PHRANAKHON STORY
โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund
13 แห่งศาลเจ้าสำคัญในเขตพระนคร
ศาลเจ้าพ่อ
หอกลอง
สร้างในพ.ศ.2509 ณ พื้นที่ฝั่งตรงข้ามกับ วังบ้านหม้อ ริมถนน อัษฎางค์ เลียบริมน้ำคลองคูเมืองเดิม ภายในกรมการรักษาดินแดนนั้น มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่กรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีความเป็นมาตั้งแต่
ยุคสร้างราชธานี แต่มา สร้างเป็นสถานที่ล้อมรอบเป็นอาณาเขตอันชัดเจนมาปี พ.ศ.2509 นี้เอง สถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่กล่าวไว้ในข้างต้นนั้น เราเรียกกันง่ายๆ ตามที่มาดั้งเดิมว่า
ศาลเจ้าพ่อหอกลอง ศาลเจ้าพ่อหอกลองนี้แม้ว่าจะมีอายุเพียง 39 ปี
สร้างในสมัย : พ.ศ.2509 ณ พื้นที่ฝั่งตรงข้ามกับ วังบ้านหม้อ ริมถนน อัษฎางค์ เลียบริมน้ำคลองคูเมืองเดิม ภายในกรมการรักษาดินแดนนั้น มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่กรุงรัตนโกสินทร์ ที่มีความเป็นมาตั้งแต่ยุคสร้างราชธานี แต่มา สร้างเป็นสถานที่ล้อมรอบเป็นอาณาเขตอันชัดเจนมาปี พ.ศ.2509 นี้เอง สถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่กล่าวไว้ในข้างต้นนั้น เราเรียกกันง่ายๆ ตามที่มาดั้งเดิมว่า ศาลเจ้าพ่อหอกลอง ศาลเจ้าพ่อหอกลองนี้แม้ว่า
จะมีอายุเพียง 39 ปี หากแต่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่ภายในศาลนั้นกลับมีความเป็นมายาวนานกว่านั้นมากนัก เนื่องจากศาลนี้ใช้สร้างไว้เป็นที่ระลึกถึงเจ้าพ่อหอกลอง ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งเป็นผู้แจ้งข่าว และบอกเวลาด้วยเสียงกลอง
แต่เดิมนั้นรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำหอกลองมาตั้งอยู่หน้าวัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เพื่อใช้บอกเหตุและเวลา กลองนี้ทำหน้าที่บอกเหตุมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งโปรดฯ ให้รื้อทิ้งเสีย ปัจจุบัน ทางกรุงเทพมหานครได้มีการรื้อฟื้น ความเป็นมาของกลองแจ้งเหตุ และสร้างศาลขึ้นเพื่อใช้เก็บกลองที่อายุกว่า 2 ศตวรรษนี้ไว้ในศาลมาจนถึงทุกวันนี้
เรื่องราวอภินิหารของ “เจ้าพ่อหอกลอง ”เริ่มจากมีผู้ได้ยินเสียงสัญญาณจากกลองดังขึ้นทั้ง ๆ ที่หอกลอง
ได้ถูกรื้อไปเป็นร้อยปีแล้ว ความได้รู้ถึงหูของเจ้ากรมรักษาดินแดนท่านหนึ่ง เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่ท่าน
เข้ารับตำแหน่งใหม่ ๆ จู่ ๆ ท่านก็ฝันประหลาดว่า ในบริเวณสถานที่ตั้งกรมการรักษาดินแดนนี้ มีเจ้าพ่อหอกลองสถิตอยู่จริง ในเวลาต่อมาท่านจึงเข้าไปกราบนมัสการเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งท่านเจ้าอาวาสก็ได้เล่าถึงอภินิหารของเจ้าพ่อหอกลองให้เจ้ากรมการฯ คนใหม่ฟัง เมื่อเจ้ากรมการฯ รู้ก็ยิ่งเกิดความเลื่อมใส และคิดสร้างศาลเทพารักษ์ในบริเวณพื้นที่ของกรมการรักษาดินแดน เมื่อได้แจ้งความประสงค์ไปยังพ่อค้า
ประชาชนว่าจะสร้างศาลเทพารักษ์ “เจ้าพ่อหอกลอง” ขึ้น ก็มีประชาชนร่วมใจและร่วมมือในการสร้างจนแล้วเสร็จ หลังจากสร้างศาลเทพารักษ์เสร็จแล้ว ท่านเจ้ากรมฯ ก็มีความคิดที่จะหล่อรูปปั้นเจ้าพ่อหอกลอง แต่ไม่ทราบว่าจะหล่อแบบไหน จึงจะได้โครงหน้าของเจ้าพ่อหอกลองโดยแท้จริง ในที่สุดก็ได้มีการประกอบพิธีอัญเชิญวิญญาณของเจ้าพ่อหอกลองผ่านทางสมาธิ แล้วร่างภาพออกมาเป็นภาพวาดเหมือนจริง เห็นพ้องต้องกันให้สร้างพระรูปเจ้าพ่อหอกลองเป็นแบบคนโบราณนุ่งผ้ากระโถงผ้าขาวม้าพาดไหล่ซ้าย นั่งขัดสมาธิ มือทั้งสองข้างวางบนเข่า ทั้งซ้ายและขวา องค์หล่อด้วยทองเหลือง หน้าตักกว้าง29นิ้วประทับนั่งบนแท่นแปดเหลี่ยม ซึ่งปรากฏว่าคนที่เคยนิมิตฝันเห็นเจ้าพ่อยืนยันว่าบุคคลในภาพคือ “เจ้าพ่อหอกลอง” จริง ๆ ดังนั้นรูปปั้นเจ้าพ่อฯ ที่เห็นในปัจจุบันก็เกิดจากการปั้นที่สื่อจากสมาธินั่นเอง
ประวัติ “เจ้าพ่อหอกลอง”
เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างและสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวง โดยสร้างพระนครขึ้นใหม่และทรงเห็นความสำคัญของ
“หอกลอง” ที่จะต้องมีคู่พระนคร พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอกลองขึ้นทางด้านใกล้กับ
พระบรมมหาราชวัง ติดกับเนื้อที่วัดพระเชตุพนฯ หอกลองนี้ในสมัยก่อนจะมีพนักงานเจ้าหน้าที่มาทำงานประจำ โดยมีบรรดาศักดิ์เป็น “เจ้าหอกลอง” ทำหน้าที่ดูแลเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายในพระนครคล้ายเป็นยามดูแลรักษาพระนคร คอยระแวดระวังภัย เช่น ไฟไหม้ รวมถึงบอกเวลา และเรียกหอกลองแห่งนี้ว่า “หอกลองประจำพระนคร” ภายในหอกลองนี้รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำกลองขนาดใหญ่มาไว้ทั้งหมด 3 ใบ ได้แก่ กลองย่ำพระสุริย์ศรี กลองอัคคีพินาศ กลองพิฆาตนารี ซึ่งกลองแต่ละใบจะใช้ตีเพื่อแจ้งเหตุแตกต่างกัน โดยกลอง “ย่ำพระสุริย์ศรี” ใช้ตีเพื่อบอกเวลาแก่คนในพระนครว่าเวลานั้น ๆ เป็นเวลาเท่าใด ซึ่งเสียงที่เป็นสัญญาณจะดัง ตุ้ม ๆ ๆ เลยกลายเป็นคำว่า “ทุ่ม” ในปัจจุบัน ส่วนกลอง “อัคคีพินาศ” ใช้ตีเมื่อเวลาบ้านเมืองมีเหตุเภทภัย สมัยก่อนหากเกิดไฟไหม้ขึ้นในพระนครก็จะต้องเกณฑ์แรงคนมาช่วยกันดับ และการที่จะบอกเหตุเร่งด่วนได้รวดเร็วที่สุด สมัยนั้นก็คือ จะต้องคอยฟังเสียงกลองที่หอกลองแห่งนี้ สำหรับ “กลองพิฆาตไพรี” จะใช้ตีเมื่อข้าศึกยกกำลังมาประชิดพระนคร จะใช้ตีเพื่อให้คนในพระนครทราบว่า ขณะนี้เกิดเหตุมีข้าศึกยกทัพมาให้ชาวพระนครเตรียมพร้อมรับศึกสงครามที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้สร้างหอกลองเสร็จแล้ว รัชกาลที่ 1 ยังทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานองค์เทพารักษ์มาประดิษฐานประจำหอกลองด้วย หอกลองนี้คงทำหน้าที่มาถึงรัชกาลที่ 5
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อหอกลองออกเพราะทรงเห็นว่า
ความจำเป็นที่จะใช้หอกลองแจ้งข่าวสารแบบโบราณนั้นหมดไปแล้ว หอกลองดังกล่าวจึงถูกรื้อทิ้ง
เพื่อนำมาสร้างสถานที่ราชการ คือ กรมการรักษาดินแดนนั่นเอง
อย่างไรก็ดีตำนานความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าหอกลองในอดีตร่ำลือกันว่า มีวิญญาณของเจ้าพนักงานที่ทำหน้าที่ประจำหอกลอง ยังคงสถิตวนเวียนอยู่ แม้เมื่อเสียชีวิตไปแล้วจิตของท่านก็ยังคงห่วงใยในหน้าที่ที่รับผิดชอบ เพื่อสนองงานต่างพระเนตรพระกรรณของเจ้าเหนือหัว วิญญาณของท่านจึงยังคงทำหน้าที่อย่างที่เคยกระทำมาเมื่อครั้งยังมีชีวิต จึงมีผู้ได้ยินเสียงสัญญาณจากกลองดังขึ้นในวันดีคืนดี ทั้ง ๆ ที่หอกลองนี้ได้ถูกรื้อไปเป็นร้อยปีแล้ว ศาลเจ้าพ่อหอกลอง หรือ
“ศาลพ่อปู่” ภายในกรมการรักษาดินแดนแห่งนี้ ทางกรมการฯ จะจัดให้มีพิธีทำบุญฉลองศาลทุกปี และหากใครมีเรื่องทุกข์ร้อนด้วยโรคภัยไข้เจ็บ หรือจะบนบานในสิ่งใดก็จะไปตีกลอง 9 ครั้งแล้วสิ่งที่ขอก็มักจะสำเร็จ ปัจจุบันมีผู้คนจากสถานที่ต่าง ๆ เดินทางมากราบไหว้ขอโชคลาภอยู่เป็นประจำ และเมื่อมีโชคลาภ ก็จะแก้บนด้วยผลไม้ ดนตรี และละครรำ และนับตั้งแต่นั้นมา ศาลเจ้าพ่อหอกลองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่มีประชาชนเคารพบูชากันมาโดยตลอด ตราบจนทุกวันนี้