PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

๑๖ แห่ง พระราชวังสำคัญในเขตพระนคร

วังสะพานช้างโรงสี วังใต้

วังสะพานช้างโรงสี วังใต้ เดิมเป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม ต้นราชสกุลนิยมิศร
เมื่อพระองค์เจ้าเนียมสิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าอุทัย พระองค์เจ้าสว่าง พระองค์เจ้าแฉ่ง
พระราชโอรสร่วมเจ้าจอมเดียวกันในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เมื่อพระองค์เจ้าสว่างสิ้นพระชนม์
เป็นพระองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 4 ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายพระองค์ใดมาประทับที่วังนี้อีก และได้รื้อวังนี้สร้างเป็น
กระทรวงนครบาล ในรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันคือ กระทรวงมหาดไทย

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

ประวัติพระราชวัง

วังสะพานช้างโรงสี วังใต้

วังสะพานช้างโรงสี วังใต้ เดิมเป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเนียม ต้นราชสกุลนิยมิศร เมื่อพระองค์เจ้าเนียมสิ้นพระชนม์ จึงเป็นที่ประทับของ พระองค์เจ้าอุทัย พระองค์เจ้าสว่าง พระองค์เจ้าแฉ่ง พระราชโอรสร่วมเจ้าจอมเดียวกันในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ เมื่อพระองค์เจ้าสว่างสิ้นพระชนม์เป็นพระองค์สุดท้ายในรัชกาลที่ 4
ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายพระองค์ใดมาประทับที่วังนี้อีก และได้รื้อวังนี้สร้างเป็น กระทรวงนครบาล ในรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันคือ กระทรวงมหาดไทย

การตั้งกระทรวงนครบาล

วังสะพานช้างโรงสี วังใต้

ในอดีต “กระทรวงนครบาล” เป็นหน่วยงานราชการที่ก่อตั้งเมื่อ 2435
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหน้าที่บังคับบัญชาการรักษาพระนคร คือปกครองมณฑลกรุงเทพ มีกรมที่สังกัด
เช่น กรมพลตระเวน กรมสุขาภิบาล ต่อมาในปี 2465 ได้มีรวมกระทรวงนครบาลกับกระทรวงมหาดไทยเข้าเป็นกระทรวงเดียวกันเรียกว่า
“กระทรวงมหาดไทย”
ส่วนข้อเสนอการตั้งกระทรวงนครบาลในยุคสมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์
เพื่อการบริหารจัดการกรุงเทพ โดยพรรคกิจสังคมได้เคยเสนอร่างกฎหมาย
ตั้งกระทรวงนครบาลให้รวมหน่วยงานสาธารณูปโภคต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ รวมทั้งกองบัญชาการตำรวจนครบาลให้ขึ้นตรงกับกับกระทรวงนครบาล
และให้แบ่งพื้นที่กรุงเทพฯ ออกเป็น 11 นครบาล โดยแต่ละนครบาลจัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารและสภาของแต่ละนครบาลเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน นอกจากนี้ หากชุมชนใด จังหวัดใดมีประชากรหนาแน่น และรายได้เพียงพอตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ก็ให้จัดตั้งเป็นนครบาลเช่นเดียว
กับในเขตกรุงเทพฯ กระทรวงนครบาลจะกำกับดูแลนครบาลต่าง ๆ ดังกล่าว ทั้งนี้เมื่อพรรคกิจสังคมเสนอร่างกฎหมายนี้ต่อสภาผู้แทนราษฏรและได้มีการรับหลักการในวาระที่ 1 ไปแล้ว แต่ต่อมามีการยุบสภาผู้แทนราษฏร
ร่างกฎหมายดังกล่าวจึงตกไป

อ้างอิงจาก
[1] ศิริชัย นฤมิตรเรขการ. สะพานเก่ากรุงเทพฯ (Old bridges of Bangkok). กรุงเทพฯ : สยามสมาคมฯ, 2520.
[2] กองบรรณาธิการ TCIJ . (2561). จับตา: ย้อนดูข้อเสนอตั้ง ‘ทบวงนครหลวง’ และ ‘กระทรวงนครบาล’.  สืบค้นจาก https://www.tcijthai.com/news/2018/21/watch/7675

นำทางเที่ยว

วังสะพานช้างโรงสี วังใต้