PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

๑๖ แห่ง พระราชวังสำคัญในเขตพระนคร

วังถนนพระอาทิตย์

วังบ้านหม้อ ตั้งอยู่ริมถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม ฝั่งตรงข้ามกับ ศาลเจ้าพ่อหอกลอง เดิมเป็นวังประทับของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษเทเวศร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาศิลา ซึ่งเป็นต้นราชสกุล กุญชร นับตั้งแต่ได้เข้ารับราชการที่กรมม้า และกรมคชบาล กรมพระพิทักษเทเวศร์ ได้ประทับอยู่ที่ วังบ้านหม้อมาจวบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ งบ้านหม้อมีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 3-5) ปัจจุบันวังบ้านหม้อตกอยู่ในความครอบครอง
ของ หม่อมหลวงแฉล้ม กุญชร ธิดาคนที่ 27 ของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ ปัจจุบันเหลือเพียงท้องพระโรง ศาลาท้องพระโรง
และเก๋งด้านหน้าท้องพระโรง อันเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีมาตั้งแต่สร้างวัง

สแกนAR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

ประวัติพระราชวัง

วังถนนพระอาทิตย์

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ สมเด็จพระบิดาโปรดให้สร้างวัง
พระราชทานพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ณ ตำบลที่เรียกถนนพระอาทิตย์ แต่เดิมสมเด็จกรมพระราชวังบวรฯ ในรัชกาลที่1 ทรงจัดสรรเป็น บ้านข้าราชการ รวมถึง บ้านพระยาจ่าแสนยากร คุณหญิงแว่น ซึ่งเป็นที่นับถือว่าเป็นเจ้าที่เจ้าทาง ให้เซ่นสังเวยตามธรรมเนียม ต่อมาที่ดินนี้ตกทอดมาสู่
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น อิศรเสนา) ซึ่งเป็นเสนาบดี
กระทรวงวังในสมัยรัชกาลที่ 7
เนื่องจากวังเดิมชำรุดทรุดโทรมลงไปมาก เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ได้สร้างวัง
ขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2475 ลักษณะอาคารเป็นตึก 2 ชั้นยกพื้นสูงหลังคามุง
กระเบื้องว่าว และต่อเดิมเป็นอาคาร 5 ชั้น มียอดโดมประดับอยู่เป็นหลังคาทรงสูงอยู่ด้านหลัง ประดับชายคาและช่องลมด้วยลวดลายไม้ฉลุ อาคารนี้ได้ตกทอดมาสู่ราชสกุลอิศรเสนา คือ หม่อมหลวงสันธยา อิศรเสนา ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อวังให้เป็น
"บ้านพระอาทิตย์"

บ้านพระอาทิตย์เคยเป็นที่ตั้งของสถาบันเกอเธ่ (สถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน) ระหว่าง พ.ศ. 2505-2533 ซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่ที่ซอยสาทร 1 (อรรถการประสิทธิ์) ถนนสาทรใต้

สถาปัตยกรรม

วังถนนพระอาทิตย์

เป็นสถาปัตยกรรมแนวอาร์ตส์แอนด์คราฟท์ส (Arts and Crafts Movement) คือแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น เป็นอาคาร 2ชั้น ทางปีกขวาเป็นหอคอยสูง 3 ชั้น หลังคาหอคอยทรงปิรามิด ตกแต่งอาคารด้วยปูนปั้นและไม้แกะสลัก โดยภาพรวมมีความสง่างามค่อนข้างเรียบง่ายไม่หรูหราแพรวพราว ซึ่งอาจเป็นด้วยก่อสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งแนวคิดสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่เริ่มมีบทบาทในประเทศไทย ตัวอาคารมีการปรับปรุงภายในเป็นสำนักงานหนังสือพิมพผู้จัดการ เมื่อ พ.ศ. 2537 และมีการก่อสร้างอาคารใหม่ในบริเวณขึ้นอีก 3 หลัง ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความกลมกลืนกับอาคารเดิมและมีทางเดินเชื่อมต่อกัน

อ้างอิงจาก
[1] Wikipedia. บ้านพระอาทิตย์.  สืบค้นจาก https://th.m.wikipedia.org/wiki/บ้านพระอาทิตย์
[2] 174 มรดกทางสถาปัตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมสถาปนิกสยาม, 2547.

นำทางเที่ยว

วังถนนพระอาทิตย์