PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

13 แห่งศาลเจ้าสำคัญในเขตพระนคร

เทวาลัยพระวิษณุ

ศาลสัมพันธไมตรีไทย-อินเดีย เกาะกลางถนนระหว่างวัดสุทัศน์กับโรงเรียนเบญจมราชาลัยฯ จะพบซุ้มเล็กๆ ของเทวาลัยพระวิษณุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีพระรูปปฏิมากรรมพระวิษณุซึ่งอัญเชิญมาจากอินเดีย

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

ประวัติ
เทวาลัยพระวิษณุ

เกาะกลางถนนระหว่างวัดสุทัศน์กับโรงเรียนเบญจมราชาลัยฯ จะพบซุ้มเล็กๆ ของเทวาลัยพระวิษณุ
ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีพระรูปปฏิมากรรมพระวิษณุซึ่งอัญเชิญมาจากอินเดีย เพื่อแสดงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและอินเดีย ในโอกาสครบรอบรัตนโกสินทร์ 200 ปี สำหรับพระวิษณุเชื่อว่าเป็นเทพผู้ดูแลรักษาทุกสรรพสิ่ง
ผู้คนจึงมักมาสักการะ กราบไหว้ขอพร ทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย [1] พระวิษณุมหาเทพองค์นี้ประดิษฐาน
ณ เทวาลัยพระวิษณุ ถนนศิริพงษ์ (ข้างวัดสุทัศน์ฯ) แขวงเสาชิงช้า ประวัติการสร้างเทวลัยสืบเนื่องในโอกาส
ที่กรุงเทพมหานคร ได้มีการสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 200 ปี ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2525

สมาคมหอการค้าอินเดีย-ไทย ได้แสดงเจตจำนงมอบเทวรูปปฏิมากรรมพระวิษณุหินน้ำนมที่อัญเชิญมาจากประเทศอินเดีย เพื่อเป็นเครื่องแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างไทยและอินเดีย โดยได้ประดิษฐาน
องค์พระวิษณุบริเวณเกาะกลางถนนระหว่างวัดสุทัศน์กับโรงเรียนเบญจมราชาลัยฯ เป็นที่สาธารณะใจกลางกรุงเทพ สะดวกแก่ผู้คนที่มาเคารพบูชาทั้งชาวไทยและชาวอินเดีย ซึ่งปัจจุบันมีผู้มาสักการะบูชาเป็นจำนวนมาก จนถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่กรุงเทพอีกแห่งหนึ่ง

ความเชื่อ

พระวิษณุ หรืออีกชื่อก็คือ พระนารายณ์ ซึ่งเป็นเทพแห่งการปกปักรักษา ด้วยพระวิษณุปรารถนาจะให้
ทุกสรรพสิ่งบนโลกพ้นจากสิ่งชั่วร้าย และอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข จึงเน้นขอพรให้ชีวิตอยู่เย็นเป็นสุข
เพราะมีเทวานุภาพขจัดเหล่ามารและสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง ดังที่พระวิษณุ (พระนารายณ์) อวตารลงมายังโลกมนุษย์ เป็น “พระราม” จากวรรณคดีเรื่องรามายณะหรือรามเกียรติ์ เพื่อปกป้องโลก

อ้างอิงจาก
The cloud. (2562). 11 สิ่งศักดิ์สิทธิ์นี้มีทั้งประวัติศาสตร์สนุกและความขลัง: เทวาลัยพระวิษณุ. สืบค้นจาก https://readthecloud.co/worship-pray-rattanakosin-island/page/3/