเป็นการจาลองขึ้นมาใหม่ เมื่อครั้งสมโภชพระนครครบ 200 ปี โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ทำจำลองและตั้งแทนพระพุทธรูปศิลาองค์เดิมซึ่งย้ายไปตั้งที่พิพิธภัณฑ์
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ตั้งอยู่บนฐานไพทีด้านทิศตะวันออก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี
พ.ศ. 2398 พระราชทานนามว่าพระพุทธปรางค์ปราสาท
มีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐาน แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน
การก่อสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทสำเร็จลงในปี พ.ศ. 2425 พร้อมกับงานฉลองพระนครครบ 100 ปี แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วทรงเห็นว่ามีขนาดไม่เพียงพอกับพระราชพิธีต่างๆ จึงมิได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรมาประดิษฐาน
แต่โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระเจดีย์กาไหล่ทองที่เคยตั้งเป็นประธานในพระพุทธมณเฑียรมาประดิษฐานแทน แต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2446 เกิดเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจร
ทำให้เครื่องบนหลังคารวมทั้งพระเจดีย์กาไหล่ทองถูกเพลิงไหม้และหลอมไปด้วย ขณะเพลิงไหม้ได้ถอดบานพระทวารและ
พระบัญชรประดับมุกออกทั้งหมด หลังจากนั้นโปรดเกล้าฯ
ให้ซ่อมหลังคาและส่วนที่ชำรุดเสียหาย ส่วนบานพระทวาร
และพระบัญชรประดับมุก โปรดเกล้าฯ ให้นำไปประดับ
ที่พระอุโบสถวัดราชบพิธฯ การบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้
ยังไม่แล้วเสร็จได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้บูรณปฏิสังขรณ์จนสำเร็จบริบูรณ์แล้วได้ตกแต่งภายใน
และแก้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จ
พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าในพระบรมราชจักรีวงศ์ทั้ง
5 พระองค์ และให้แปลงนามเรียกว่า “ปราสาทพระเทพบิดร”
ลักษณะสถาปัตยกรรมปราสาทพระเทพบิดร เป็นอาคารจัตุรมุขทรงไทย ยกยอดปราสาทเป็นทรงปรางค์ ประดับนพศูลรูป
พระมหามงกุฎอยู่บนยอดปรางค์ หน้าบันมุขด้านทิศตะวันออกและมุขลดประดิษฐานพระมหามงกุฎ ซึ่งเป็นพระราชลัญจกร
ของรัชกาลที่ 4 หน้าบันมุขด้านทิศเหนือเป็นรูปอุณาโลม พระราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 1 มุขด้านทิศใต้เป็นรูปครุฑยุดนาค
พระราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 2 มุขด้านทิศตะวันตกเป็นรูปพระวิมาน พระราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 3
ซุ้มประตูหน้าต่าง
เป็นซุ้มยอดทรงมงกุฎปิดทองประดับกระจก บานแผละทั้ง 2 ข้างปั้นปูนปิดทองเป็นลายพระราชสัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 1 -5 เพดานของซุ้มเป็นลายดวงดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 5 ดวงมี ดารานพรัตน์เป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยดาราจักรี
ดาราจุลจอมเกล้า ดาราช้างเผือก และดารามงกุฎไทยบนพื้นกระจกสีขาว ภายในปราสาทพระเทพบิดรเป็นห้องโถง ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าแห่งพระราชวงศ์จักรี ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 - 8 เพดานเหนือพระบรมรูป
แขวนพระมหาเศวตฉัตร 9 ชั้น
บริเวณลานบนฐานไพทีตั้งประดับด้วยรูปปั้นสัตว์หิมพานต์ หล่อด้วยสำริดปิดทองประดับกระจก ได้แก่ สิงหพานร อสุรวายุภักดิ์ อสุรปักษี เทพนรสิงห์ เทพกินนร เทพปักษี และอัปสรสีห์
นครวัดจำลอง เป็นสถาปัตยกรรมพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จำลองไว้บนฐานไพทีทางด้านทิศเหนือ ตรงข้ามกับพระมณฑป เพื่อจะให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นของมหัศจรรย์ทำด้วยศิลาทั้งสิ้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระสามภพ
พ่ายออกไปถ่ายแบบปราสาทที่นครวัด และจำลองขึ้นไว้ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาเพชรพิไชย (หนู หงสกุล)
ออกแบบนครวัดจำลอง และโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย สร้างหล่อปูนตามแบบจนแล้วเสร็จ
ในคราวฉลองสมโภชพระนคร ครบ 100 ปี
พระสุวรรณเจดีย์ มีอยู่ 2 องค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นอุทิศถวายสมเด็จ
พระปฐมบรมราชชนก และพระราชมารดา มีลักษณะเหมือนกันทั้งขนาดรูปร่างและความสูง เป็นพระเจดีย์ทรงเครื่องย่อมุมไม้ยี่สิบหุ้มด้วยแผ่นทองแดงหรือที่เรียกว่าทองจังโก แล้วลงรักปิดทองทับอีกชั้นหนึ่ง ฐานของพระเจดีย์เป็นรูปแปดเหลี่ยม
บุด้วยหินอ่อน เหนือฐานแปดเหลี่ยมตั้งประติมากรรมรูปยักษ์แบกและลิงแบกด้านละ 3 ตน และทุกย่อมุมอีกมุมละ 2 ตน
รวมทั้งหมด 20 ตน เฉพาะตัวกลางทั้ง 4 ด้านที่ไม่สวมรองเท้าเป็นลิง นอกจากนั้นเป็นยักษ์หมด แต่ละตนมีใบหน้า
เครื่องแต่งตัวและสีของกายเป็นไปตามลักษณะในเรื่องรามเกียรติ์
บริเวณลานวัดทางด้านทิศเหนือ
ประกอบด้วยอาคาร 3 หลัง คือ
หอพระนาก เป็นอาคารทรงไทย สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีขนาด 7 ห้อง
ทางเข้าอยู่ทางด้านทิศตะวันออก ทำเป็นชาลากว้าง ประตูทางเข้ามีประตูเดียวเป็นซุ้มทรงมณฑปที่เน้นความสำคัญ
ของทางเข้า แต่เดิมสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระนาก ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อและแผลงด้วยนาก อัญเชิญมาจากพระนครศรีอยุธยา และใช้เป็นที่เก็บอัฐิเจ้านายฝ่ายในตามแบบอย่างกรุงศรีอยุธยา และถือพระนากเป็นพระประธาน
ในการพิธีเปรตพลีหรือการอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หอพระนาก
ชำรุดทรุดโทรม จึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแปลงหอพระนาก แล้วประดิษฐานพระพุทธรูปต่างๆ หลายองค์ ส่วนพระอัฐิ
เจ้านายนั้นเก็บอยู่ในตู้ผนังข้างหลังพระวิหาร ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ
ให้ทำพระโกศทรงพระอัฐิในหอพระนากทั้งหมด ส่วนพระพุทธรูปทั้งหมดที่ประดิษฐานอยู่ในหอพระนากโปรดเกล้าฯ
ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่พระวิหารยอด แต่ยังคงเรียกว่าหอนี้ว่า “หอพระนาก” ตามเดิม
พระวิหารยอด แต่เดิมเป็นที่ตั้งของหอพระเชษฐบิดร หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าวิหารขาว พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานพระเทพบิดร ซึ่งแต่เดิมเป็นเทวรูป
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อลง
เนื่องจากทรุดโทรมมาก แล้วโปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็นวิหารมีหลังคายอดทรงมงกุฎ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เรียกว่า
พระเศวตรเวชยันตะพิมานวิหารยอดบ้าง พระบวรมหาเศวตกุฎาคารวิหารยอดบ้าง ในการสร้างพระวิหารยอดนี้ โปรดเกล้าฯ
ให้ย้ายพระนากจากหอพระนาก มาประดิษฐานภายในพระวิหารแห่งนี้
เมื่อคราวบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในโอกาสฉลองสมโภชพระนครครบ 100 ปี พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารยอด โดยซ่อมแซมหลังคาและยอดมงกุฎประดับกระเบื้องถ้วยขึ้นใหม่ ซ่อมซุ้มประตูและบานหน้าต่างภายนอกและภายในพร้อมทั้งประดับพระปรมาภิไธยย่อ “จปร.” ภายใต้พระเกี้ยว
ยอดบนยอดโค้งแหลมของซุ้มโค้งรอบพระวิหาร มีประตูทางเข้าทางเดียวคือทางทิศเหนือ เป็นซุ้มยอดทรงมงกุฎ
ประดับกระเบื้องถ้วยเช่นเดียวกับซุ้มหน้าต่าง บานประตูประดับมุกลายช่องกลม ฝีมือช่างสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งได้นามาจากวิหารพระนอนวัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง บานประตูด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปเซี่ยวกาง ซึ่งแต่งตัวแบบไทย บริเวณทางขึ้นด้านทิศตะวันออกและตะวันตกตั้งรูปปั้นนกทัณทิมาหล่อด้วยสำริด ถือไม้เท้าหรือตะบอง
นำมาเป็นสัญลักษณ์ของผู้คอยคุ้มกันอันตราย
หอพระมณเฑียรธรรม สร้างขึ้นหลังจากที่หอพระมณเฑียรธรรมเดิมซึ่งอยู่กลางสระน้ำถูกเพลิงไหม้ พระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอพระมณเฑียรธรรมขึ้นใหม่ โดยย้ายที่ไปสร้างที่มุมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ โดยมีสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงจัดช่างวังหน้า
มาสมทบสร้างด้วย เมื่อสร้างเสร็จโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ที่เหลือจากพระมณฑป
พระไตรปิฎกฉบับครูเดิม
และฉบับอื่นๆ รวมทั้งเป็นที่บอกหนังสือพระภิกษุสามเณร เป็นที่พักของราชบัณฑิตสำหรับ
บอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร พร้อมทั้งเป็นที่แปลพระราชสาส์นด้วย
หอพระมณเฑียรธรรมเป็นอาคารทรงไทย
ก่ออิฐถือปูนชั้นเดียวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเฉลียงรอบ หลังคาซ้อน 2 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้ง หน้าบันประดับกระจกสีขาวหน้าบันเป็นไม้จำหลักลาย ตอนบนเป็นรูปพระพรหมทรงหงส์ ตอนล่างเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ล้อมรอบด้วยกระหนกก้านขดปลายลายเป็นเทพนม ส่วนที่แผงแรคอสองมีเทพนม 5 องค์ ผนังด้านทิศตะวันตกมีซุ้มประตู 3 ซุ้ม
โดยมีซุ้มใหญ่ทรงมณฑปอยู่กลาง บานประตูประดับมุกเป็นลายพระพรหมทรงหงส์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระนารายณ์
ทรงครุฑ ประกอบลายกระหนกก้านขด ปลายลายเป็นสัตว์หิมพานต์ ซึ่งบานประตูนี้นามาจากวัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา ซุ้มประตูเล็กสองข้างเป็นซุ้มทรงบันแถลง ทางด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นหน้าต่างในซุ้มทรงบันแถลง
เช่นเดียวกัน
ภายในหอพระมณเฑียรธรรมเป็นห้องโถง มีตู้ประดับมุกเรียงรายอยู่ 2 แถว รวมทั้งหมด 9 ตู้ ลักษณะเด่นของหอหลังนี้อีกประการหนึ่ง คือ ภาพจิตกรรมฝาผนังโดยรอบ ตอนบนเหนือหน้าต่างเป็นรูปเทพชุมนุมบนพื้นสีดาสลับกับสีแดง
ส่วนที่ชิดฝ้าเพดานเป็นรูปฤาษีถือดอกบัว ถัดลงมาเป็นรูปเทวดาและนางฟ้าสลับกันเป็นคู่ๆ คั่นด้วยตาลปัตร ระหว่างหน้าต่างตอนบนเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดาประนมมือ ตอนล่างเป็นรูปเวสสันดรชาดกกัณฑ์ต่างๆ เพดานประดับด้วยดาวเพดานปิดทองประดับกระจกมีดวงใหญ่อยู่กลาง มีดวงเล็ก 8 ดวงเป็นบริวาร
หอพระมณเฑียรธรรมหลังนี้มีลักษณะพิเศษ คือ ซุ้มพระทวารและซุ้มพระบัญชรมีทั้งสาหร่ายรวงผึ้งและหย่องจาหลักลาย ซึ่งตามปกติแล้วจะไม่ปรากฏในพระบรมมหาราชวังมาก่อน แต่ที่เป็นดังนี้เนื่องด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงส่งช่างวังหน้ามาสมทบสร้างถวาย จึงได้เน้นการประดับหน้าต่างและประตูด้วยสาหร่ายรวงผึ้งและหย่องจาหลักลาย เช่นเดียวกับหมู่พระวิมานที่ประทับ ซึ่งยังปรากฏอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ทางด้านทิศตะวันออก ตั้งเรียงพระปรางค์ จานวน 8 องค์ เรียกว่า “พระอัษฎามหาเจดีย์” พระมหาเจดีย์ทั้ง 8 องค์นี้ มีขนาดรูปร่างและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างกันเฉพาะสีของกระเบื้องเคลือบที่ประดับองค์พระเจดีย์เท่านั้น แต่ละองค์มีสี
และชื่อประจำ นับจากทิศเหนือไปใต้ คือ พระสัมมา-สัมพุทธเจดีย์, พระสัทธรรมปริยัติวรามหาเจดีย์, พระอริยสงฆ์สาวกมหาเจดีย์, พระอริยสาวกภิกษุณีสังฆมหาเจดีย์, พระปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์, พระบรมจักรวรรดิราชามหาเจดีย์, พระโพธิสัตว์กฤษฎามหาเจดีย์ และพระศรีอริยเมตยมหาเจดีย์
สำหรับลานทางด้านทิศใต้ ประกอบด้วยหอต่างๆ
หอพระคันธารราษฎร์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารทรงไทยขนาดเล็ก หลังคาแบ่งเป็น
2 ตอน ตอนหน้าเป็นหลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี ตอนหลังเป็นยอดปรางค์ซ้อน 4 ชั้น ประดับกระเบื้องถ้วย ซุ้มหน้าต่างและซุ้มประตูเป็นทรงบันแถลง 2 ชั้น บานประตูและ 131
หน้าต่างจำหลักลายเป็นรูปพระวรุณทรงนาค ตอนล่างเป็นรวงข้าว
มีหอย ปู ปลา ผุดในท้องน้า บานประตูด้านนอกจำหลักลายเหมือนหน้าต่างด้านในเป็นภาพเทวดาเหาะด้านหลังบนพื้นลายพุดตาน
ภายในหอพระประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จ
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หล่อจากสัมฤทธิ์
ลงรักปิดทอง ประทับนั่งแบบขัดสมาธิราบ แสดงปางขอฝน ด้วยการยกพระหัตถ์ขวาขึ้นเพื่อกวักเรียกเมล็ดฝน
และหงายพระหัตถ์ซ้ายสำหรับรองรับน้ำฝน สำหรับใช้ตั้ง
ในพระราชพิธีพืชมงคลและพิรุณศาสตร์
ผนังเป็นภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับพระราชพิธีพืชมงคล
จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระราชพิธีพิรุณศาสตร์
เรื่องราวเกี่ยวกับฝนโบกขรพรรษ และฝนสัตตรัตนมาส ซึ่งเป็นฝนมงคลที่ถูกกล่าวถึงในพุทธชาดก และพระพุทธประวัติ ฝีมือ
พระอาจารย์อิน (ขรัวอินโข่ง) แห่งวัดราชบูรณะฯ ต่อมาได้รับการเขียนซ่อมใหม่ในรัชกาลที่ 5
พระมณฑปยอดปรางค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับหอพระคันธารราษฎร์
เพื่อประดิษฐานพระเจดีย์โบราณที่ทรงได้มาจากเมืองเหนือ พระมณฑป ประดิษฐานองค์พระเจดีย์ เป็นมณฑปยอดปรางค์
ย่อมุมไม้สิบสอง ก่ออิฐฉาบปูนประดับกระเบื้องเคลือบ ยอดมณฑปเป็นซุ้มย่อเก็จโดยรอบตอนบนเป็นยอดปรางค์ 3 ชั้น
ประดับด้วยกระเบื้องถ้วย ยอดนภศูลเป็นโลหะรูปฝักเพกา ภายในพระมณฑปประดิษฐานพระเจดีย์ทรงกลมแบบลังกา
มีซุ้มจรนา 4 ทิศ เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ 8 เหลี่ยมรับปล้องไฉน ตอนบนเป็นปลีและเม็ดน้ำค้าง ยอดนภศูลเป็นโลหะรูปมงกุฎ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เพื่อให้ครบบริบูรณ์ตามลักษณะของวัดทั่วไป
ระฆังเป็นเครื่องบอกเวลาและสัญญาณแห่งสิริมงคล หอระฆังเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างเป็นบุษบกทรงมณฑป
ตั้งบนฐานทักษิณแบบปรางค์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ฐานนี้มีประตูทางเข้า 4 ด้านทาเป็นซุ้มจรนารูปโค้งแหลมประดับด้วย
กระเบื้องถ้วย หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสีเขียวขอบสี
ระฆังที่ประดิษฐานในหอนี้ เป็นระฆังที่พบในการขุดสระเพื่อสร้างหอไตรที่วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ
ให้นำมาประดิษฐาน เนื่องจากมีเสียงดังกังวานไพเราะ แล้วทรงทำผาติกรรมสร้างถวายวัดระฆังใหม่
สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นอาคารโถงยาวติดต่อกันไป ล้อมรอบเป็นอาณาเขต
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีซุ้มประตูทางเข้าออกทั้ง 4 ทิศ พระระเบียงเป็นอาคารที่สร้างขึ้นโอบล้อมอาคารทุกหลัง ยกเว้นแต่พระปรางค์ 6 องค์ ด้านทิศตะวันออกเท่านั้น เนื่องจากได้มีการขยายพระระเบียงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระพุทธปรางค์ปราสาทและพระศรีรัตนเจดีย์ ในการขยายพระระเบียงครั้งนี้ โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างซุ้มประตูและพลับพลาเปลื้องเครื่องไว้ที่ซุ้มประตูที่ทำใหม่ทั้ง 2 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออกทาเป็นซุ้มยอดทรงมงกุฎ มีพลับพลาเปลื้องเครื่องพร้อมกับเกยอยู่ 2 ด้าน ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกทาเป็นซุ้มประตูหลังคาจัตุรมุข
มีพลับพลาเปลื้องเครื่องพร้อมกับเกยอยู่ด้านเดียว
ผนังด้านในเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ทั้งหมดมี 178 ห้องภาพ โดยเริ่มตั้งแต่ประตูทิศเหนือซึ่งตรงกับ
พระวิหารยอด เวียนไปทางทิศตะวันตกจนจบ แต่ละห้องมีอักษรจารึกเรื่องราวของภาพโดยสังเขปประจำไว้ทุกห้อง และมีจารึกโคลงสี่สุภาพเล่าเรื่องในแผ่นหินอ่อน จานวน 712 แผ่น ที่ผนังของเสาแถวในทั้งสี่ด้าน