PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

ประวัติศาสตร์
ผ่านวิถีชีวิตผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์

โครงการขอเสนอ ประวัติศาสตร์ผ่านวิถีชีวิตผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สังคมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24-25)วิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ และ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

คลิกเข้าชมหัวข้อที่สนใจได้ที่ ด้างล่างนี้

ประวัติศาสตร์ผ่านวิถีชีวิตผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์

สังคมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
(พุทธศตวรรษที่ 24-25)

พ.ศ. 2325 ได้สถาปนาราชธานีกรุงเทพฯหรือที่เรียกว่ากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นเมืองหลวง โดยมีพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเป็นปฐมกษัตริย์ โดยย้ายศูนย์กลางมาอยู่ฝั่งตรงข้ามกรุงธนบุรี และได้สร้างวัดใหม่ขึ้นในฐานะศูนย์กลางอันศักดิ์สิทธิ์ คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในช่วงนี้บ้านเมืองยังคงวุ่นวายกับการพัฒนาเมืองหลวงแห่งใหม่ เช่น การขุดคลองรอบกรุง การจัดระเบียบชุมชน สร้างป้อมและกำแพงเมือง นอกจากนั้นยังมีการฟื้นฟูวรรณคดี และได้รวบรวมกฎหมายที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยามาชำระใหม่เพราะยังมีความคลาดเคลื่อนและไม่ยุติธรรมอยู่ จึงเกิดเป็นกฎหมายตราสามดวงขึ้น และจารึกไว้ 3 ฉบับ ประทับตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้ว

สภาพสังคมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งขุนนางเป็นจำนวนมาก เพราะขุนนางเสียชีวิตในคราวสงครามกับพม่าปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาแสมัยกรุงธนบุรีตลอดจนการจลาจลปลายสมัยกรุงธนบุรีเป็นจำนวนมาก ได้มีการแก้ไขปัญหาขาดแคลนข้าราชการโดยยกเลิกกฎเกณฑ์คุณสมบัติของผู้เข้าเป็นขุนนาง เปิดโอกาสให้สามัญชนซึ่งมีความรู้ ความประพฤติดีเข้าเป็นขุนนางได้

พระมหากษัตริย์

ในสมัยอยุธยา แนวคิดเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงไปจาก สมัยสุโขทัย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูผ่านทางอาณาจักรขอม พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยาเพิ่มคุณลักษณะของความเป็น “เทพเจ้า” ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจเหนือสามัญชน
พระมหากษัตริย์ คือ พระนารายณ์อวตารลงมายังโลกมนุษย์เพื่อขจัดทุกข์เข็ญ เป็น “เทวราชา” หรือ ราชาผู้เป็นเทวะ ซึ่งมีราชธรรมเป็นเครื่องกำกับ พระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา จึงเป็นทั้ง
“เทวราชา” และ "ธรรมราชา” ในขณะเดียวกัน ดังจะเห็นได้จาก พระนามพระเจ้าแผ่นดินว่า “พระรามาธิบดี" "พระศรีสรรเพชญ์”, “พระมหาจักรพรรดิ” “พระเจ้าทรงธรรม" และ “พระนารายณ์"
พระมหากษัตริย์ในสมัยรัตนโกสินทร์สืบทอดคติทั้งสองต่อมา แม้ว่า ในด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีในราชสำนัก พระมหากษัตริย์
จะทรงเป็น “เทวราชา” แต่พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ได้ทรงแก้ไขแบบแผน ธรรมเนียมให้เป็นคุณแก่ราษฎร
ดังเช่นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศยกเลิกประเพณี
การยิงกระสุนในระหว่างทางเสด็จพระราชดำเนิน อันเป็น
ประเพณีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น

การเลื่อนฐานะของพวกเจ้านายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

การเลื่อนฐานะของพวกเจ้านายในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีลักษณะเป็นก้าวกระโดด
เพราะเป็นช่วงตั้งเมืองหลวงและราชวงศ์ใหม่ การเลื่อนชั้นทางสังคมจึงเลื่อนจากสามัญชนในสกุลขุนนางซึ่งสนับสนุนพระองค์ในการปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นเป็นชนชั้น การแต่งตั้ง
เจ้าให้ทรงกรมขึ้นอยู่กับความเป็นเครือญาติใกล้ชิดกับพระมหากษัตริย์
และมีความสามารถ
ช่วยเหลือในการบริหารบ้านเมือง อำนาจของเจ้านายแต่ละพระองค์
ไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งทางราชการกำลังไพร่ในสังกัด
และตามพระราชอัธยาศัยของพระมหากษัตริย์ อนึ่งสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจเจ้านายในเรื่องไพร่สมในสังกัด ซึ่งเป็นปัญหาในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะเจ้าทรงมีอำนาจและเป็นผู้คุกคามที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ กล่าวคือมีการส่งข้าราชการชั้นสูงจากเมืองหลวงไปทำการสักไพร่ทั่วราชอาณาจักรทุกต้นรัชกาลใหม่
โดยสักชื่อมูลนายและชื่อเมืองที่สังกัดที่ข้อมือไพร่เป็นมาตรการจำกัดกำลังเจ้านายอีกประการหนึ่ง คือ ไพร่สมจะโอนเป็นไพร่หลวงเมื่อเจ้านายหรือขุนนางผู้ใหญ่ถึงแก่อนิจกรรม เจ้านายมีสิทธิพิเศษตามกฎหมาย
คือ จะพิจารณาคดีเจ้านายในศาลกรมวังเท่านั้น
และจะนำเจ้านายไปขายเป็นทาสมิได้

พระมหาอุปราช เป็นเจ้าวังหน้าตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และมักจะสถาปนาพระอนุชาให้ดำรงตำแหน่ง นอกจากนั้นยังมีอัครเสนาบดี และเสนาบดีจตุสดมภ์ คือ กรวมเวียง กรมวัง กรมคลัง กรมนา ตำแหน่งเหล่านี้ถ้าเกิดมาเหตุสงครามก็ต้องไปเป็นแม่ทัพ

ไพร่

ไพร่ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รับการผ่อนปรนเรื่องการเกณฑ์แรงงานจากปีละ 6 เดือน (เข้าเดือนออกเดือน) ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เหลือปีละ 4 เดือน (เข้าเดือนออก 2 เดือน) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (กฎหมายตราสามดวง. 2506 : 205-207) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยลดเหลือปีละ
3 เดือน (เข้าเดือนออก 3 เดือน) อัตราการเกณฑ์แรงงานปีละ 3 เดือนนี้
ใช้ไปจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหาร อย่างไรก็ดีระบบไพร่ทำให้ขัดขวางความชำนาญในการทำอาชีพของคนไทย จึงทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะชาวจีนเข้าควบคุมกิจการด้านเศรษฐกิจเกือบทั้งหมด

ทาส

ทาสในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงมีสภาพเช่นเดียวกับทาส
สมัยกรุงศรีอยุธยา ทาสในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มักจะเป็นทาสสินไถ่ ซึ่งสามารถไถ่ตัวให้พ้นจากการเป็นทาสได้ ทาสเชลยไม่มีค่าตัวต้องเป็นเชลยไปตลอดชีวิตจนกระทั่ง พ.ศ.2348 จึงมีกฎหมายระบุให้ทาสเชลยมีค่าตัว และไถ่ตัวเองได้ ส่วนทาสในเรือนเบี้ยหรือลูกทาสต้องเป็นทาสตลอดชีวิต ไม่มีสิทธิไถ่ตัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงออกพระราชบัญญัติ เกษียณอายุลูกทาสลูกไท พ.ศ.2417 ประกาศให้ลูกทาสที่เกิดตั้งแต่ปีที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ (พ.ศ.2411) เป็นอิสระเมื่อมีอายุบรรลุนิติภาวะ และขายตัวเป็นทาสอีกไม่ได้

ชาวต่างชาติ

ชาวจีนเป็นผู้มีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมไทยด้านเศรษฐกิจ
มาตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา ชาวจีนอพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรก เป็นพวกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชนชั้นสูงในสังคมไทยและมีการอุปถัมภ์ซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นหนทางในการเลื่อนฐานะทางสังคมและก้าวขึ้นสู่ชนชั้นขุนนางด้วยการให้ผลประโยชน์แก่เจ้านายและขุนนางไทยออกไปค้าขายยังประเทศจีนจะเห็น
ได้จากการที่หัวหน้าชาวจีนได้เข้าสู่ชนชั้นขุนนางโดยการเป็นเจ้าภาษี
นายอากร มียศหรือบรรดาศักดิ์ เป็นพระ ขุน หมื่น มีศักดินา ขึ้นไป พ่อค้าหรือเจ้าภาษี ชาวจีนในหัวเมืองหลายคนได้รับแต่งตั้งให้เป็น
เจ้าเมือง คนเหล่านี้มีฐานะมั่งคั่ง บางครอบครัวมีความสัมพันธ์โดยการแต่งงานกับชนชั้นเจ้านาย ขุนนาง หรือถวายตัวต่อพระมหากษัตริย์ ชาวจีนประเภทที่สอง คือ พวกที่รับจ้างเป็นกรรมกรเพื่อทำงานสาธารณูปโภค ต่าง ๆ แทนแรงงานไพร่ ทำงานในเหมืองแร่ดีบุก
ช่างปูน ช่างต่อเรือ กรรมการในโรงงานน้ำตาลทราย ทำไร่อ้อย
พริกไทย ยาสูบ และค้าขายแถบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง หรือหัวเมืองชายทะเลตะวันออกและภาคใต้ของไทย

ประวัติศาสตร์ผ่านวิถีชีวิตผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์

วิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยรัตนโกสินทร์

วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทยได้กล่าวแล้วว่าวิถีชีวิตของคนไทยดั่งเดิมก็คือสังคมเกษตรกรรม มี อาชีพหลักได้แก่การทำไร่ไถนา เลี้ยงสัตว์ และมีการพัฒนา
ไปตามระยะเวลาซึ่งก็มีปัจจัยทั้งภายนอก ภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น จากความคิดของแต่ละครอบครัว ค่านิยมที่เกิดจากคนรุ่นใหม่ อุดมการณ์ รวมถึงการเมืองการปกครอง และสังคม ทั้งหมดนี้มาทำให้สังคมชีวิตของคนไทยต้องเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งเริ่มตั้งแต่แรกเริ่มการตั้งตัวเป็นแคว้น หรืออาณาจักร จนเป็นรัฐ หรือประเทศใน

วิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

วิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยดังกล่าวนี้ จะไม่แตกต่างกันมากนัก
และมีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การปรับปรุงประเทศในมีความทันสมัยเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางฝั่งตะวันตก โดยมีการพัฒนาปรับปรุงกันมาตั้งแต่สมัย ร.4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้วิถีชีวิตทางด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยอยุธยา มีการปกครอง
แบบสมบูรณาญาสิทธิราช มีกษัตริย์เปรียบเสมือนเป็นสมมิติเทพ ซึ่งเป็นแบบอย่างมาจากเขมร และมีข้อปฏิบัติหรือกฎมณเฑียรบาลของผู้ปกครองให้มีความแตกต่างจากประชาชนธรรมดา เช่น มีการใช้ราชาศัพท์ และต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาของบรรดาข้าราชบริพาร เป็นต้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ และราษฎร
ห่างเหินกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามผู้ปกครองก็คือผู้ปกครอง สำหรับราษฎรจะได้รับการปกครองในระบบไพร่ มีการเกณฑ์แรงงานเพื่อทำงานให้ทางราชการ
ด้านเศรษฐกิจ เป็นระบบพึ่งตนเองและพออยู่ได้ ราษฎรอาจทำสิ่งของที่ใช้จำเป็นได้เองในครัวเรือน การค้ามีไม่มากนักเนื่องจากมีการผูกขาดโดยระบบพระคลังสินค้า มีการนำสินค้าของชาวตะวันตกเข้ามาขายได้บ้างเป็นบางอย่าง เช่น อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยก็จะมีเฉพาะในราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่พวกเครื่องหอม และแพรพรรณ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมากขึ้น ทำให้เกิดการจัดระเบียบการค้าสำหรับหน่วยงานขึ้นอย่างชัดเจน เช่น มีกรมท่า และพระคลังสินค้า ทั้งนี้มีหน้าที่ดูแลการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ การจัดระบบภาษีอากร และประยุคต์เรื่องเงินตราใหม่

ด้านสังคม และวัฒนธรรม

ด้านสังคม และวัฒนธรรม จากการติดต่อกับชาวตะวันตก
ทั้งการค้า และการสงคราม มีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการ
ในราชสำนัก ทำให้สังคมไทยในสมัยอยุธยาเปลี่ยนไปทั้ง
ทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี ที่ได้รับมาทั้งจากตะวันตกและตะวันออก เช่น จากเขมร อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ
และจากฝรั่งชาวยุโรป โดยเฉพาะการกำหนดชนชั้นของบุคคล
ในสังคม กฎหมาย และพระราชพิธีในราชสำนัก ตลอดจน
การดำเนินชีวิตของราษฎรต่าง ๆ เช่น ประเพณีการดื่มน้ำชา
การใช้เครื่องถ้วยชามประกอบการรับประทานอาหาร
การรับประทานอาหาร การปรุงแต่งรสชาติอาหาร และขนมหวานต่าง ๆ เป็นต้น ราษฎรยังคงนับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง และเหนียวแน่น เช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย โดยมีประเพณีเกี่ยวกับศาสนาเช่น การเกิด การอุปสมบท การสมรส และการตาย
ส่วนประเพณีทางการอาชีพก็ได้แก่ การทำบุญหรือทำขวัญแม่โพสพ สำหรับศาสนาอื่นก็ไม่เป็นปัญหาสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ตามปกติในสังคม โดยแบ่งเป็นมัสยิด และโบสถ์ในคริสต์ศาสนา ซึ่งก็ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และกรุงเทพมหานคร
ในปัจจุบัน นอกนั้นก็ยังมีงานสังคมหรืองานเลี้ยงเพื่อการสังสรรค์ มีงานศิลปะ และวรรณกรรมประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะงานทางศาสนาและความเป็นสมมุติเทพของศาสนาพรามณ์ และ
พระมหากษัตริย์วิถีชีวิตของคนไทย สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอบ พ.ศ. 2475 นับตั้งแต่สมัย ร.4 ร.5 หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง เป็นต้นมา สังคมไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทีละน้อย ไม่เหมือนสังคมไทยในสมัย
รัตรนโกสินทร์ตอนต้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการรับวัฒนธรรมมาจากชาวตะวันตก

ด้านการเมืองการปกครอง

ด้านการเมืองการปกครอง ในสมัย ร.4 ร.5 มีการใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น เช่น การเสด็จประพาสหัวเมือง อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้ และเริ่มมีการให้ราษฎรมองพระพักตร์ และถวายฎีกา มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ แบ่งงานออกเป็น
กระทรวง ทบวง กรม มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับราชการมากขึ้น

ด้านเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจ มีสินค้าออกเพิ่มจากข้าวอีกหลายรายการ มีการจัดที่ดินให้ราษฎรปลูกข้าว ที่แถวรังสิต มีการปรับปรุงระบบชลประทาน และมีชาวจีนมากรับเหมาเปิดโรงสีข้าว มีการส่งออกโดยชาวยุโรป
มีสินค้าออกที่สำคัญเพิ่มจากข้าว ได้แก่ แร่ดีบุก ไม้สัก และยางพารา มีการอพยพของชาวจีนเข้ามากันมากขึ้น เพื่อมาเป็นแรงงานและ
ได้อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น ที่ภูเก็ต และพังงา
ด้านสังคมและวัฒนธรรม ประเทศเริ่มมีการปรับปรุงให้ทันสมัยแบบตะวันตก มีการปล่อยให้เป็นไทยไม่ต้องเป็นทาสในสมัย ร.5 มีอิสระ
ในการประกอบอาชีพ มีการแพทย์สมัยใหม่ ราษฎรมีโอกาส
ได้เล่าเรียนหนังสือจนถึงระดับมหาวิทยาลัย หรือไปศึกษาต่อ
ต่างประเทศ มีระบบคมนาคมขนส่งที่ทันสมัยทั้ง รถยนต์ รถไฟ และไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปา ถนนหนทางตัดใหม่หลายเส้นทาง เริ่มมีประเพณีรับประทาน น้ำชากาแฟ ขนมปัง
แทนข้าว มีการใช้ช้อนส้อม เป็นต้น ส่วนทางด้านบุคคลก็มีการเรียกชายว่านาย หญิงว่านาง หรือนางสาว มีการแต่งกายเป็นแบบสากล สวมรองเท้า ใส่หมวก เป็นต้น

วิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

วิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

ด้านการเมือง การปกครอง
มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เกิดองค์กรทางการเมืองต่าง ๆ มากมาย เช่น พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี รับสภา มีการเลือกตั้ง

ประวัติศาสตร์ผ่านวิถีชีวิตผู้คนสมัยรัตนโกสินทร์

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์

ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยรวมความถึง ความรู้ความสามารถและทักษะของคนไทย ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรับปรุง พัฒนาและถ่ายทอดมาเป็นอย่างดี เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย

ภูมิปัญญาไทยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาชาติไทย และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทย คือความรู้ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิตในสังคมไทย ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีมากมายหลายด้าน โดยมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ หลายด้าน ได้แก่ ด้านการเมือง
การปกครอง ด้านคติความเชื่อ ด้านการดำเนินชีวิต ด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น

ด้านการเมือง
การปกครอง
ภูมิปัญญาไทย

ด้านการเมืองการปกครองภูมิปัญญาไทยในด้านการเมืองการปกครองมีหลายประการ เช่น ฐานะของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ในสังคมไทย ในสังคม
จะต้องมีระบบกฎเกณฑ์บังคับให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติตาม เพื่อให้สมาชิกทุกคนสามารถอยู่ร่วมกันในสังคม
ได้อย่างปกติสุข พระมหากษัตริย์ไทย เป็นศูนย์กลางที่สำคัญที่สุดและอยู่สูงสุดของสังคม

ด้านคติความเชื่อในศาสนา

ด้านคติความเชื่อในศาสนาคำสอนของ พระพุทธศาสนา เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติของสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน พระพุทธศาสนาทำให้คนไทยมีกรอบความคิด และโลกทัศน์เป็นไปตามคำสอนในพระพุทธศาสนา
คำสอนในด้านการปกครองของพระพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นหลัก
ในการปกครองประเทศของพระมหากษัตริย์ โดยหลักคำสอน
ทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ นอกจากนี้
พระพุทธศาสนายังเป็นรากฐานที่สำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี
และจารีตของสังคมไทย และนอกจากคำสอนในศาสนาพุทธแล้ว
คติความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณก็เป็นคติความเชื่อสำคัญ
ของไทยด้วยเช่นกัน

ด้านการสาธารณสุข

ด้านการสาธารณสุข สภาพลักษณะทางภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อนของประเทศไทย ทำให้เกิดความหลากหลายทางด้านชีวภาพ จึงมีพืชสมุนไพรมากมายที่มีคุณประโยชน์ในการรักษาโรค คนไทยจึงได้สร้างภูมิปัญญาในการนำพืชสมุนไพรต่างๆ เหล่านี้มาใช้รักษาโรคอย่างเป็นระบบ

การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผา

การประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผานับเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาแต่โบราณ
ปรากฏหลักฐานในการขุดพบซากโบราณวัตถุ ซึ่งมักจะมีเครื่องปั้นดินเผารวมอยู่ด้วยเสมอ เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงมีรูปแบบและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ต่อมาในสมัยประวิติศาสตร์ เครื่องปั้นดินเผาสมัยสุโขทัยมีการปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ ชนิดที่เคลือบ เรียกว่า เครื่องสังคโลก การผลิตเครื่องปั้นดินเผามีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน