PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

๑๖ แห่ง พระราชวังสำคัญในเขตพระนคร

วังมะลิวัลย์

วังมะลิวัลย์ หรือ บ้านมะลิวัลย์ ตั้งอยู่เลขที่ 39 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันเป็นที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
(Food and Agriculture Organization of the United Nations - FAO)

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

ประวัติพระราชวัง

วังมะลิวัลย์

บริเวณนี้ เดิมเป็นบ้านของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ผู้เป็นปู่ของเจ้าจอมมารดากลิ่น คชเสนี ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และตกทอดมาถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้ากฤดาภินิหาร) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักพระราชทานบนที่ดินนั้น

วังมะลิวัลย์เป็นตำหนักหลังใหม่ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างพระราชทานแด่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์
ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชันษาครบ 5 รอบใน พ.ศ. 2460 เป็นอาคารทรงยุโรปก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มีท้องพระโรงเป็นหอโถงสูงใหญ่ มีเฉลียงรายรอบชั้นล่าง และมีระเบียงรายล้อมชั้นบน เพดานห้องโถงและหัวเสาปั้นลายปูนเลียนแบบศิลปะขอม ออกแบบโดยนายเออโคล มันเฟรดี (เอกฤทธิ์ หมั่นเฟ้นดี) สถาปนิกชาวอิตาเลียน ก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2460

เมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์สิ้นพระชนม์ และเจ้าจอมมารดากลิ่น
ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2466 วังมะลิวัลย์ได้ตกทอดมาสู่ทายาท และประสบปัญหา
ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ทายาทราชสกุลกฤดากรจึงทูลเกล้าฯ ถวาย ร.7 ขายบ้าน
และที่ดินแก่พระคลังข้างที่ เมื่อ พ.ศ. 2469 และต่อมาหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ได้อยู่ในความดูแลของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 พระองค์พระราชทาน วังถนนพระอาทิตย์ ให้เป็นที่ประทับ
ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ต้นราชสกุลสวัสดิวัตน์ เมื่อทรงพักที่ตำหนักเดิม ได้ระยะหนึ่งจนตำหนักใหม่สูง 3 ชั้นสร้างเสร็จ ตำหนักเดิมจึงไม่มีผู้ใดอาศัย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฏ์ เสด็จออกจากวังนี้ ทรงลี้ภัยทางการเมืองสู่ ปีนัง

ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล บ้านมะลิวัลย์ใช้เป็นที่พำนักของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลายท่าน ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอ๊อสคาร์นุทิศ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์, พลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน), พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ. 2484-2488 นายปรีดี พนมยงค์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ผู้เป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ได้ใช้บ้านหลังนี้
เป็นศูนย์บัญชาการงานใต้ดินของฝ่ายสัมพันธมิตรและขบวนการเสรีไทย
นายทหารจากหน่วยสืบราชการลับของอเมริกา (โอเอสเอส) หลายนายเข้ามา
ปฏิบัติงาน รวมทั้ง พันตรีเจมส์ ทอมป์สัน ผู้ก่อตั้งธุรกิจผ้าไหมไทยจิม ทอมป์สัน และ อเล็กซานเดอร์ แมคโดแนลด์ ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ในปี พ.ศ. 2499 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เช่าบ้านมะลิวัลย์จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อใช้เป็นที่ทำการของสำนักงานองค์การอาหาร
และเกษตรแห่งสหประชาชาติ จนถึงปัจจุบัน

ศูนย์บัญชาการเสรีไทย

วังมะลิวัลย์

การใช้พื้นที่ในบ้านมะลิวัลย์ มีช่วงหนึ่งเคยเป็นศูนย์บัญชาการเสรีไทย
โดยบ้านมะลิวัลย์เเละทำเนียบท่าช้าง ถูกใช้เป็นศูนย์บัญชาการงานใต้ดิน
ฝ่ายสัมพันธมิตรเเละขบวนการเสรีไทย ที่มีนายปรีดี พนมยงค์เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งบ้านมะลิวัลย์เป็นฐานลับสำหรับกลุ่มเสรีไทยสายอเมริกาที่ลอบเข้ามาจาก
ต่างประเทศเเละซ่อนตัวเชลยศึกอเมริกัน โดยให้ความช่วยเหลือ รักษา
เเละส่งกลับประเทศ พร้อมทั้งเป็นฐานติดต่อทางวิทยุกับหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (โอเอสเอส)

ด้วยความเก่าเเก่ เรื่องราวน่าสนใจด้านประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม
เเละวิศวกรรมเเล้ว พระตำหนักเป็นอาคารแบบยุโรป ออกแบบโดยสถาปนิก
ชาวอิตาลี ก่อสร้างเสร็จใน พ.ศ.2460 ปัจจุบันอยู่ระหว่างบูรณะโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เช่าเป็น “องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ” งบฯบูรณะทั้งหมด 100 ล้านบาท

อ้างอิงจาก
Wikipedia. บ้านมะลิวัลย์.  สืบค้นจาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/บ้านมะลิวัลย์
ประชาชาติธุรกิจ. (2560). สัมผัสภายใน “บ้านมะลิวัลย์” ฟื้นชีพวังเก่าเเก่นับร้อยปี โชว์มรดกประวัติศาสตร์.  สืบค้นจาก https://https://www.prachachat.net/spinoff/news-1500

นำทางเที่ยว

วังมะลิวัลย์