PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

๑๖ แห่ง พระราชวังสำคัญในเขตพระนคร

วังตรอกสาเก

เดิมเป็นบ้านพระยาพิชัยบุรินทรา เสนาบดีกรมเมืองวังหน้า เมื่อ พระยาพิชัยบุรินทราถึงอนิจกรรมและตกมาเป็นของหลวง
กรมพระราชวังบวรมหาษักดิพลเสพย์ ประทานให้เป็นวังพระองค์เจ้าอินทวงศ์ เมื้อสิ้นพระชนม์แล้วในรัชกาลที่ 4
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นวังที่ประทับแก่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์
เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 6 พระราชทานให้เป็นวังที่ประทับกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

สแกน AR

สัมผัสกับการท่องเที่ยวชมวัดเสมือนจริง
ได้ที่ Phranakhon story Application

ประวัติพระราชวัง

วังตรอกสาเก

เดิมเป็นบ้านพระยาพิชัยบุรินทรา เสนาบดีกรมเมืองวังหน้า เมื่อ พระยาพิชัยบุรินทราถึงอนิจกรรมและตกมาเป็นของหลวง กรมพระราชวังบวรมหาษักดิพลเสพย์ ประทานให้เป็น
วังพระองค์เจ้าอินทวงศ์ เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วในรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้เป็นวังที่ประทับแก่พระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นพิศาลบวรศักดิ์
เสด็จอยู่มาจนสิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 6 พระราชทานให้เป็นวังที่ประทับกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม

วังนี้ แต่เดิมเรียกว่า วังสะพานเสี้ยวที่ 5 อยู่ริมคลองหลอดเยื้องวัดบุรณศิริฝั่งตรงข้าม คลองหลอดเป็นคลองเล็ก ๆ ที่เชื่อมคลองคูเมืองเดิมไปออกคลองโอ่งอ่าง
ที่เรียกว่าวังสะพานเสี้ยวก็เพราะอยู่ใกล้กับสะพานเสี้ยว คือสะพานผ่านพิภพลีลาศในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น คลองหลอดที่ว่านี้ คือคลองที่อยู่ข้างวัดบุรณศิริ
วังไม่ได้อยู่ริมคลองทีเดียว หน้าวังเป็นตรอกเริ่มตั้งแต่ด้านหลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ไปเชื่อมกับถนนตะนาวเรียกว่า “ตรอกสาเก” เนื่องจากเกือบสุดตรอกมีต้นสาเกต้นใหญ่ขวางอยู่ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นตรอกตัน แต่ความเป็นจริงสามารถผ่านออกไปถนนตะนาวได้ ชาวบ้านก็เลยเรียกวังนี้ว่า “วังตรอกสาเก” ตัวตำหนักใหญ่เป็นไม้สองชั้นหลังคามุงกระเบื้องดินเผา มีตำหนักเล็ก ๆ หลังหนึ่งอยู่ริมรั้วก่อนถึงประตูทางเข้าตำหนักใหญ่ ภายในวังปลูกต้นสาเกไว้ด้วยเหมือนกัน

กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมนับเป็นเจ้านายรุ่นใหญ่ในบรรดาพระราชโอรส
ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระเมตตาชุบเลี้ยงไว้ใช้สอยใกล้พระองค์ โปรดให้ประทับอยู่ที่หมู่ตึกริมประตูรัตนพิศาล
ในพระบรมมหาราชวัง คือหมู่ตึกที่เคยเป็นกระทรวงการคลังในกาลต่อมา
ในการเสด็จพระพาสต้นไปในที่ต่าง ๆ หรือเสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศ
มักจะได้รับเลือกให้ติดตามเสด็จด้วยเสมอ นับเป็นเจ้านายที่ทรงโปรดปราน
พระองค์หนึ่ง และเมื่อต้องไปรับราชการในหัวเมือง เพื่อรักษาดินแดนไทย
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสใน ร.ศ. 112
และเป็นแม่ทัพใหญ่ปราบจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ
ก็จะประทับอยู่ในต่างจังหวัด นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้เป็นข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ เมื่อ พ.ศ. 2436 ตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่บ้านหมากแข้ง ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองจนได้ยกฐานะเป็นเมืองอุดรธานี
พ.ศ. 2442 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ และได้กราบบังคมทูลลาออกจากราชการเนื่องจากพระพลานามัยไม่ดี และกลับมาประทับในพระบรมหาราชวัง

ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 มีพระราชประสงค์ใช้หมู่อาคารที่ประทับกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นสถานที่ราชการจึงได้โปรดฯ พระราชทานวังสะพานเสี้ยวให้กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมเป็นที่ประทับ เสด็จอยู่ต่อมาจนตลอดพระชนม์ชีพ สิ้นพระชนม์
เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2467 พระชันษา 68 ปีเศษ ปัจุจบันวังตรอกสาเก
ยังเป็นที่อยู่ของลูกหลานเชื้อสายราชสกุลทองใหญ่ สำหรับวังตรอกสาเก
เป็นวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โดยได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่บริเวณตรอกสาเกหรือหลังโรงแรมรัตนโกสินทร์ เป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เมื่อเสด็จกลับจากมณฑลอุดรธานี โดยภายในวังสร้างจากไม้ทั้งหมด หลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมสิ้นพระชนม์
วังนี้ก็ชำรุดทรุดโทรมลงไป

ในปัจจุบันมีคุณน้อยและทายาทเป็นผู้ดูแล สิ่งก่อสร้างในอดีตที่เหลืออยู่
คือตำหนักใหญ่ สร้างด้วยไม้สภาพทรุดโทรมตามอายุการใช้งาน กับตำหนักเล็กของหม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่

สิ่งปลูกสร้างภายในวังตรอกสาเก

วังตรอกสาเก

ตำหนักใหญ่ของกรมหลวงประจักษ์
ศิลปาคมและหม่อมนวม

ตำหนักเล็กของหม่อมเจ้าไศลทอง
ทองใหญ่

อ้างอิงจาก
[1] Wikipedia. วังตรอกสาเก. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/วังตรอกสาเก
[2] ThaiQuote. (2562). รู้จัก’วังตรอกสาเก’ที่ประทับ’กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม’ สถานที่เลือนลางในความทรงจำ. สืบค้นจาก https://www.thaiquote.org/content/224956