PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

13 แห่งศาลเจ้าสำคัญในเขตพระนคร

ศาลเจ้าพ่อครุฑ

ศาลเจ้าพ่อครุฑ แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตรอกเล็กๆ ชื่อว่า “ตรอกครุฑ” ที่อยู่ระหว่างบนถนนอัษฎางค์ (บริเวณคลองหลอด) ตัดกับถนนบูรณศาสตร์ บริเวณตรงหน้าศาลเจ้าพ่อครุฑเดิมเมื่อ 100 กว่าปีก่อนยังเป็นร่องน้ำลึกประมาณครึ่งลำตัวซึ่งเชื่อมต่อมาจากคลองหลอด

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

ประวัติ
ศาลเจ้า

ศาลเจ้าพ่อครุฑ แห่งนี้ ตั้งอยู่ในตรอกเล็กๆ ชื่อว่า “ตรอกครุฑ” ที่อยู่ระหว่างบนถนนอัษฎางค์
(บริเวณคลองหลอด) ตัดกับถนนบูรณศาสตร์ บริเวณตรงหน้าศาลเจ้าพ่อครุฑเดิมเมื่อ 100 กว่าปีก่อน
ยังเป็นร่องน้ำลึกประมาณครึ่งลำตัวซึ่งเชื่อมต่อมาจากคลองหลอด ต่อมาทางราชการได้ทำถนนผ่านเข้าออก ทำไมไม่เห็นสภาพร่องน้ำอย่างแต่เดิม ชาวบ้านในชุมชุนตรอกครุฑเล่าว่า เมื่อก่อนยังไม่มีศาลเจ้าพ่อครุฑ
ยังไม่มีชื่อตรอกครุฑอย่างปัจจุบัน ต่อมาปรากฏว่าน้ำได้พัดพาครุฑไม้แกะสลักสีดำเมี่ยม
(สันนิษฐานว่าเป็นครุฑไม้ที่ติดกับหัวเรือรบสมัยโบราณ) พร้อมกับหัวจระเข้ 2 หัว ลอยมาตามร่องน้ำ
และมาหยุดอยู่ตรงบริเวณที่ตั้งศาลเจ้าพ่อครุฑนี้
ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างศาลขึ้นและนำครุฑไม้ไปประดิษฐ์ฐานเพื่อสักการะ บูชา ขอพร เรียกว่า “ศาลเจ้าพ่อครุฑ” นับแต่นั้นมาบริเวณนี้จึงถูกเรียกว่า “ตรอกครุฑ” แต่ทว่าเมื่อราว 50 ปีก่อน ครุฑไม้แกะสลักเดิมได้หายไป
ทางกรมศิลปากรจึงได้แกะสลักครุฑองค์ใหม่ขึ้นนำมาประดิษฐ์ฐานแทนที่ครุฑไม้องค์เดิมที่หายไป

ต่อมา พ.ศ. 2559 พระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร แห่งวัดโพธิ์ทอง บางมด กรุงเทพมหานคร
พระเกจิผู้สร้างวัตถุมงคลพญาครุฑแห่งวัดโพธิ์ทองซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในปัจจุบัน ได้มาทำการบูรณะ
ศาลเจ้าพ่อครุฑและได้สร้างครุฑองค์ใหญ่อีกองค์หนึ่งมาประดิษฐ์ฐานคู่กับครุฑองค์เดิมที่ทางกรมศิลป์
นำมาประดิษฐ์ฐานไว้แทนครุฑไม้แกะสลักที่หายไปเมื่อ 50 ปีก่อน พร้อมจัดงานบวงสรวงขึ้นใน
วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน 2559

ปัจจุบัน ศาลเจ้าพ่อครุฑ มีบุคคลทั้งในชุมชนตรอกครุฑและชุมชนใกล้เคียงรวมถึงบุคคลทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมมากราบไหว้บูชาและขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะด้านเงินทอง โชคลาภ ขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลาย และปกป้องให้รอดพ้นจากไฟไหม้ เป็นต้น นอกจากนี้ บริเวณหน้าศาลเจ้าพ่อครุฑยังมีการให้เช่าวัตถุมงคลเกี่ยวกับองค์พญาครุฑ อีกด้วย

ตำนานศาลเจ้า

จากการบอกเล่าของผู้ใหญ่ในชุมชนว่า เดิมชาวจีนโพ้นทะเลได้อพยพมาจากเมืองจีนมาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย โดยคนจีนที่มาตั้งถิ่นฐานในระแวกนี้เป็นชาวจีนเชื้อสายแต้จิ้ว ที่เป็นคนถ้องถิ่นในเขตเฉาซานทางภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน ซึ่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีเชื้อสายจีนแต้่จิว จึงเป็นที่เคารพของคนไทยเชื้่อสายจีนเป็นอย่างมาก
ซึ่งธรรมเนียมการตั้งศาลเจ้าของชาวจีนนัี้นไว้เพื่อเป็นศุนย์กลางของชุมชน ดังนั้น ชาวไทยเชื้่อสายจีนที่อยู่อาศัยในย่านบางลำพู ได้รวมตัวกันตั้งศาลขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเป็นที่สักการะบูชาและยึดเหนี่ยวจิตใจ นอกจากนั้น ยังมีการสักการะบูชา พระยาพิชัยดาบหัก
ด้วยทรงเป็นทหารเอกคู่พระทัยของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่มีความซื่อสัตย์สุจริตและกตัญญูกตเวที
อันป็นค่านิยมของคนไทยเชื้อสายจีนที่ยึดถือ โดยการเครารพและสักการะพระยาพิชัยดาบหักของ
ชาวไทยเชื้อสายจีนในย่านบางลำพู เพื่อต้องการจะสือถึงความกตัญญูและสำนึกในพระมหกรุณาธิคุณ
ของพระมหากษ้ตริยไทยและประเทศไทยที่ได้ให้ที่พักพิง และ เจ้าแม่ทับทิม อันเป็นเทวนารีที่เป็นเคารพบูชา
ของชาวจีนโพ้นทะเล โดยมีการตั้งรูปเคารพบูชารวมไว้ในศาลเดียวกัน

อ้างอิงจาก
[1] Dragon amulet. ตามรอยพญาครุฑศักดิ์สิทธิในเมืองไทย. สืบค้นจาก https://www.dragonamulet.net/ตามรอยพญาครุฑศักดิ์สิท/
[2] คมชัดลึก. (2564). สายมู รับพลังก่อนปีใหม่ “ศาลเจ้าพ่อครุฑ” ขอได้ แต่ห้ามบน. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/498727