PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร
Supported by Thai Media Fund

ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

โครงการขอเสนอ 9 แห่ง  แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ 
อาคารนิทรรศรัตนโกสินทร์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์, พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์, พิพิธภัณฑ์บางลำพู, หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน, มิวเซียมสยาม, และหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

อาคารนิทรรศรัตนโกสินทร์

อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ มีแนวคิดการจัดแสดงด้วยเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม คือสิ่งที่ต้องถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมได้รับรู้ ดื่มด่ำ และเห็นคุณค่า ประกอบกับกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ กลุ่มเยาวชน จึงเป็นโจทย์สำคัญที่จะทำอย่างไรให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เกิดประสิทธิผลสูงสุด เพราะการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับเยาวชน หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป ดังนั้น จึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมต้องใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยในการจัดแสดงนิทรรศการ เพราะการรวบรวมความรู้ โดยการนำเทคโนโลยีหรือเทคนิคที่ทันสมัยเข้ามาให้กับเยาวชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม จะทำให้เยาวชนเกิดความสนใจ เข้าใจได้ ง่ายขึ้น เป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยให้กับเยาวชนรุ่นหลัง
การให้บริการ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เปิดให้บริการทุกวัน
ยกเว้นวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 10.00-19.00 น.
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (อังกฤษ: Bangkok National Museum) เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือส่วนหนึ่งของที่ประทับวังหน้า ซึ่งก็คือพื้นที่พระราชวังของสมเด็จพระบวรราชเจ้าตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา มีอาณาเขตตั้งแต่บริเวณมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มณฑลพิธีท้องสนามหลวงตอนตะวันตก อนุสาวรีย์ทหารอาสา และโรงละครแห่งชาติในปัจจุบัน ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยหมู่พระที่นั่งต่าง ๆ ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ และ อาคารมหาสุรสิงหนาท เดิมพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง ที่หอคองคอเดีย (ศาลาสหทัยสมาคม ในปัจจุบัน) เรียกว่า "มิวเซียม" หรือ "พิพิธภัณฑสถานหอคองคอเดีย" โดยมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2417 จนต่อมาเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ เสด็จทิวงคต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงให้ยกเลิกตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลลง เป็นเหตุให้พระราชวังบวรสถานมงคลว่าง พระองค์จึงโปรดฯ ให้ย้ายพิพิธภัฑสถานมาจัดแสดงโดยใช้พื้นที่ของพระราชวังบวรฯ บางส่วน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนพระราชมณเฑียรของพระราชวังบวรฯ ทั้งหมดได้เปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนครและหอสมุดพระวชิรญาณเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร เมื่อ พ.ศ. 2469[1] ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทย ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย งานประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา รวมไปถึงนิทรรศการชั่วคราวต่าง ๆ
QF5R+6MP ซอย หน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์เจ้าฟ้า

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ (อังกฤษ: The National Gallery) หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า เป็นหอศิลป์และเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารที่เดิมเคยเป็นโรงกษาปณ์ ออกแบบโดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาลี วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับศิลปะไทยประเพณีและร่วมสมัย ภายในจัดแสดงภาพศิลปะไทยจนถึงการถ่ายภาพบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รวมถึงผลงานร่วมสมัย ศิลปะจัดแสดงที่สำคัญ ได้แก่ พระบฏวัดดอกเงิน รูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 พบในกรุเจดีย์วัดดอกเงิน อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ จากการขุดสำรวจแหล่งโบราณคดีพื้นที่น้ำท่วมจากการสร้างเขื่อนภูมิพลเมื่อ พ.ศ. 2502 พบครั้งแรกในสภาพถูกม้วนกลมใส่ในหม้อดินร่วมกัยพระพุทธรูปและของมีค่าต่าง ๆ ภายในพิพิธภัณฑ์ยังมีแบบร่าง
ปฐมบรมราชานุสรณ์ ผลงานของ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี
4 ถนน เจ้าฟ้า แขวง ชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ จัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของลูกศิษย์และผู้ใกล้ชิดศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เพื่อรำลึกถึงเกียรติคุณของศาสตราจารย์ศิลป์ฯ ในฐานะผู้ให้กำเนิดการศึกษาศิลปะสมัยใหม่ ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย และผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร
192 ถ. มหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์

พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์ เป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางเกี่ยวกับ “เงินตรา”
ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ผ่านวิวัฒนาการของเงินตราไทยในแต่ละช่วงเวลา ภายในจัดแสดงเงินตราโบราณ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเหรียญนานาชาติ รวมทั้งเผยแพร่ภารกิจของกรมะนารักษ์ด้านการผลิตเหรียญกษาปณ์ การอนุรักษ์เงินตราโบราณ ภายใต้แนวความคิด "วิถีแห่งเงินตรา สินล้ำค่าของแผ่นดิน"
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อพิพิธภัณฑ์ว่า "พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณานุรักษ์" หมายถึง
สถานที่เก็บรวบรวมและแสดงสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับเหรียญอันเป็นที่อนุรักษ์เหรียญกษาปณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2562
ถนนจักรพงษ์ แขวง ชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

พิพิธภัณฑ์บางลำพู

พิพิธบางลำพู ตั้งอยู่บนถนนพระอาทิตย์ ริมคลองบางลำพู ใกล้กับป้อมพระสุเมรุ มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานอาคารจากกรมศิลปากรเมื่อปี 43 เปิดเป็น แหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ และศูนย์การเรียนรู้เชิงการศึกษาวัฒนธรรมชุมชน เป็นพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ซึ่งประยุกต์
การแสดงวัตถุและการเล่าเรื่องเชิงประวัติศาสตร์เข้ากับการแสดงวิถีชุมชนบางลำพูเดิมอย่างน่าสนใจ
กรมธนารักษ์ ปรับปรุงอาคารโรงเรียนช่างพิมพ์วัดสังเวช ที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เก่าแก่และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ให้เป็นพิพิธภัณฑ์กรมธนารักษ์ รวมถึงจัดแสดง
ประวัติความเป็นมาและวิถีชุมชนบางลำพู ตลอดจนเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลานกิจกรรมให้กับประชาชนทั่วไป
QF7W+CGP, ถนน พระสุเมรุ, แขวง ชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน บริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม เป็นอาคารประวัติศาสตร์ขนาด ๔ ชั้น สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๙๑ ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม อาคารหลังนี้ได้ถูกบูรณะโดยยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมภายนอกไว้ และได้ปรับปรุงภายในอาคารเพื่อใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย กิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
84 ถนน ราชดำเนินกลาง แขวง วัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

มิวเซียมสยาม (Museum Siam)

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Museum Siam: Discovery Museum) ภายใต้สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(สพร.) เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรก
ที่เน้นการสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของแหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย์ และช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่
ให้กับประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทย เกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลก
4 ถนน สนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประชาสัมพันธ์แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ 9 แห่ง

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เกิดจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการของศิลปินไทย โดยเฉพาะศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานดีเด่นแต่ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย ตลอดจนศิลปินอาวุโสที่ได้รับการยกย่อง สลับสับเปลี่ยนจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดปี

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ซึ่งผู้มีจิตศรัทธา ทูลเกล้าฯถวายในวโรกาสที่เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานรางวัล
“จิตรกรรมบัวหลวงต้นแบบภาพปักเพื่อมูลนิธิศิลปาชีพ” เพื่อใช้เป็นทุนประเดิมในการก่อตั้ง โดยใช้ที่ทำการของธนาคารกรุงเทพ สาขาสะพานผ่านฟ้า และศูนย์สังคีตศิลป์เดิม ปรับปรุงใหม่เป็นหอศิลป์ที่ทันสมัย โดยได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้อัญเชิญพระนามาภิไธยเป็นมงคลนามว่า “หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ”

พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการศิลปกรรมมี 4 ชั้น แบ่งเป็น ชั้นที่ 1- 4 แสดงนิทรรศการหมุนเวียนตลอดทั้งปี และชั้นที่ 5 สามารถใช้จัดงานกิจกรรมต่างๆ ได้ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและเผยแพร่งานศิลปะสู่สังคมในวงกว้าง
101 ถนน ราชดำเนินกลาง แขวง วัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200