PHRANAKHON STORY
โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund
๑๖ แห่ง พระราชวังสำคัญในเขตพระนคร
วังสรรพสาตรศุภกิจ
วังสรรพสาตรศุภกิจ เป็นวังที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม ซึ่งก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2444 ทางทิศเหนือของวังวรวรรณ ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ เนื่องจาก
กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ทรงเป็นผู้บังคับบัญชากรมช่างในพระบรมมหาราชวัง จึงก่อสร้างวังสรรพสาตรศุภกิจอย่างวิจิตรบรรจง มีซุ้มประตูสวยงาม ต่อมาใน พ.ศ. 2510 วังนี้เกิดเพลิงไหม้เสียหายจนหมด คงเหลือแต่ซุ้มประตูวัง
และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน เรียกย่านนี้ว่า แพร่งสรรพสาตร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น แพร่งสรรพศาสตร์
ประวัติพระราชวัง
วังสรรพสาตรศุภกิจ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่พระราชทานสร้างเมื่อประมาณพุทธศักราช 2444 แต่เดิมนั้นพื้นที่บริเวณวังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า [2] มีอาณาเขตดังนี้
1. ทิศเหนือ จรด ศาลเจ้าพ่อเสือและตรอกศาลเจ้าครุฑ
2. ทิศใต้ จรดวังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
3. ทิศตะวันออก จรดถนนตะนาว
4. ทิศตะวันตก จรดถนนอัษฎางค์
หลังจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจสิ้นพระชนม์ในพุทธศักราช 2462 ทายาทไม่ประสงค์จะรักษาสภาพวังไว้ต่อไป จึงขายให้แก่เอกชน สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในวังจึงถูกรื้อถอนออกหมดเหลือเพียงแต่ซุ้มประตูวังด้านทิศตะวันออก ริมถนนตะนาวและมีถนนแพร่งสรรพศาสตร์ตัดจากประตูนี้ตรงไปออกถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการปรับปรุงซุ้มประตูนี้ เมื่อพุทธศักราช 2519 โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักผังเมืองในสมัยนั้น กรมศิลปากร สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์และสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมปัจจุบันจึงยังคงอยู่ในสภาพที่ดี
สถาปัตยกรรม
วังสรรพสาตรศุภกิจ
ซุ้มประตูเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรป
ซุ้มประตูเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ช่องประตูกว้างใหญ่สูงขนาดตึก 2 ชั้น ซุ้มกรอบประตูรูปโค้งกลม ประดับแผ่นปูนปั้นที่กึ่งกลาง มีเสานูนเหนือเสา 2 ข้าง อีกชั้นหนึ่งแต่งเป็นรูปอิฐก้อนใหญ่ มีหน้าบันซุ้มซึ่งเป็นวงโค้งกลมซ้อนอยู่อีกวงหนึ่ง ภายในหน้าบันเจาะช่องวงกลมสองข้างกรุกระจกสีเป็นแฉกครึ่งวงกลม กึ่งกลางเป็นช่องโปร่งตั้งรูปหล่อเทพธิดากรีก ชูโคมไฟทรงเหมือนหม้อมีฝาครอบ ด้านข้างและด้านหลังเสาซุ้มก่ออิฐเป็นปีกซึ่งสอบเข้าตอนบน ติดแผ่นจารึกหินอ่อนที่ปีกด้านหลัง จารึกประวัติและการปฏิสังขรณ์ซุ้มประตูเป็นอักษรไทยด้านหนึ่งและเป็นภาษาอังกฤษอีกด้านหนึ่ง