PHRANAKHON STORY

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์สื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร Supported by Thai Media Fund

พระนครสตอรี่

แอปพลิเคชั่น

โครงการประวัติศาสตร์ศิลปะวัฒนธรรมสร้างสื่อร่วมสมัยให้หัวใจพระนคร

แอปพลิเคชั่น ที่กระตุ้นให้คนมาท่องเที่ยวหลังจากเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ดีขึ้นแอปพลิเคชั่น สำหรับการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ ในรูปแบบของผลงานศิลปะแบบดิจิตอลสามมิติ

วัตถุประสงค์การจัดทำแอปพลิเคชั่น

จัดทำแอปพลิเคชั่น เพื่อใช้ในการเรียนรู้ การท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบ เพื่อ เป็นการช่วยกันอนุรักษ์สืบสานมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย และแอปพลิเคชั่น ถูกออกแบบกราฟฟิก และสามารถลิงค์ข้อมูลประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม ของกลุ่มชุมชน ในเกาะรัตนโกสินทร์ได้โดยผ่านรูปแบบการสแกนผ่านงานสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ หรือผลงานศิลปะ เป็นระบบสามมิติ สามารถถ่ายทอดเรื่องราวอย่างน่าสนใจ และเพื่อให้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และ วัฒนธรรม ยังยืนต่อไป และในอนาคตเราจะมีการพัฒนาสื่อแอปพลิ-เคชั่นในด้านการท่องเที่ยวให้กับทุกจังหวัดและทั่วภูมิภาค

เรียนรู้ประวัติศาสตร์
และนำทางการท่องเที่ยว
ให้สนุกมากยิ่งขึ้น

ผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
โดยแสกนสถานที่ท่องเที่ยว
ผ่านแอปพลิเคชั่น

เพื่อเรียนรู้ประวัติศาสตร์และชมผลงานการออกแบบ AR ศิลปะดิจิทัล
ในรูปแบบ 2มิติ และ 3มิติ

ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ใช้เป็นแนวทางในการสร้างระบบภาพ AR รูปแบบ2 มิติ และ 3 มิติ ภายในแอปพลิเคชั่น

AR 2D

ระบบภาพ AR รูปแบบ 2 มิติ

ภายในแอปพลิเคชั่นพระนครสตอรี่

ระบบภาพ AR ในรูปแบบ 2 มิติเหมาะสำหรับสถานที่หรือเนื้อหาที่เป็นระนาบหรืออยู่ภายในพื้นที่   (indoor) อาทิ ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัด,ภาพถ่าย,ภาพในหนังสือ เป็นต้น โดยการจัดทำเนื้อหาและเสนอแนวความคิดในการจัดผลิตสื่อ AR ผ่านประวัติศาสตร์ของเรื่องราวผ่านการรับชมโดยนำเสนอผ่าน 2 ประเภท คือ ประเภทที่สามารถสแกนชมผลงานภายในสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาตร์ และประเภทที่สามารถสแกนชมผลงานในเว็บไซต์ PHRANAKHON STORY

1. AR ประเภทที่สามารถสแกนชมผลงานในด้านสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

จิตรกรรมฝาผนัง
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์

จิตรกรรมฝาผนัง
ภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์

จิตรกรรมฝาผนังวัดโสมนัสราชวรวิหาร "ทัชมาฮาลเมืองไทย

จิตรกรรมฝาผนัง
วัดราชาธิวาสวิหาร

1.จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์

พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทเดิมมีนามว่า พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท มีพระราชดำริให้สร้างขึ้นเพื่อทำการพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ เป็นต้น หลังจากนั้น เมื่อปี พ.ศ. 2330 พระองค์เสด็จไปยังเชียงใหม่ และไดัอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมา พระองค์จึงทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ทรงเปลี่ยนนามพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ปัจจุบัน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 
ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงถึงฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ 1 ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคติความเชื่อ พุทธประวัติ พระมหากษัตริย์ และวิถีชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น รวมถึงคติการสร้างของที่นี่ ที่ต้องการให้เป็นเหมือนดั่งสวรรค์วิมาน มีการเขียนภาพเทพเทวดา หรือ “เทพชุมนุม” สื่อถึงสวรรค์ในชั้นเทพและชั้นพรหม สอดคล้องกับการประดิษฐานของพระพุทธรูป ซึ่งนับว่าเป็นงานจิตรกรรมฝาผนังที่มีคุณค่าด้านฝีมือช่างอย่างหาที่เปรียบมิได้
ภาพเทพชุมนุมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังของศิลปะไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คงเขียนขึ้นแต่ครั้งแรกสร้างพระที่นั่งหลังนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2338 โดยรูปแบบทางศิลปะบนจิตรกรรมฝาผนังยังคงเห็นถึงรูปแบบของศิลปะอยุธยาที่ถ่ายทอดมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาจากเชียงใหม่มาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งนี้ ทรงให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้ชื่อพระที่นั่งว่า “พระที่นั่งพุทธาสวรรย์” ในเอกสารบางเล่มเรียกชื่อเดิมว่า “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์”
สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ 3 มีการปฏิสังขรณ์พระที่นั่งครั้งใหญ่ ดังปรากฏลักษณะสถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อพระที่นั่งใหม่เป็น “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” พระที่นั่งนี้ได้รับการบูรณะมาเป็นระยะๆ และซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ภาพเทพชุมนุมในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เป็นงานจิตรกรรมฝาผนังของศิลปะไทยสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คงเขียนขึ้นแต่ครั้งแรกสร้างพระที่นั่งหลังนี้ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ.2338 โดยรูปแบบทางศิลปะบนจิตรกรรมฝาผนังยังคงเห็นถึงรูปแบบของศิลปะอยุธยาที่ถ่ายทอดมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในครั้งนั้นสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาจากเชียงใหม่มาประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งนี้ ทรงให้เขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แล้วให้ชื่อพระที่นั่งว่า “พระที่นั่งพุทธาสวรรย์” ในเอกสารบางเล่มเรียกชื่อเดิมว่า “พระที่นั่งสุทธาสวรรย์”
สมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ 3 มีการปฏิสังขรณ์พระที่นั่งครั้งใหญ่ ดังปรากฏลักษณะสถาปัตยกรรมที่เห็นในปัจจุบัน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนชื่อพระที่นั่งใหม่เป็น “พระที่นั่งพุทไธสวรรย์” พระที่นั่งนี้ได้รับการบูรณะมาเป็นระยะๆ และซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนัง
จิตกรรมฝาผนัง พุทธประวัติ ตอนมารผจญ ฝั่งขวาแสดงกองทัพมารของพระยาสวัตดีมาร ยกแสนยานุภาพมาเพื่อทวงโพธิบัลลังก์ จากพระโพธิสัตว์ (ก่อนการตรัสรู้) ตรงกลางเป็นภาพ แม่พระธรณีบีบมวยผม ฝั่งซ้าย กองทัพพระยามารถูกทำลาย ด้วยน้ำแห่งผลบุญจากการบำเพ็ญของพระโพธิสัตว์มาถ้วน ๘๐ อสงไขย และพระยามารแสดงความเคารพพระพุทธองค์ 

จิตรกรรมตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์จิตรกรรมฝาผนังภายในพระที่นั่งพุทโธสวรรย์

กาลเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำยมกปาฏิหาริย์แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษา ณ เทวโลกดาวดึงส์สถานโดยฉับพลัน ครั้งนั้นมหาชนที่มาประชุมกันชมปาฏิหาริย์กำลังมีความเบิกบานเลื่อมใส ครั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จไปโดยฉับพลันเช่นนั้นย่อมเป็นเหมือนดังดวงพระอาทิตย์หรือดวงจันทร์หลบหายเข้าไปในผืนแผ่นเมฆอันหนาแน่นมัวมืดลงในทันทีทันใดนั้น ชนทั้งหลายก็เศร้าโศกปริเทวนาพากันเข้าไปถามพระมหาโมคคัลลานะเถระว่า"พระผู้มีพระภาคเสด็จไปอยู่ที่ใด"พระมหาโมคคัลลานะเถระแม้จะรู้ดีอยู่แล้วแต่เพื่อประกาศเกียรติคุณของพระอนุรุทธเถระจึงกล่าวว่า"ขอท่านทั้งหลายไปถามพระอนุรุทธเถระดูเถิด" คนทั้งหลายเหล่านั้นจึงพากันไปหาพระอนุรุทธเถระแล้วเรียนถามท่านพระเถระเจ้าจึงบอกว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ในดาวดึงส์เทวโลกเพื่อตรัสพระธรรมเทศนาอภิธรรม ๗ คัมภีร์โปรดพระพุทธมารดา" ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าก็เมื่อใดเล่าพระองค์ จึงเสด็จลงมา ดูก่อนท่านทั้งปวงพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องแสดงธรรมแก่ทวยเทพดาในดาวดึงส์เทวโลกถึง ๓ เดือนต่อเมื่อถึงวันมหาปวารณาจึงเสด็จลงมาสู่มนุษย์โลก ชนทั้งหลายจึงกล่าวแก่พระมหาโมคคัลลานะเถระว่า"ถ้าพวกข้าพเจ้ามิได้เห็นองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจะไม่ไปจากที่นี่" แล้วก็ชวนกันตั้งทับ และชมรมที่อาศัยตามอัธยาศัยของตน ๆ ตั้งจิตอธิษฐานปาฏิหาริย์อุโบสถตลอดไตรมาสเสมอกัน แท้จริงก่อนที่พระผู้มีพระภาคเจ้า จะเสด็จขึ้นไปเทวโลกก็ทรงทราบถึงเหตุการณ์นี้ดีแล้ว ฉะนั้นจึงได้ตรัสสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะเถระเอาเป็นธุระแสดงธรรม และให้จุลอนาฤบิณฑิกะเอาธุระสงเคราะห์ด้วยโภชนาหารแก่มหาชนอันประชุมอยู่ ณ ที่นั้นตลอดเวลาครั้นกาลใกล้จะถึงวันปวารณายังอีก ๗ วัน ชนเหล่านั้นจึงพากันไปหาพระมหาโมคคัลลานะเถระ เรียนถามอีกว่า "พระผู้เป็นเจ้าควรจะกรุณาให้พวกข้าพเจ้าได้ทราบว่าพระผู้มีพระภาคจะเสด็จลง ณ ที่ไหนเมื่อใดแน่หากข้าพเจ้าทั้งหลายมิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจะไม่ไปจากที่นี่"

2.จิตรกรรมวัดโสมนัสราชวรวิหาร “ทัชมาฮาล” เมืองไทย

วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระอารามหลวงริมคูเหมือนกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2396 เพื่ออุทิศให้แก่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดโสมนัสวิหาร” นั่นเอง เมื่อครั้งสมัยสร้างเสร็จในระยะแรก ถือเป็นวัดที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร ของนักบวชผู้ต้องการความสงบ เนื่องจากทำเลวัดตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเมือง และถูกต้องตามลักษณะของวัดที่กล่าวไว้ในพระบาลีทุกประการ ความงดงามของวัดที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน คือรูปแบบของงานสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในอุโบสถและพระวิหารมีภาพจิตรกรรม ฝาผนังที่สวยงามประณีต มีพระสัมพุทฺธสิริมาจากวัดราชาธิวาสคราวยกวัด เป็นพระประธานภายในพระอุโบสถ และพระสัมพุทธโสมนัสวัฒนาวดีนาถบพิตรเป็นพระประธานในวิหาร ภายในวัดโดดเด่นด้วยเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่ (เป็นเจดีย์ทอง รูปทรงแบบลังกาสีทองเหลืองอร่าม ยอดแหลมสูงเด่นเป็นสง่า) บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนเจดีย์องค์เล็ก (หรือเจดีย์มอญ) มีลักษณะสวยงามเช่นเดียวกับปรินิพพานสถูป ในอินเดีย ซึ่งหาชมได้ยากยิ่ง
นับเป็น “วัดประจำพระองค์” แห่งที่ 2 ของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีส่วนวัดประจำพระองค์แห่งแรกคือ “วัดราชนัดดารามวรวิหาร” ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389 และพระราชทานเป็นเกียรติแก่ “พระราชนัดดา-พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี”นั่นแสดงว่าพระองค์ทรงที่เป็นรักยิ่งของพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 2 พระองค์ส่วนเทียบเคียงว่า “วัดโสมนัสราชวรวิหาร” เป็น “ทัชมาฮาล” เมืองไทยนั้น เป็นการอ้างอิงและคัดย่อมาเพียงบางส่วนจากบทความชื่อ “วิเคราะห์แนวคิดรัชกาลที่ 4 ที่สะท้อนผ่านจิตรกรรมเรื่อง ‘อิเหนา’ ในพระวิหารหลวง วัดโสมนัสวิหาร” ของจุฑารัตน์ จิตโสภา ที่ตีพิมพ์ในวารสารดำรงวิชาการ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2555)
บทความของจุฑารัตน์ จิตโสภา ตั้งใจวิเคราะห์ว่าเหตุใดรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้นำวรรณคดีที่มีเนื้อหาประโลมโลกมาเขียนไว้ภายในพระอาราม และประเด็นอื่นๆ หากในที่นี้ขอกล่าวเฉพาะการเลือกวรรณคดีเรื่อง “อิเหนา” มาเขียนเป็นภาพจิตกรรมฝาผนังซึ่งอาจมีเหตุผลดังนี้ เพราะสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีทรงฝึกหัดคณะละครส่วนพระองค์ และคณะละครของพระนางได้มีโอกาสเล่นถวายในพระราชพิธีสมโภชพระวิสุทธิรัตนกิริณี-ช้างเผือกช้างที่ 2 ในปี 2397 นอกจากนี้บทละครที่ใช้แสดงกันในขณะนั้นก็มีเพียง 3 เรื่อง คือ รามเกียรติ์, อุณรุท และอิเหนา นอกจากนี้ “อิเหนา” ยังเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ที่ได้รับนิยมในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดไปจนถึงเหล่าเจ้านาย ขุนนาง ข้าราชบริพาร ตั้งแต่ในสมัยของพระบรมชนกนารถ และอาจเป็นไปได้ว่านี้คือบทละครที่พระนางโปรดด้วยก็เป็นได้
วรรณคดีเรื่อง “อิเหนา” อาจจะมีหลายตอนที่แพร่หลายและเป็นที่นิยม หากรัชกาลที่ 4 ทรงเลือกเอาตอน “อุณากรรณ” มาแปลงนั้นสันนิษฐานว่าเป็นเพราะ “ชะตาชีวิต” ของสมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี กับอุณากรรณคล้ายคลึงกัน คือ “กําพร้า”สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับหม่อมงิ้ว พระบิดาของพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาบาง พระนางทรงกำพร้าพระบิดาตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 6 เดือน พระอัยกาจึงโปรดเกล้าฯ ให้เชิญเสด็จจากวังพระบิดามาอุปถัมภ์เลี้ยงดูในพระบรมมหาราชวังอย่างพระราชธิดาของพระองค์ และทรงเป็นพระราชนัดดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 3 ที่ดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าหลานเธอ” ส่วนอุณากรรณก็ได้รับการอุปถัมภ์จากท้าวประมอตัน กับท้าวกาหลังเสมือนพระราชบุตรแท้ๆ
บทละครเรื่องอินเหนาตอนอุณากรรณ ที่รัชกาลที่ 4 ทรงนํามาเขียนเป็นจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวง วัดโสมนัสราชวรวิหาร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระนาง ด้วยสาเหตุเช่นนี้ หากพิจารณาในพระราชดำริที่เคร่งครัดต่อเรื่องข้อกําหนดการเขียนภาพจิตรกรรมที่ระบุไว้ในพระวินัย เช่นครั้งหนึ่งพระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปทอดผ้าพระกฐินที่วัดทองนพคุณ ได้ทอดพระเนตรเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร ภายในพระอุโบสถ ที่ช่างวาดเป็นภาพเหล่านางอัปสรที่กำลังเล่นน้ำ บ้างนั่งถ่ายปัสสาวะ บ้างโป๊เปลือย ก็ทรงรับสั่งให้ลบและวาดใหม่ทันที
ตอนอิเหนาไปช่วยงานพระเมรุพระอัยกีที่เมืองหมันยา ภาพอาคารอบบยุโรป มีโดมโค้ง เป็นภาพการถวายพระเพลิงพระศพกษัตริย์ ภายไกลออกไป คือเบื้องบนซึ่งภาพนี้เขียนแบบวิวทิวทัศน์ตามนก เราได้เห็นผืนน้ำ และท้องฟ้าสว่าง ไม่มีเมฆทึมเทา ภาพวิวระยะไกล คือฝั่งตรงข้าม เขียนผลักระยะให้เล็กลง แลเห็นพระเมรุมาศแต่ไกล
ตอนอิเหนาวิ่งม้าตามบุษบา ภาพตีกรมบ้านเรือน พระราชวัง ภาพราชรถระยะไกล เขียนโดยระบบภาพเขียนไทย โดยปิดทองในวัสดุสิ่งของที่เป็นทองเบื้องบน คือ ทิวทัศน์ระยะไกล ซึ่งนับว่าเป็นภาพอันควรชมอย่างยิ่ง
ตอนอิเหนาอภิเษกสมรส เป็นภาพอันโอ่อ่า เห็นนครใหญ่ กำแพงใหญ่ พระราชวังอันมโหราฬ ผู้คนและบ้านเมืองที่คับคั่ง ไกลออกไป คือ แม่น้ำกับบ้านเรือนอยู่ในฝั่งตรงกันข้าม
ตอนอิเหนาไปเมืองมะละกา เป็นภาพบ้านเมืองอยู่เบื้องล่าง อิเหนาซัดเซพเนจรไปจนถึงเมืองมะละกา แต่ส่วนครึ่งบน คือ ครึ่งหนึ่งขึ้นไปเป็นรูปวิวตานก เห็นอาคารตึกรามที่ห่างไกล เป็นระยะ เห็นเสาธงอลังการอันเป็นแฟชั่นของยุคนั้น เรือกำปั่นใช้ใบลอยละล่องในน้ำสีเข้ม เห็นเสากระโดงเรือใบ เดินสมุทรขนาดใหญ่ ที่ชักใบออกกำลังจอดอยู่ที่ท่า บ้านเรือนไกลลิบ เหมือนบ้านเมืองแปลกๆ ที่ผุดออกมาจากความฝัน
ตอนประสันตาเชิดหนัง เป็นภาพในเมืองมีมหรสพการแสดงหนังใหญ่ กับจอกว้างข้างบนเป็นภาพวิวระยะไกล มีเสาติดธงแดง

จิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๔ มีแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ จิตรกรชอบเขียน ภาพม่านแหวก ให้เห็นเบื้องหลัง สีดำสนิท มีโคมไฟ หรืออัจกลับ เป็นช่อชั้นอลังการ ซึ่งเรา จะเห็นได้ทั่วไป ทุกแห่ง รวมทั้งรูปที่บานประตู ในวิหาร แห่งนี้

ภาพจิตรกรรมที่ประตู ด้านในประตูกลาง เป็นอุบาสกและอุบาสิกกา (นุ่งห่มแบบโบราณ) กำลังประนมมือ ชูดอกไม้บูชาพระรัตนตรัย
ที่หน้าต่างด้านในตอนบน เป็นรูปภาพ รูปม่านแหวกหน้าต่าง สวยงามเช่นกัน และมีพวงมาลัยห้อยลงมา สวยงามยิ่ง มีศิลปะเช่นเดียวกับที่ประตู แต่ที่หน้าต่างตอนล่างทุกบาน จัดเป็นโต๊ะหมู่บูชา กับพุ่มดอกไม้ สีสวยงดงาม น่าดูมาก เหมือนจะเขียนไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ดูเป็นตัวอย่างแห่งศิลปะ ในการจัดพุ่มดอกไม้ของไทย แสดงให้เห็นถึง ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยแต่โบราณ ในด้านนี้อย่างน่าชมยิ่ง

ภาพจิตรกรรมที่หน้าต่างด้านในพระวิหารภายในวัดโสมนัสราชวรวิหาร

จิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง "อิเหนา" ในพระวิหาร วัดโสมนัสฯ

จิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง "อิเหนา" ในพระวิหาร วัดโสมนัสฯ

3.จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดสุทัศน์

     วัดสุทัศนเทพวราราม สร้างขึ้นระหว่าง ปี พ.ศ. 2350-2351 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” ต่อมาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของ พระศรีศากยมุนี หรือ พระโต พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์พระร่วงของยุคสุโขทัยที่อัญเชิญมาจาก พระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย      ทว่า พระวิหารยังไม่ทันสร้างเสร็จก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ผู้คนจึงเรียกวัดแห่งนี้ด้วยนามที่เรียบง่ายว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือ วัดเสาชิงช้า
     หลังสิ้นรัชกาลที่ 1 วัดแห่งนี้ก็ได้มีการสร้างต่อเติมเรื่อยมาจนกระทั่งแล้วเสร็จในสมัย           พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และทรงโปรดให้สร้างพระอุโบสถศาลาการเปรียญ  สัตตมหาสถาน และกุฏิสำนักสงฆ์เพื่อประดิษฐานสังฆาราม หลังจากนั้นก็ได้พระราชทานนามให้ใหม่เป็นวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร จนถึงปัจจุบัน
จิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์ จิตรกรรมชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร หรือที่เรียกกันว่า วัดสุทัศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานครพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่ 8 มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ถือว่าเป็นจิตรกรรมฝาผนังชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
        ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดสุทัศน์เทพวรารามปรากฏอยู่ในพระอุโบสถและพระวิหาร สันนิษฐานว่า เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 จนเสร็จสมบูรณ์ แต่ต่อมาเกิดการชำรุดจึงเขียนซ่อมในสมัยรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 โดยพิจารณาจากเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมบางภาพมีลักษณะผิดแผกไปจากสมัย รัชกาลที่ 3 และจากจดหมายเหตุต่าง ๆ เรื่องราวที่เขียนภายในพระอุโบสถเป็นเรื่องปัจเจกพุทธและพุทธประวัติ ส่วนเรื่องราวที่เขียนในพระวิหารเป็นเรื่องอดีตพุทธและไตรปิฎกภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธาน คือ “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” เป็นพระปางมารวิชัยที่หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และถวายพระนามโดยรัชกาลที่ 4 เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 10 ศอก 8 นิ้ว ประดิษฐานบนฐานชุกชีสูงเบื้องหน้าพระพุทธตรีโลกเชฏฐ์ประดิษฐานพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นแทนพระศรีศาสดาที่อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดบวรนิเวศวรวิหาร สร้างด้วยปูนปั้นลงสีนั่งพนมมือเหมือนกำลังฟังพระบรมโอวาทจากพระพุทธองค์ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เฉพาะที่บานแผละของหน้าต่างพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ทั้ง 26 บาน เขียนภาพเกี่ยวกับวรรณคดีไทย รวม 13 เรื่อง ส่วนที่บานแผละของประตูทั้ง 4 บาน เขียนเรื่องรามเกียรติ์ เรื่องราวที่เขียนเลือกเอาเฉพาะเหตุการณ์ตอนเด่นๆ ของแต่ละเรื่องมานำเสนอเรียงลำดับกันไปตาม ท้องเรื่อง เป็นผลงานของจิตรกรสมัยรัชกาลที่ 3 และส่วนใหญ่อยุ่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ภาพจิตกรรมที่มีการสอดแทรกเรื่องราวของประวัติศาสตร์วิถีชีวีจของคนในอดีต ซึ่งงานจิตกรรมในวัดสุทัศน์มีภาพวาดจิตรกรรรมที่มีความหลากหลาย และมีความค่อยข้างสมบูรณ์

ภาพสัตว์หิมพานต์ที่อยู่ในกรอบกระจกเหนือประตูหน้าต่างภายในพระวิหารหลวง ภายในพระวิหารวัดสุทัศน์

ภาพสัตว์หิมพานต์ที่อยู่ในกรอบกระจกเหนือประตูหน้าต่างภายในพระวิหารหลวงได้รับอิทธิพลจากเรื่อง ไตรภูมิพระร่วงและอาจได้รับอิทธิพลจากไตรภูมิโลกวินิจฉัย ซึ่งจิตรกรได้นำคติและแนวคิดต่าง ๆ จากเรื่องดังกล่าวมาผสมกับจินตนาการของตน แล้วผูกเขียนขึ้นเป็นภาพสัตว์หิมพานต์ที่มีความสวยงามและผิดแปลกไปจากสัตว์ธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ภาพสัตว์หิมพานต์เหล่านี้ยังได้รับอิทธิพลจากเรื่องรามเกียรติ์และอิทธิพลจากศิลปกรรมจีน ซึ่งปรากฎในลักษณะรูปแบบของสัตว์หิมพานต์ เช่น อสูรวายุภักษ์ กิเลน เป็นต้น

สามารถสแกนชม AR ภานในเว็บไซต์ หรือจิตรกรรมภายในสถานที่ทางประวัติศาสตร์

4.จิตรกรรมฝาผนังแบบตะวันตกวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร

วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาจาก วัดสมอราย ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1-3 จนถึงในสมัยรัชกาล   ที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร”
“วัดราชาธิวาสวิหาร” มีความหมายว่า “วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา” เพราะเป็นวัดแรกที่เป็นที่ประทับจำพรรษาของพระภิกษุเจ้าฟ้าแห่งราชวงศ์จักรี นั่นคือ ในหลวงรัชกาลที่ 2  อีกทั้งยังเป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ ธรรมยุติกนิกาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 ครั้งที่ท่านยังเป็นเจ้าฟ้ามงกุฏ ทรงผนวชและจำพรรษา ณ วัดนี้อีกด้วย
 
ความสวยงามโดดเด่นของวัดราชาธิวาสวิหารคือ พระอุโบสถ ซึ่งเป็นทรงขอมคล้ายนครวัด ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ แต่ก็ยังคงรักษาโครงสร้างของพระอุโบสถเดิมที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ หน้าบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนที่ด้านหน้า          งดงามมากๆภายในพระอุโบสถ มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระประธาน มีเศวตฉัตร 9 ชั้น ซึ่ง ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงหล่อพระราชทาน เบื้องบนพระประธานเป็นภาพพระพุทธเจ้าอยู่เหนือเมฆกำลังตอบปัญหาของพระสารีบุตรและพระอินทร์ ที่ใกล้พระประธานมีรูปศากยกษัตริย์พระประยูรญาติมาเฝ้าอยู่เบื้องหลัง

ภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบตะวันตก

            สิ่งที่ทำให้ผู้ที่แวะมาเยือนวัดนี้ประทับใจและตื่นตามากที่สุดก็คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดกทั้ง 13 กัณฑ์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็น  ผู้ร่างภาพ และ ศ.ซี.ริโกลี (C.Rigoli) จิตรกรชาวอิตาเลียน (ท่านเดียวกับ ที่เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม) ด้วยเทคนิคการใช้สีปูนเปียก (Fresco)เนื่องด้วยฝีมือ และเทคนิคที่ใช้วาดเป็นแบบฝรั่งจึงทำให้ภาพเขียนมีความแปลกตากว่าที่อื่น คือ รูปร่างของบุคคลจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ มองเห็นสัดส่วนกล้ามเนื้อชัดเจน ท่าทางและการแสดงออกถูกต้องตามหลักกายวิภาค รวมไปถึงการวาดให้มีแสงเงาชัดเจน เก็บรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างความพลิ้วไหวของเสื้อผ้า ทำให้ภาพดูมีมิติสมจริงเทคนิควาดภาพแบบสีปูนเปียกยังมีข้อดีอยู่ที่ความคงทนยาวนาน แต่เมื่อลงมือเขียนแล้วจะไม่สามารถลบหรือแก้ไขได้ ดังนั้นจิตรกรผู้วาดจะต้องมีความสามารถเป็นอย่างมาก
นอกจากนั้นในพระอุโบสถนี้มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ทั้ง 3 ด้าน รวม 13 กัณฑ์ ที่แปลกตาอย่างยิ่งคือหน้าตาตัวละครทุกตัวคล้ายฝรั่ง ต่างกับความคุ้นเคยของคนไทยที่เห็นภาพเขียนมหาเวสสันดรชาดก หน้าตาคล้ายคนไทย เช่น ภาพเขียนฝีมือปรมาจารย์ เหม เวชกร ที่พิมพ์แพร่หลาย และภาพเขียนผนังอุโบสถตามวัดต่างๆการที่ภาพเขียนเรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่วัดนี้ มีหน้าตาออกไปทางฝรั่ง หรือค่อนไปทางแขก เป็นเพราะจิตรกรผู้เขียนเป็นชาวอิตาลี ชื่อศาสตราจารย์คาร์โล    ริโกลี (Carlo Rigoli) ที่เขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 นั่นเองจิตรกรคาร์โล    ริโกลี เป็นจิตรกรผู้หนึ่งที่เขียนภาพที่โดมในพระที่นั่งอนันตสมาคมร่วมกับศาสตราจารย์แกลิเลโอ กินี ซึ่งเป็นชาวอิตาลีเหมือนกัน
ภาพตัวละครมหาเวสสันดรชาดกในความคิดของศาสตราจารย์ริโกลี ที่เขียนออกมานั้น มีสรีระร่างกายเข้มแข็ง บึกบึน ไม่เว้นแม้แต่อัจจุตฤาษี  และชูชก ภาพเหล่านี้นอกจากออกไปทางฝรั่งแล้ว ยังเป็นที่แปลกตาของชาวไทย ที่คุ้นเคยกับสรีระตัวละครที่อ้อนแอ้น โดยเฉพาะคู่พระคู่นาง     ส่วนฤาษีจะมีร่างกายผอม ชูชกจะเป็นชายหง่อม ซูบซีดเพราะยากจน ร่างกายไม่น่าดูเพราะมีบุรุษโทษ 18 ประการ เช่น เท้าทั้งสองใหญ่และคด เล็บทั้งหมดคด ปลีน่องทู่ยานลงภายใต้ริมฝีปากบนยาวปิดรับริมฝีปากล่าง และน้ำลายไหลออกเป็นยางยืด เป็นต้น
ตำหนักพญาไท มหาเวสสันดรชาดกเป็นชาดกสำคัญกว่าเรื่องอื่นๆ ในบรรดาทศชาติชาดก จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ามหาชาติ และวัดต่างๆ จะนิยมจัดเทศน์มหาชาติ ซึ่งมี 13 กัณฑ์ในพรรษาความย่อๆ มหาเวสสันดร มีว่า พระโพธิสัตว์ทรงอุบัติขึ้นในเมืองสีพี เป็นโอรสพระเจ้ากรุงสญชัยและพระนางผุสดี มีชื่อที่ประชาชนตั้งให้ว่าเวสสันดร การที่มีชื่อว่าเวสสันดร เพราะมีประสูติการที่ตรอกพ่อค้าพระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเวสสันดร อันเป็นชาติสุดท้ายเพื่อบำเพ็ญทานบารมีอันเป็นบารมีที่ 10 ที่ยิ่งยวดที่คนธรรมดาสามัญ หรือคนไม่สะสมบารมีมาก่อนทำไม่ได้ เช่น การบริจาคช้างปัจจัยนาค ที่เป็นช้างคู่พระบารมีให้แก่พราหมณ์ 8 คน ที่มาจากเมืองกลิงคราษฎร์ เป็นเหตุให้ชาวเมืองสีพีโกรธแค้น จึงขับไล่พระเจ้ากรุงสญชัย พระราชบิดา จึงเนรเทศพระเวสสันดรออกจากเมืองตามที่ชาวเมืองต้องการ
         แม้นางผุสดีจะคัดค้านก็ไม่เป็นผลเมื่อออกจากเมืองเข้าป่าพร้อมพระนางมัทรี ผู้เป็นมเหสี เจ้าหญิงกัณหา-เจ้าชายชาลี พระธิดาและโอรส  ไปบำเพ็ญพรตเป็นฤาษีที่เขาวงกต ก็มีโอกาสบำเพ็ญทานบารมียิ่งยวด เมื่อได้พระราชทานพระธิดากัณหาและโอรสชาลีให้เป็นทาสรับใช้ชูชก การให้ครั้งนี้ถือว่าเป็นมหาทานบารมีหากท่านต้องการชื่นชมฝีมือจิตรกร หรือศิลปินชั้นครู ต้องไปวัดราชาธิวาสวิหาร ที่ตั้งอยู่ถนนสามเสน ใกล้กับ    ท่าวาสุกรี ไปดูและศึกษาจนทั่วจะเข้าใจคำว่าราชาธิวาสยิ่งขึ้น เพราะบริเวณวัดมีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างที่เนื่องด้วยพระบรมราชวงศ์ เช่น ที่คณะใต้ มีพระตำหนักเก่าของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีอายุประมาณ 150 ปี พระตำหนักสมเด็จพระพันปีหลวง หรือพระตำหนักพญาไท ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 หากเดินไปท่าน้ำจะเห็นศาลาไม้สักทองที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น   ว่ากันว่าใหญ่และสวยงามที่สุดในเอเชีย เสาประธานศาลาแห่งนี้ใหญ่ขนาดคนโอบไม่รอบ แต่ละต้นมีชื่อตัวละครเอกเรื่องขุนช้างขุนแผนประจำทุกต้น บริเวณกุฏิที่พักสงฆ์ล้วนแต่ได้รับพระราชทานการก่อสร้าง รวมทั้งศาลาโบสถ์แพที่ใช้เป็นอุทกุกเขปสีมาเพื่ออุปสมบทพระคณะธรรมยุตในยุคแรก  ก็ประดิษฐานอยู่ในบริเวณที่พักพระสงฆ์แม้นางผุสดีจะคัดค้านก็ไม่เป็นผลเมื่อออกจากเมืองเข้าป่าพร้อมพระนางมัทรี ผู้เป็นมเหสี เจ้าหญิง        กัณหา-เจ้าชายชาลี พระธิดาและโอรส ไปบำเพ็ญพรตเป็นฤาษีที่เขาวงกต ก็มีโอกาสบำเพ็ญทานบารมียิ่งยวด เมื่อได้พระราชทานพระธิดากัณหาและโอรสชาลีให้เป็นทาสรับใช้ชูชก การให้ครั้งนี้ถือว่าเป็นมหาทานบารมีหากท่านต้องการชื่นชมฝีมือจิตรกร หรือศิลปินชั้นครู ต้องไปวัดราชาธิวาสวิหาร   ที่ตั้งอยู่ถนนสามเสน ใกล้กับท่าวาสุกรี ไปดูและศึกษาจนทั่วจะเข้าใจคำว่าราชาธิวาสยิ่งขึ้น เพราะบริเวณวัดมีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างที่เนื่องด้วยพระบรมราชวงศ์ เช่น ที่คณะใต้ มีพระตำหนักเก่าของพระบาทสมเด็จ-พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีอายุประมาณ 150 ปี พระตำหนักสมเด็จพระพันปีหลวง หรือพระตำหนักพญาไท ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 5 หากเดินไปท่าน้ำจะเห็นศาลาไม้สักทองที่รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ว่ากันว่าใหญ่และสวยงามที่สุด   ในเอเชีย เสาประธานศาลาแห่งนี้ใหญ่ขนาดคนโอบไม่รอบ แต่ละต้นมีชื่อ ตัวละครเอกเรื่องขุนช้างขุนแผนประจำทุกต้น บริเวณกุฏิที่พักสงฆ์ล้วนแต่ได้รับพระราชทานการก่อสร้าง รวมทั้งศาลาโบสถ์แพที่ใช้เป็นอุทกุกเขปสีมาเพื่ออุปสมบทพระคณะธรรมยุตในยุคแรก  ก็ประดิษฐานอยู่ในบริเวณที่พักพระสงฆ์

จิตรกรรมฝาผนังแบบตะวันตกวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร

ภาพพระเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 2 หิมพานต์ พระเวสสันดรพระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ช้างคู่บ้านคู่เมืองแก่พราหมณ์ต่างเมืองที่มาทูลขอ

Add Your Heading Text Hereจิตรกรรมฝาผนังแบบตะวันตกวัดราชาธิวาสราชวรวิหาร

3D

ระบบภาพ AR รูปแบบ 3 มิติ

ภายในแอปพลิเคชั่นพระสนครสตอรี่

ระบบภาพ AR ในรูปแบบ 3 มิติเหมาะสำหรับสถานที่หรือเนื้อหาที่ภายนอกพื้นที่ (out door) อาทิ สถาปัตยกรรมสถานที่ท่องเที่ยวประวัติศาสตร์,ประติมากรรมอนุสาวรีย์,แม่น้ำ,คลองเป็นต้นโดยการจัดทำเนื้อหาและเสนอแนวความคิดในการจัดผลิตสื่อ AR ผ่านประวัติศาสตร์ของเรื่องราวดังต่อไปนี้

คลองคูเมืองเดิม
5 คลองสำคัญ

สะพาน
แห่งประวัติศาสตร์

เสาชิงช้า
วัดสุทัศน์

กำแพงเมือง และป้อมปราการเขตพระนคร

วัดราชบพิธ
สถิตมหาสีมาราม

วังท่าพระ

สวนสราญรมย์

ท่าน้ำแห่งพระนคร

ถนนในอดีตของเขตพระนคร

อนุสาวรีย์สำคัญในเขตพระนคร

1. คลองคูเมืองเดิม 5 คลองสำคัญ

เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลคลองคูเมืองเดิม 5 คลองสำคัญ
และสามารถชม AR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

  • 1.1 คลองคูเมืองเดิม

    เป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นใน (ชั้นแรก) ของเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นคูเมืองที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี หลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายราชธานีไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดคูเมืองขึ้นใหม่ ส่วนคลองคูเมืองเดิมได้กลายสภาพเป็นเส้นทางคมนาคมของประชาชนในพระนครแทนปัจจุบันมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ที่ดำรงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติไทย พิพิธภัณฑ์ที่สะสมเรื่องราวอันน่าสนใจตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน  ซึ่งแฝงด้วยสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่  สถาปัตยกรรมของอาคาร สถานที่รอบริมคลอง สวยงามตื่นตาตื่นใจ สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยว อย่างแน่นอน
    1.1 คลองคูเมืองเดิม
  • 1.2 คลองหลอดวัดราชนัดดา

    คลองหลอดวัดราชนัดดาคลองหลอด เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร เชื่อมคลองคูเมืองเดิม ออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุง มี 2 คลอง เรียกกันตามลักษณะของคลองว่า “คลองหลอด”คลองหลอดวัดราชนัดดา เริ่มจากคลองคูเมืองเดิม บริเวณโรงแรมรัตนโกสินทร์ กับวัดบุรณศิริมาตยาราม ผ่านถนนตะนาว วัดมหรรณพาราม ถนนดินสอ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วัดราชนัดดาราม และถนนมหาไชย ไปบรรจบกับคลองรอบกรุงตรงบริเวณวัดราชนัดดาราม คลองนี้เดิมเรียกชื่อ “คลองหลอด” ไม่มีชื่อเฉพาะ แต่ต่อมาเรียกกันตามจุดที่ผ่าน เช่นเรียกว่า “คลองบุรณศิริฯ” “คลองวัดมหรรณพ์” “คลองวัดราชนัดดา” และ “คลองวัดเทพธิดา
    1.2 คลองหลอดวัดราชนัดดา
  • 1.3 คลองหลอดวัดราชบพิธ

    คลองหลอดวัดราชบพิธ เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมตรงวัดราชบพิธ ผ่านถนนราชบพิธ ถนนดินสอ ถนนมหาไชย บรรจบคลองรอบกรุง ตอนเหนือสะพานดำรงสถิต คลองนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คลองสะพานถ่าน” แต่เรียกเป็นทางการว่า “คลองวัดราชบพิธ”
    คลองหลอดทั้ง 2 คลอง "หลอดวัดราชนัดดา" และ "หลอดวัดราชบพิธ" ขุดตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ให้ขุดคลองรอบกรุง แล้วโปรดฯ ให้ขุด "คลองหลอด" ขึ้น 2 คลอง
    ส่วนคลองหลอดตอนล่างสุดตั้งแต่ข้างวัดราชบพิธ  ขุดตรงลิ่วไปออกคลองรอบกรุง ข้าง ๆ สวนรมณียนาถในปัจจุบัน และเพราะมีท่าซื้อขายถ่านอยู่ท่าหนึ่ง สะพานข้ามคลองแถบนั้น จึงเรียกกันว่าสะพานถ่าน ต่อมาเป็นชุมชนของผู้หญิง ซึ่งสมัยโน้นเรียกกันว่า โสเภณี เป็นที่รู้จักกันในหมู่บุรุษสมัยกระโน้น)
    คลองหลอดทั้ง 2 คลองตั้งแต่สมัยแรกขุดจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นคลองกว้างขวาง จึงใช้เป็นคลองสัญจรไปมา นอกจากชักน้ำเมื่อปี พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เรียกชื่อคลองทั้งสองนี้ว่า "คลองหลอดวัดราชนัดดาราม" และ "คลองหลอดวัดราชบพิธ"
    1.3 คลองหลอดวัดราชบพิธ
  • 1.4 คลองโอ่งอ่าง

    คลองโอ่งอ่าง เป็นช่วงหนึ่งของคลองรอบกรุง มีขอบเขตจากปากคลองมหานาคไปถึงปากคลองซึ่งหันออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางตอนใต้ ข้าง ๆ กับสะพานพระพุทธยอดฟ้า มีระยะทางรวมประมาณ 750 เมตร คลองโอ่งอ่างทำหน้าที่เป็นเส้นแบ่งเขตปกครองระหว่างเขตพระนครกับเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานครในอดีตคลองโอ่งอ่าง เป็นช่วงคลองสัญจรที่สำคัญของฝั่งพระนคร ประกอบด้วยชุมชนตลอดช่วงสองฝั่งริมคลอง และถือเป็นแหล่งขายเครื่องปั้นดินเผาของชาวจีนและมอญที่สำคัญเมือง จึงเป็นข้อสันนิษฐานของชื่อคลองโอ่งอ่างในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการสร้างสะพานหันที่ถอดรูปแบบสะพานริอัลโต เมืองเวนิซ ประเทศอิตาลีซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญในยุคนั้น จนเมื่อเมืองได้ขยายตัวมากขึ้น ความสำคัญของคลองก็ได้ลดลง การสัญจรส่วนใหญ่เปลี่ยนรูปแบบไปใช้บนถนน ทำให้เกิดชุมชนแออัดโดยรอบคลองและแปรเปลี่ยนสภาพเป็นคลองระบายน้ำทิ้ง โดยเฉพาะในทางทิศเหนือของสะพานภาณุพันธุ์ไปจรดสะพานพีพัฒนภาค ที่มีการวางหลังคาสังกะสีปิดผิวคลองทั้งหมด
    ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร โดยมติของรัฐบาลได้ทำการรื้อถอนอาคารร้านค้าต่าง ๆ บริเวณริมคลองโอ่งอ่างที่ถูกบดบังทัศนียภาพมานานกว่า 40 ปี เพื่อทำการปรับภูมิทัศน์ให้เป็นถนนคนเดิน และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ
    1.4 คลองโอ่งอ่าง
  • 1.5 คลองผดุงกรุงเกษม

    ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวัง และขยายอาณาเขตพระนครให้กว้างออกไปนั้น ต่อมาใน พ.ศ. 2326 ตรงกับปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1144 พระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองคูเมืองเดิม โดยเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือที่ตำบลบางลำพู ผ่านวัดบวรนิเวศวิหาร, วัดเทพธิดาราม วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร, วังบูรพาภิรมย์ ไปออกแม่น้ำเจ้าพระยาตอนใต้ เหนือวัดสามเลียบแนวคลองด้านใน ตลอดทั้งคลอง ประตูเมืองและป้อมปราการเว้นระยะห่างกันเป็นช่วง ๆ  เป็นคลองคูเมืองชั้นนอก เมื่อขุดคลองแล้วพื้นที่เมืองจึงกลายเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบ 
    คลองรอบกรุงนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปหลายชื่อ ส่วนที่เริ่มตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาตรงวัดสังเวชวิทยารามจนถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศตรงช่วงปากคลองมหานาคนิยมเรียกว่า "คลองบางลำพู" เมื่อผ่านสะพานหันเรียก "คลองสะพานหัน" เมื่อผ่านวัดเชิงเลนเรียก "คลองวัดเชิงเลน" และช่วงสุดท้ายก่อนบรรจบแม่น้ำเจ้าพระยาเรียก "คลองโอ่งอ่าง" เพราะเคยเป็นแหล่งค้าขายเครื่องดินเผาของชาวมอญและชาวจีน ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็มีการเรียกชื่อคลองโอ่งอ่างกับคลองบางลำพูแล้ว เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองนี้ให้ถูกต้องว่า "คลองรอบกรุง" ตลอดทั้งสาย
    1.5 คลองผดุงกรุงเกษม

    2.สะพานแห่งประวัติศาสตร์

    เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลสะพานแห่งประวัติศาสตร์หัวใจพระนคร
    และสามารถชม AR ได้โดยการคลิกเล่นวีดีทัศน์ตรงกลางเฟรม

    • 2.1 สะพานผ่านพิภพลีลา

      หากขับรถผ่านโดยไม่สังเกตให้ดีจะไม่ทราบเลยว่าขับผ่านสะพาน สะพานที่ไม่เหมือนสะพานแห่งนี้ เหตุเพราะสะพานแทบไม่มีความโค้งชัน แบนราบเรียบไปกับถนน และเหลือฝั่งคลองคูเมืองเดิมให้เห็นเพียงด้านเดียว เพราะเมืองที่พัฒนาขึ้นทำให้เกิดการสร้างถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้ามาทับถมคลองอีกด้าน เดิมตัวสะพานใช้วัสดุทำจากโครงเหล็ก แต่เพื่อให้รับกับถนนราชดำเนินที่สร้างขยายใหม่ใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ้นใหม่ แข็งแรงและกว้างขวางกว่าเดิมเพื่อความสะดวกในการสัญจร ซึ่งสะพานนี้เปรียบเสมือนทางเข้าออก
      2.1 สะพานผ่านพิภพลีลา
    • 2.2 สะพานช้างโรงสี

      สะพานช้างโรงสีมีรูปปั้นหน้าสุนัขที่เสาหัวโค้งต้นสะพาน อยู่บริเวณถนนบำรุงเมือง เยื้องๆ กระทรวงกลาโหม ที่มาของชื่อสะพานมาจากสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สะพานตั้งอยู่ใกล้กับโรงสีข้าวหลวงในขณะนั้น และถูกสร้างเพื่อใช้เป็นทางให้ช้างสัญจรขนของ จึงถูกเรียกว่าสะพานช้างโรงสี
      2.2 สะพานช้างโรงสี
    • 2.3 สะพานหก

      สะพานยกแบบฮอลันดาหก หมายถึง สิ่งใดสิ่งหนึ่งเทลง หรือเอียงลง สะพานหกจึงมีชื่อ สะพานยกแบบฮอลันดา    อย่างตรงไปตรงมา จากการเป็นสะพานที่สร้างให้มีฟังก์ชันยกหกขึ้นหกลงให้เรือที่แล่นในลำคลองผ่านได้ และยังถูกสร้างถึง 6 สะพาน ทั้งในฝั่งธนบุรีและพระนครบ้างรู้จักกันในชื่อ สะพานหกแบบวิลันดา เพราะมีรูปแบบการสร้างตามอย่างสะพานฮอลันดา นิยมกันมากในปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บัดนี้สะพานเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จากสะพานไม้เก่าเพื่อให้เรือแล่นผ่าน ได้ถูกเสริมเหล็กเพื่อเดินรถราง และค่อยๆ ถูกรื้อฟื้นสร้างขึ้นใหม่อยู่หลายครั้งหลายคราโดยพยายามคงรูปเดิมไว้ จนกระทั่งให้คนเดินในปัจจุบัน
      2.3 สะพานหก
    • 2.4 สะพานอุบลรัตน์

      สะพานหัวจระเข้ สะพานข้ามคลองที่ในอดีตรู้จักกันในชื่อ สะพานหัวจระเข้ สะพานหัวจระเข้  สันนิษฐานว่าอาจมาจากราวสะพานที่เดิมทำเป็นรูปจระเข้ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กโค้งครึ่งวงกลมสวยงาม ประกอบด้วยลูกกรงลวดลายสลักแบบไทยๆ หากลองสังเกตดีๆ กลางสะพานมีลายดอกบัวในกรอบสี่เหลี่ยมประดับอยู่ด้วย
      2.4 สะพานอุบลรัตน์
    • 2.5 สะพานมหาดไทยอุทิศ

      สะพานร้องไห้ มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นมรดกอันล้ำค่า ณ ช่วงเวลาความอาลัยจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงหมายมั่นมีพระราชประสงค์จะสร้างสะพานเชื่อมถนนฝั่งวัดสระเกศราวรมหาวิหารกับถนนฝั่งราชดำเนิน เพื่อเป็นเส้นทางให้ประชาชนได้สัญจรไปมาอย่างสะดวก แต่สวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงร่วมกับกระทรวงมหาดไทยสร้างสะพานจนสำเร็จ เป็นสะพานคอนกรีตที่มีกลิ่นอายสถาปัตยกรรมตะวันตกชัดเจน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5ที่มาที่ไปของฉายาสะพานร้องไห้มาจากปูนปั้นกลางสะพานซึ่งเป็นประติมากรรมนูนต่ำรูปชายยืนจับไหล่เด็กและหญิงอุ้มเด็กด้วยท่าทางเศร้าหมอง ขณะที่ด้านบนมีสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 5 ประดับอยู่ เพื่อสื่อถึงความโศกเศร้าของประชาชนที่เคารพและอาลัยแด่กษัตริย์ผู้จากไปผ่านประติมากรรมนี้  สะพานนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นมรดกอันล้ำค่าที่ผ่านการบูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุง อยู่หลายครั้งตามโครงสร้างเดิม ที่เด่นชัดคือการปั้นกางเกงในเด็กชายขึ้นใหม่ หากผ่านไปย่านผ่านฟ้า ป้อมมหากาฬ ก็ลองไปเดินสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้
      2.5 สะพานมหาดไทยอุทิศ
    • 2.6 สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

      สะพานผสมผสานศิลปะไทยให้เข้ากับยุโรปเดิมสะพานมีเพียงโครงเหล็ก แต่เมื่อเริ่มสร้างถนนราชดำเนินขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เกิดสะพานเชื่อมต่อถนนราชดำเนินในกับราชดำเนินนอกขึ้นเช่นกัน เป็นสะพานระยะสั้นที่อยู่ใกล้หนึ่งในกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่อย่างป้อมมหากาฬสะพานที่ผสมผสานทั้งเหล็กและหินอ่อนเข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงผสมผสานศิลปะไทยให้เข้ากับยุโรป โดยมีเชิงสะพานเป็นเสาหินอ่อนสูงประดับรูปหัวแกะไว้ แถมที่ตัวเสายังมีสีดำของสำริดเป็นลวดลายเรือไวกิ้งสุดประณีตอยู่ด้วย หัวเสาเป็นสำริดรูปหล่อพวงมาลา พื้นของสะพานจะเป็นหินอ่อนโค้งลาดลงสู่ถนนซึ่งต่างจากที่อื่นๆ ที่มักเป็นคอนกรีตเสียมากกว่า ส่วนราวสะพานนั้นกลับเป็นลูกกรงที่สลักลวดลายดอกทานตะวันและใบไม้เพราะเป็นสะพานที่ใช้มีการสัญจรผ่านไปมา และเป็นทางแยกตัดผ่านของถนนหลายสาย จึงถูกปรับขยายผิวสะพานให้กว้างขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังคงความงามของศิลปกรรมสมัยโบราณไว้ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
      2.6 สะพานผ่านฟ้าลีลาศ
    • 2.7 สะพานปีกุน

      สะพานนี้ไม่มีชื่อ เพราะเป็นเพียงสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กเล็กๆ สะพานหมูแสนสง่า จึงไม่ได้รับพระราชทานชื่อ แต่ได้ชื่อมาเพียงเพราะอยู่ใกล้กับอนุสาวรีย์หมูตรงเชิงสะพาน จึงถูกเรียกสะพานหมูหรือสะพานปีกุนไปโดยปริยาย และสะพานก็ถูกสร้างขึ้นในปีกุนพอดิบพอดีสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานนี้ขึ้นในโอกาสเจริญพระชนมายุ 4 รอบ การออกแบบในอดีตนั้นเน้นรายละเอียดได้ดี เพราะเชิงสะพานมีเสาคอนกรีตเซาะร่องทั้งสองฝั่ง รวม 4 ต้น ซึ่งหมายถึงเทียนประทีปพระชันษา หัวเสาสลักรูปถ้วยประดับช่อมาลา มีวงรูปไข่ 4 วงทุกเสา หมายถึงรอบปี ซ่อนความหมายของผู้สร้างได้อย่างดี
      2.7 สะพานปีกุน
    • 2.8 สะพานมัฆวานรังสรรค์

      เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมถนน ราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตพระนคร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ลักษณะ ตัวสะพานเป็นตัวคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานสองข้างเป็นเหล็กหล่อที่มีลวดลายละเอียดงดงามมาก กึ่งกลางราวสะพานด้านนอกมีแผ่นโลหะกลมหล่อเป็นรูปช้างเอราวัณ ๓ เศียร ซึ่งเป็นเทพพาหนะของท้าวมัฆวาน เหนือแผ่นโลหะนี้เป็นเสาโคมไฟโลหะขนาดเล็ก ปลายสุดของราวสะพานทั้งสองฝั่งเป็นเสาหินอ่อน มีโคมไฟโลหะอยู่บนยอด ที่บริเวณหัวเสาประดับด้วยลายเฟื่องอุบะโลหะ เครื่องประดับบางชิ้นเป็นโลหะกะไหล่ทอง มีจารึกนามสะพานอยู่ที่กลางเสาหินอ่อน ปลายสะพานทั้งสี่ต้นนี้ ถัดจากเสานี้ไปเป็นพนักเชิงลาดของสะพานซึ่งประดับด้วยหินอ่อน ที่คานด้านข้างสะพานทั้งสองข้าง มีลวดลายประดับเช่นกัน
      2.8 สะพานมัฆวานรังสรรค์
    • 2.9 สะพานฮงอุทิศ

      สะพานปูนขนาดเล็กสีเหลืองนวล มีลูกกรงเหล็กดัดรูปดอกบัวสีเขียวเรียบง่าย ที่พาดผ่านคลองบางลำพู เป็นสะพานที่สร้างโดย พระอนุวัตน์ราชนิยม หรือที่รู้จักกันในนาม ยี่กอฮง นายอากรหวยคนสุดท้ายในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยเรามาเนิ่นนาน เมื่อมาเยือนสะพานแห่งนี้ เราสัมผัสกลิ่นอายของวิถีชีวิตริมคลองเช่นเดียวกับในอดีตได้ ทิวทัศน์สองฝั่งคลองยังคงความเป็นชุมชนดั้งเดิมไว้ น้ำคลองก็สะอาด หรือจะลองนั่งเรือท่องเที่ยวเส้นทางประตูน้ำ-บางลำพูที่อยู่บริเวณตีนสะพานก็น่าสนใจเหมือนกันที่อยู่ : ซอยสามเสน 1 แขวงวัดสามพระยา
      2.9 สะพานฮงอุทิศ

      3. เสาชิงช้า วัดสุทัศน์

      เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลเสาชิงช้า วัดสุทัศน์
      และสามารถชม AR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

      • สถาปัตยกรรมเสาชิงช้า

        เสาชิงช้า เป็น สถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร
        สถาปัตยกรรมเสาชิงช้า
      • ลักษณะเสาชิงช้า

        เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
        ลักษณะเสาชิงช้า
      • กรมศิลปากร

        กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ222ปี
        กรมศิลปากร

        4.กำแพงเมืองและป้อมปราการเขตพระนคร

        เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลกำแพงเมืองและป้อมปราการเขตพระนคร
        และสามารถชม AR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

        • 2 แห่งกำแพงประตูเมือง

          กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬกำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม ประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3 ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ ในปัจจุบัน มีแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องย้ายชุมชนหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ชาวชุมชนเป็นผู้ดแล
          2 แห่งกำแพงประตูเมือง
        • 4.1 ป้อมพระสุเมรุ

          ป้อมพระสุเมรุ เป็นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ในสมัยนั้นได้มีการสร้างป้อมปราการ 14 แห่งเพื่อป้องกันพระนคร แต่เมื่อเวลาผ่านไป ป้อมปราการหมดความจำเป็น จึงถูกรื้อถอนไป ป้อมพระสุเมรุเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ อีกป้อมหนึ่งคือป้อมมหากาฬ ชื่อป้อมพระสุเมรุได้นำมาตั้งเป็นชื่อถนนพระสุเมรุป้อมพระสุเมรุ มีลักษณะสวยงามและเป็นประโยชน์ใช้สอยมากมาย มีเชิงเทิน ช่องยิงปืน ห้องเก็บกระสุนดินดำ และอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ แต่ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นธรรมดา จนถึง พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมบูรณะตามรูปแบบเดิมจากภาพถ่ายในสมัยรัชกาลที่ 5 จนแลดูสง่างามเหมือนเดิม และยังปรับปรุงบริเวณโดยรอบให้เป็นสวนสาธารณะอีกด้วย โดยให้ชื่อว่า "สวนสันติชัยปราการ" มีพลับพลา ชื่อว่า "พระที่นั่งสันติชัยปราการ"ชุมชนโดยรอบป้อมพระสุเมรุ คือชุมชนถนนพระอาทิตย์ มีความเข้มแข็งด้านการมีส่วนร่วมสูงเช่นเดียวกับชุมชนป้อมมหากาฬ แต่มีความหลากหลายสูงกว่าในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2326 มีชาวเขมร 10,000 คน มาขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองบางลำภูกับคลองโอ่งอ่าง จนจรดต่อกันเกิดเป็นคลองรอบกรุง
          4.1 ป้อมพระสุเมรุ
        • 4.2ป้อมมหากาฬ

          ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ในปี พ.ศ. 2326 เป็นป้อม 1 ใน 14 ป้อมที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงล้อมรอบ 2 ชั้น เป็นป้อมประจำพระนครด้านตะวันออก ปัจจุบันป้อมมหากาฬเป็น 1 ใน 2 ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานคร อีกป้อมหนึ่งคือป้อมพระสุเมรุ ทางกรุงเทพมหานคร และกรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมป้อมมหากาฬเมื่อคราวพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 และได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนมีสภาพที่เห็นในปัจจุบัน
          4.2ป้อมมหากาฬ

          5.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

          เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
          และสามารถชมAR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

          • วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

            วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาล เมื่อ พ.ศ. 2412 และนับเป็นพระอารามหลวงสุดท้าย ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างตามโบราณราชประเพณีที่มีการสร้างวัดประจำรัชกาล
            วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก อำนวยการก่อสร้างโดย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)
            วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
          • พระอุโบสถ

            พระอุโบสถด้านนอกพระอุโบสถสร้างแบบไทยประเพณี หลังคาประกอบด้วยเครื่องลำยอง คือ ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เสาย่อมุมไม้สิบสอง มีคันทวยและบัวหัวเสา ด้านหน้าทำเป็นมุขลด     พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอุโบสถที่ได้รับการออกแบบโดยผสมผสานรูปแบบศิลปกรรมตะวันออก-ตะวันตก และศิลปกรรมไทยรวมกันจนมีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว กล่าวคือ สถาปัตยกรรมภายนอกเป็นรูปแบบไทยประเพณี ที่ได้รับการออกแบบโดยนายช่างศิลปกรรมชั้นครูแห่งยุค คือพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ ส่วนสถาปัตยกรรมภายใน ได้รับอิทธิพลจากศิลปกรรมตะวันตกที่เป็นที่นิยมในช่วงเวลานั้น มีการตกแต่งด้วยเสาและเพดานโค้งแบบโกธิค รวมทั้งตกแต่งด้วยปูนปั้นลายพรรณพฤกษาผสมผสานกับลายไทย และส่วนที่สำคัญที่สุด คือการนำกระเบื้องเบญจรงค์นำเข้าจากประเทศจีนมาประดับอาคารส่วนต่าง ๆ  โดยลายกระเบื้องนี้เป็นฝีมือออกแบบของพระอาจารย์แดง แห่งวัดหงส์รัตนาราม ซึ่งเขียนลายต้นแบบและส่งไปผลิตที่ประเทศจีน แล้วส่งกลับมาประดับอาคารภายในเขตพุทธาวาส งานออกแบบผสมผสานรูปแบบศิลปกรรมทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือความงามที่เป็นเอกลักษณ์ที่ได้รับการทำนุบำรุงดูแลรักษาอย่างดีมาตลอดร่วม ๑๕๐ ปี"
            พระอุโบสถ

            6.วังท่าพระ

            เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลวังท่าพระ
            และสามารถชมAR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

            • วังท่าพระ

              วังท่าพระ หรือ วังล่าง ตั้งอยู่ข้างพระบรมมหาราชวัง ริมถนนหน้าพระลานทางด้านทิศตะวันตก ใกล้ท่าช้างวังหลวง แต่เดิมวังท่าพระนั้น ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี จากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อพระพุทธรูปมาถึงประตูท่าช้าง ปรากฏว่าอัญเชิญเข้ามาไม่ได้เนื่องจากองค์พระนั้นมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำผ่านเข้ามาได้ จึงจำเป็นต้องรื้อทั้งประตูถอนทั้งกำแพงออก จึงได้เรียกขานอดีตท่าเรือนี้แทนว่าท่าพระ วังที่อยู่ใกล้กันนั้นจึงเรียกตามว่า "วังท่าพระ"
              วังท่าพระ
            • เมื่อแรกเริ่ม วังท่าพระเป็นวังที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพื่อพระราชทานให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนกษัตรานุชิต หรือ "เจ้าฟ้าเหม็น" ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ โดยเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ พระราชชายาของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี
               
            • สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมขุนกษัตรานุชิต เสด็จประทับอยู่ ณ วังแห่งนี้จนสิ้นพระชนม์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประทับของพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม (สมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จประทับจนสิ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงเสด็จเถลิงถวัลย์ครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานวังนี้เป็นที่ประทับของพระราชโอรส 3 พระองค์ คือ
            • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ

              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ มีพระชันษาน้อย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 24 ปีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นราชสกุล "ชุมสาย") เสด็จประทับที่นี่จนสิ้นพระชนม์ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411) เมื่อพระชันษา 53 ปี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา สิ้นพระชนม์ที่วังนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงพระราชทานต่อให้ไปยังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทับที่วังนี้ จนถึง พ.ศ. 2480 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร จึงได้ทรงซื้อที่ดินตรงริมถนนพระรามที่ 4 คลองเตย สร้างตำหนักเป็นที่ประทับตากอากาศ เรียกว่า ตำหนักปลายเนิน แล้วโปรดประทับที่นั่นตลอดพระชนมายุ
              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ
            • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรมนวังท่าพระ

              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลักขณานุคุณ มีพระชันษาน้อย สิ้นพระชนม์เมื่อพระชันษา 24 ปีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรม (ต้นราชสกุล "ชุมสาย") เสด็จประทับที่นี่จนสิ้นพระชนม์ในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2411) เมื่อพระชันษา 53 ปี และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นอดุลยลักษณสมบัติ ทรงกำกับกรมแสงและกรมช่างศิลา สิ้นพระชนม์ที่วังนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์จึงพระราชทานต่อให้ไปยังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทับที่วังนี้ จนถึง พ.ศ. 2480 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร จึงได้ทรงซื้อที่ดินตรงริมถนนพระรามที่ 4 คลองเตย สร้างตำหนักเป็นที่ประทับตากอากาศ เรียกว่า ตำหนักปลายเนิน แล้วโปรดประทับที่นั่นตลอดพระชนมายุ
              พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรมนวังท่าพระ
            • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

              ภายหลังที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เสด็จไปประทับตำหนักปลายเนินแล้ว ทายาทของพระองค์จึงขายวังให้กับทางราชการ และศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สร้างสถานศึกษาสำหรับวิชาศิลปะตามแบบยุโรปขึ้น ได้ใช้วังนี้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ จวบจนปัจจุบัน
              สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
            • ข้างวังท่าพระมี“สวนแก้ว”ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้งแห่งแรกในไทย

              “สวนแก้ว” เป็นหนึ่งในสถานที่อันร่มรื่นที่สำคัญภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ โดยบริเวณสวนแก้วนั้นเป็นจุดเชื่อมจากทางเข้าหลักของมหาวิทยาลัยศิลปากร ผ่านอาคารหอศิลป์ท้องพระโรง ตำหนักกลาง และพระตำหนักพรรณราย ไปสู่อาคารทั้งสี่คณะวิชา ที่ผ่านมาเรามักจะเห็นบุคคลทั่วไปและกลุ่มนักศึกษาได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งวันนี้จะมากล่าวถึงที่มาที่ไปอันสำคัญของสถานที่แห่งนี้
              ข้างวังท่าพระมี“สวนแก้ว”ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะกลางแจ้งแห่งแรกในไทย

              7.สวนสราญรมย์

              เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลสวนสราญรมย์
              และสามารถชมAR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

              • อดีตสวนสราญรมย์

                อดีตเป็นที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์และเป็นสถานที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่จัดงานฤดูหนาวตลอดรัชสมัยของรัชกาลที่ 6  เดิมที่สวนสราญรมย์ หรือ พระราชอุทยานสราญรมย์ เป็นพระราชอุทยานเก่าแก่คู่พระนคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่แล้วเสร็จในสมัยรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สวนได้รับการตกแต่งให้สวยงามโดยนักออกแบบสวน ชาวอังกฤษนามว่าเฮนรี อาลาบาศเตอร์ ซึ่งได้เนรมิตสวนให้ดูทันสมัยตามรูปแบบตะวันตก ในเวลาต่อมาได้กลายเป็นสวนสาธารณะใจกลางกรุงที่มีชื่อเสียง และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ ภายในเป็นที่ตั้งของอนุสาวรย์พระนางเรือล่ม หรือ อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ฯ โดยรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน แห่งความอาลัยรักที่มีต่อพระอัครมเหสี และพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ผู้สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม และจัดสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระนางเคยทรงพระสำราญ เมื่อครั้งมีพระชนม์ชีพ
                อดีตสวนสราญรมย์
              • อนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

                ตัวอนุสาวรีย์ทำจากหินอ่อน ประดับคำจารึกที่แสดงถึงความเศร้าโศกเสียใจจากความสูญเสีย นอกจากนี้ ภายในสวนยังมีศาลาสำหรับนั่งพักผ่อนชมสมวนอีกหลายจุด เช่น ศาลาเรือนกระจก ศาลากระโจมแตร ศาลาแปดเหลี่ยม และศาลาเจ้าแม่ตะเคียนทอง อีกทั้งยังมีน้ำพุพานโลหะ ซึ่งเป็นน้ำพุสไตล์ยุโรป ซึ่งเดิมเคยใช้ตกแต่งพระราชอุทยาน แต่ปัจจุบันกลายเป็นโบราณวัตถุทรงคุณค่า ที่มีอายุนับศตวรรษ ส่วนยามเย็นจะกลายเป็นสถานที่คึกคักไปด้วยผู้คน และกิจกรรมผ่อนคลายต่าง ๆ มากมาย เช่น การแสดงดนตรี (มีทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล) การเต้นแอโรบิก รำกระบี่กระบอง รำมวยจีน โดยเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาสัมผัส และร่วมทำกิจกรรมได้ทุกวัน
                อนุสาวรีย์สมเด็จเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์

                8.ท่าน้ำแห่งพระนคร

                เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลท่าน้ำแห่งพระนคร
                และสามารถชมAR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

                • 8.1 ท่าเตียน

                  ท่าเตียน เป็นท่าเรือและตลาดแห่งหนึ่ง ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนมหาราช ด้านตะวันตกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ "ท่าเตียน" มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก "ฮาเตียน" เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทไธมาศ) เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพหนีภัยสงครามจากเว้ ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวญวนเหล่านี้ได้เรียกชื่อถิ่นฐานนี้ว่าฮาเตียน เนื่องจากมีภูมิทัศน์คล้ายกับฮาเตียนเพื่อคลายความคิดถึงถิ่นฐานตนเอง และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด แต่ทั้งนี้ท่าเตียนปรากฏมาตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นนิราศของหม่อมพิมเสนเรียกว่า "บางจีน" 
                  8.1 ท่าเตียน
                • ตำนานเมืองที่โด่งดังมาก คือ เรื่องของยักษ์เฝ้าประตูวัดสองฟากต่อสู้กัน คือ ยักษ์วัดแจ้ง จากฝั่งธนบุรี ต่อสู้กับ ยักษ์วัดโพธิ์ แห่งฝั่งพระนคร เนื่องจากผิดใจกันเรื่องการขอยืมเงินกัน จนในที่สุดที่บริเวณนี้เหี้ยนเตียนราบเรียบไปหมด  ซึ่งในบางตำนานก็มีการเสริมเติมแต่งเข้าไปอีกว่า ที่ยักษ์ทั้งสองตนนั้นหยุดสู้กันเพราะมีโยคีหรือฤๅษีมาห้าม บ้างก็ว่าเป็นยักษ์วัดพระแก้วเข้ามาห้าม
                • 8.2 ท่าช้างวังหลวง

                  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พื้นที่แถบนี้ถูกเรียกว่า "ท่าพระ" หรือ "ประตูท่าพระ" เนื่องจากเป็นประตูที่ใช้อัญเชิญพระศรีศากยมุนี มาเพื่อประดิษฐานไว้ ณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร แต่ทว่าไม่สามารถอัญเชิญเข้าได้ จึงมีการรื้อประตูและกำแพงวังบางส่วนออก แต่ทว่าชื่อนี้ไม่ใคร่เป็นที่เรียกติดปากของผู้คนมากเท่า "ท่าช้าง" ซึ่งเป็นจุดเดียวกับบริเวณประตูเมืองที่นำช้างซึ่งเลี้ยงไว้ในพระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังหลวง เพื่อลงอาบน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเรียกกันว่า "ท่าช้างวังหลวง" ต่อมาใน พ.ศ. 2351 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระศรีศากยมุนีจากสุโขทัยมาทางแพเพื่อมาประดิษฐานที่วัดสุทัศนเทพวราราม และพักแพที่ท่าช้างวังหลวงเพื่อประกอบพระราชพิธีสมโภชเป็นเวลา 3 วัน แต่พระพุทธรูปไม่สามารถผ่านประตูเมืองบริเวณนี้ได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อประตูและกำแพงบางส่วนออก แล้วสร้างประตูใหม่พระราชทานนามว่า "ประตูท่าพระ" แต่ประชาชนยังคงนิยมเรียกกันว่า ท่าช้าง หรือท่าช้างวังหลวง ปัจจุบันเป็นท่าเรือข้ามฟากซึ่งเอกชนได้เช่าจากกรุงเทพมหานครมาดำเนินการ ส่วนท่าพระปัจจุบันใช้เรียกท่าเรือบริเวณใกล้เคียงท่าช้างวังหลวง และยังเป็นชื่อวังท่าพระที่ตั้งอยู่บริเวณท่าช้างวังหลวง ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร
                  8.2 ท่าช้างวังหลวง
                • บ้านเรือนและอาคารพาณิชย์แถบท่าช้างวังหลวง เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก หลังคาชั้นบนทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์ ชั้นล่างด้านหน้า อาคารมีกันสาดมุงด้วยสังกะสีลอนลูกฟูก โดยมีค้ำยันเหล็กและแปไม้รับน้ำหนัก ผนังและเสาอิงภายนอกทั้งสองชั้น มีลวดบัวปูนปั้นตกแต่งและเซาะร่องผนังเป็นเส้นตามแนวนอน ทั้งหมด ประตูและหน้าต่างทำจากไม้สัก โดยประตูหน้าของชั้นล่างเป็นชุดบานเฟี้ยม ตอนบนมีช่องลม ส่วนด้านหลังเป็นบานลูกฟักทึบแบบเปิดคู่หน้าต่างชั้นบนด้านหน้าเป็นบานลูกฟักทึบแบบเปิดคู่ตอนบนมีช่องลมไม้ฉลุลายรูปโค้ง ส่วนหน้าต่างด้านหลังเป็นบานเปิดคู่รูปสี่เหลี่ยม ไม่มีช่องลม บริเวณห้องริมสุดของอาคารแต่ละด้านรวมทั้งห้องมุมถนนมหาราชจะมีลักษณะพิเศษ คือ รูปด้านอาคารทำเป็นมุขยื่น มุขชั้นล่างมีเสาลอยขึ้นไปรับระเบียงชั้นบน กันสาดชั้นล่างเป็นรูปโค้ง ส่วนแผงหน้าจั่วประดับลวดลายปูนปั้น หรือซุ้มสกัดตอน และกรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อาคารพาณิชย์ริมถนนมหาราชบริเวณท่าช้างวังหลวงจำนวน 34 คูหา เมื่อปลายปี พ.ศ. 2544 และได้มีการบูรณะปรับปรุงใหม่ให้ดูแลสวยงามและใหม่ หลังจากที่ได้เสื่อมทรุดไปกับกาลเวลา พร้อมกับได้ปรับปรุงภูมิทัศน์รอบ ๆ ด้วย
                • 8.3 ท่าพระจันทร์

                           เป็นท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่บริเวณสุดถนนพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ให้บริการเฉพาะเรือข้ามฟากในเส้นทางท่าพระจันทร์-วังหลัง และท่าพระจันทร์-พระปิ่นเกล้า บริเวณท่าเรือแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็นป้อมแห่งหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นตามแนวกำแพงพระนครด้านตะวันตก ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ใช้บริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นท้องสนามหลวง ถนนหน้าพระธาตุ ป้อมต่าง ๆ รอบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลถูกรื้อลงหมดรวมถึงป้อมพระจันทร์ด้วย ถนนที่ตัดตรงสู่บริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงมีชื่อว่า "ถนนพระจันทร์" และท่าน้ำในบริเวณที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมพระจันทร์จึงเรียกว่า "ท่าพระจันทร์" มาจนถึงปัจจุบัน ใช้เป็นท่าเรือโดยสารซึ่งมีบริษัทเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการเดินเรือข้ามฟากที่ประมูลมาจากกรุงเทพมหานคร
                  ปัจจุบัน บริเวณท่าพระจันทร์เป็นแหล่งการค้าที่คึกคักมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเย็น โดยเป็นที่รู้จักกันดีของการเป็นตลาดพระเครื่องและวัตถุมงคลต่าง ๆ รวมถึงร้านค้า, ร้านอาหาร, ร้านหนังสือต่าง ๆ อีกด้วย
                  8.3 ท่าพระจันทร์

                  9.ถนนในอดีตของเขตพระนคร

                  เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลถนนในอดีตของพระนคร
                  และสามารถชมAR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

                  • 9.1 ถนนเฟื่องนคร

                    ถนนเฟื่องนคร (อักษรโรมัน: Thanon Fueang Nakhon) เป็นถนนในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนบำรุงเมือง (สี่กั๊กเสาชิงช้า) ในท้องที่แขวงวัดราชบพิธ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธ เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ จนถึงถนนเจริญกรุง (สี่กั๊กพระยาศรี) รวมระยะทางประมาณ 0.5 กิโลเมตร
                    ถนนเฟื่องนครเป็นถนนที่สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก โดยเริ่มตั้งแต่กำแพงเมืองด้านใต้ คือใต้ปากคลองตลาด ผ่านบ้านหม้อ บ้านญวนตัดกับถนนเจริญกรุงเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กพระยาศรี และตัดกับถนนบำรุงเมืองเป็นสี่แพร่งหรือสี่กั๊กเสาชิงช้า ผ่านวัดมหรรณพาราม โรงเลี้ยงวัวหลวง หรือบ้านท้าวประดู่ในวรรณกรรมระเด่นลันได ซึ่งปัจจุบันนี้คือ สี่แยกคอกวัว สวนหลวง ไปจนถึงกำแพงเมืองด้านเหนือที่ข้างวัดบวรนิเวศวิหาร โดยเริ่มทำพร้อมถนนบำรุงเมืองใน พ.ศ. 2406 และสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2407 จากนั้นได้พระราชทานนามว่า "ถนนเฟื่องนคร" ซึ่งมีความหมายเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันสอดคล้องกับชื่อถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง
                    9.1  ถนนเฟื่องนคร
                  • 9.2 ถนนเจริญกรุง

                    ถนนเจริญกรุง (อักษรโรมัน: Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน และหลังจากตัดกับถนนพระรามที่ 3 แล้ว ถนนเจริญกรุงจะมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าถนนตก จนไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวงเขตยานนาวา โดยเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงสะพานเหล็กบนไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี
                    9.2  ถนนเจริญกรุง
                  • ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2404 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม
                  •  เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิตเมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (จีน: 新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน
                  • 9.3 ถนนบำรุงเมือง

                    ถนนบำรุงเมือง (อักษรโรมัน: Thanon Bamrung Mueang) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เชื่อมต่อจากถนนกัลยาณไมตรีบริเวณจุดตัดกับถนนอัษฎางค์ที่แยกสะพานช้างโรงสี ในพื้นที่เขตพระนคร ไปทางทิศตะวันออก เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ ตัดกับถนนเฟื่องนคร และถนนตะนาว เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงวัดราชบพิธกับแขวงเสาชิงช้าไปจนถึงเสาชิงช้า จากนั้นตัดกับถนนอุณากรรณ เข้าสู่แขวงสำราญราษฎร์ ตัดกับถนนมหาไชยข้ามคลองรอบกรุงเข้าสู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตัดกับถนนบริพัตร ตัดกับถนนวรจักรและถนนจักรพรรดิพงษ์ จากนั้นเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงคลองมหานาคกับแขวงวัดเทพศิรินทร์ ตัดกับถนนยุคล 2 และถนนพลับพลาไชย ไปสิ้นสุดที่แยกกษัตริย์ศึกบริเวณจุดตัดกับถนนกรุงเกษม โดยมีถนนที่ต่อเนื่องต่อไปคือถนนพระรามที่ 1
                    9.3  ถนนบำรุงเมือง
                  • ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างตามแบบตะวันตก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นถนนสมัยใหม่ และเป็นที่นิยมใช้สัญจรไปมาของชาวไทยและชาวยุโรป ใน พ.ศ. 2406 รัฐบาลจึงปรับปรุงถนนเสาชิงช้าซึ่งเริ่มต้นจากสะพานช้างโรงสี และเป็นถนนเก่าแก่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยทำเป็นถนนสมัยใหม่มีท่อระบายน้ำและไม่ปล่อยให้หญ้าขึ้นรกรุงรังเหมือนก่อน มีความยาว 29 เส้นเศษ จากนั้นได้พระราชทานนามว่า ถนนบำรุงเมือง ซึ่งเป็นนามที่มีความหมายเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เพราะเมื่อแรกที่สร้างถนนบำรุงเมืองนั้นยังแคบอยู่และไม่ตรง และเมื่อสร้างเสร็จแล้วเจ้าของที่ดินริมถนนได้สร้างตึกแถว ห้องแถว และร้านค้า 2 ชั้น ถนนบำรุงเมืองเป็นถนนสายสำคัญที่มีคนสัญจรไปมามาก ซึ่งอาคารร้านค้าต่าง ๆ เหล่านี้ต่างก็ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของอาคารในสิงคโปร์ คือ จีน-โปรตุเกส มีทางเดินด้านหน้าที่มีหลังคาคลุมถึงกันโดยตลอด คือ อาเขด
                  • ลักษณะพิเศษอีกประการหนึ่งของถนนบำรุงเมือง คือ ถนนช่วงตั้งแต่สี่กั๊กเสาชิงช้าจนถึงแยกเสาชิงช้า รวมถึงฝั่งถึงแยกสำราญราษฎร์ เป็นช่วงที่ไม่มีบาทวิถีอย่างถนนอื่น ๆ ทั่วไป เนื่องจากเจ้าของอาคารต่าง ๆ ที่อยู่ริมถนนรู้สึกว่าอาคารร้านค้าของตนนั้นคับแคบไปจึงได้มีการขยายพื้นที่ออกไปยังหน้าถนนและทำให้สามารถเดินทะลุถึงกันได้ตลอด ถนนบำรุงเมืองในช่วงนี้จึงไม่มีบาทวิถีเพราะไปอยู่ในตัวอาคาร แต่ภายหลังเจ้าของอาคารแต่ละหลังก็ได้ซ่อมแซมกลายเป็นปิดกั้นหมด ไม่สามารถเดินทะลุได้อย่างแต่ก่อน

                    10.อนุสาวรีย์สำคัญในเขตพระนคร

                    เลื่อนซ้าย-ขวาหรือคลิกปุ่ม< > เพื่อชมรายละเอียดข้อมูลคลองคูเมืองเดิม 5 คลองสำคัญ
                    และสามารถชมAR ได้โดยการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน

                    • 10.1 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

                      อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่กึ่งกลางวงเวียนระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยนอกจากนี้อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นหลักกิโลเมตรศูนย์ ที่ซึ่งเป็นอ้างอิงในการวัดระยะทางจากกรุงเทพมหานคร
                      อนุสาวรีย์ก่อสร้างและออกแบบโดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และมีอาจารย์ศิลป์ พีระศรีร่วมกับคุณสิทธิเดช แสงหิรัญเป็นศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์อนุสาวรีย์ประกอบด้วย “ปีก” จำนวน 4 ปีก รายล้อมประติมากรรมแสดงพานแว่นฟ้าวางรัฐธรรมนูญที่ซึ่งจำลองจากขณะการทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธยเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกแห่งราชอาณาจักรไทย องค์ประกอบต่าง ๆ ของอนุสาวรีย์เป็นตัวแทนทางสัญลักษณ์ถึงหลักการและอุดมการณ์ประชาธิปไตยของคณะราษฎรและถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองอนุสาวรีย์ประกอบพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 8 ปีการปฏิวัติสยาม การก่อสร้างใช้งบประมาณรวม 250,000 บาท
                      10.1 อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
                    • เนื่องด้วยชื่อ “ประชาธิปไตย” ของอนุสาวรีย์ วงเวียนนี้จึงมักถูกใช้เป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้งเช่น ระหว่างเหตุการณ์ 14 ตุลา, เหตุการณ์ 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2553 และ การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย พ.ศ. 2563–64 เป็นต้น
                    • สัญลักษณ์แห่งประชาธิปไตยของคนไทย สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ก่อสร้างและออกแบบโดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ควบคุมการก่อสร้างจนแล้วเสร็จโดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีและสิทธิเดช แสงหิรัญ เป็นศิลปินผู้ปั้นอนุสาวรีย์ อนุสาวรีย์ฯ แห่งนี้ ยังเปรียบเสมือนศูนย์กลาง ความเจริญ โดยถนนสายต่าง ๆ ที่จะออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมือง ก็จะนับต้นทางจากอนุสาวรีย์นี้ ทั้งยังโดดเด่นสะดุดตาด้วยรูปหล่อลอยตัว ประกอบด้วยรูปเล่มรัฐธรรมนูญในสมุดไทย ประดิษฐาน บนพานแว่นฟ้า ที่สร้างด้วยทองแดง ขนาดความสูง 3 เมตร หนัก 4 ตัน ตั้งบนฐานรูปทรงกลมด้านบนโค้งกลม ลานอนุสาวรีย์ยกสูงมีบันไดโดยรอบ รอบนอกลานอนุสาวรีย์มีครีบทรงแบนอยู่ 4 ทิศ ที่โคนครีบมีภาพแกะสลักลายปั้นนูน และมีรั้วเตี้ยกั้นรอบลานอนุสาวรีย์ ซึ่งรั้วนี้ใช้ปืนใหญ่โบราณจำนวน 75 กระบอก ฝังดินโผล่ท้ายกระบอกขึ้นมา เป็นเสา คล้องโซ่เชื่อมต่อกันครีบ 4 ด้าน สูงจากแท่นพื้น 24 เมตร มีรัศมียาว 24 เมตร หมายถึง วันที่ 24 ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
                    • สำหรับพานรัฐธรรมนูญ บนยอดป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ สูง 3 เมตร หมายถึง เดือน 3 หรือเดือนมิถุนายน (ขณะนั้นนับเมษายนเป็นเดือนแรกของปี) ตรงกับเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และยังหมายถึง อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ (นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ) ปืนใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) รอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลง การปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ. 2475) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกันหมายถึงความสามัคคี พร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ พระขรรค์ 6 เล่ม ที่รายล้อมรอบป้อมกลางตัวอนุสาวรีย์ หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร นอกเหนือจากนี้ บริเวณรอบ ๆ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยังมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นั่งชิลริมร้านกาแฟ ตลอดจนเดินเล่นทอดน่อง เพื่อซึมซับกับประวัติศาสตร์อันยายนาน ของอนุสาวรีย์แห่งความทรงจำ
                    • 10.2 อนุสาวรีย์อุทกทาน

                      อุทกทาน (พระแม่ธรณีบีบมวยผม) แห่งนี้ เป็นพระราชดำริของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เพื่อพระราชทานน้ำดื่มให้แก่คนที่ผ่านไปมาขณะที่กรุงเทพฯ เริ่มมีน้ำประปา โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมงกุฎราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสได้ถวายคำแนะนำให้สร้างเป็นรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม โดยมีน้ำสะอาดไหลออกมาจากปลายมวยผม สามารถใช้ดื่มกินได้อุทกทานนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงออกแบบรูปปั้นนางพระธรณี และพระยาจินดารังสรรค์ (พลับ) เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบซุ้มเรือนแก้ว ดำเนินงานจัดสร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นเงิน 16,437 บาททำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2460 อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงนครบาล เป็นผู้แทนพระองค์ไปประกอบพิธีเปิด ทรงมีพระราชหัตถเลขาไปถึงเจ้าพระยายมราช มีความตอนหนึ่งว่า
                      10.2 อนุสาวรีย์อุทกทาน
                    • “พรุ่งนี้ฉันจะทำบุญวันเกิด ให้คุณจัดเปิดรูปนางพระธรณีท่ออุทกทาน ซึ่งฉันได้ออกทรัพย์ให้หล่อขึ้นสำเร็จ ตั้งไว้ ณ เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา และขออุทิศท่ออุทกทานนี้ให้เป็นสาธารณทานแก่ประชาชนผู้เป็นเพื่อนแผ่นดินใช้กินบำบัดร้อนและกระหาย เป็นความสบายตามปรารถนาทั่วกันเทอญ”คำว่าอุทกทานมีความหมายว่าการให้ทานด้วยน้ำ ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผมแห่งนี้จึงเป็นสิ่งที่แสดงถึงธรรมเนียมอันดีงามของสังคมไทย และความห่วงใยของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์อนึ่ง “อุทกทาน” นั้นเป็นสิ่งที่สังคมไทยในอดีตได้เคยประพฤติกันมา นั่นคือธรรมเนียมการตั้งตุ่มน้ำไว้ที่หน้าบ้าน มีกระบวยสำหรับตักดื่มวางไว้ด้วย เป็นที่รู้กันว่าตุ่มน้ำหน้าบ้านนี้ใครผ่านไปมาสามารถตักดื่มได้ เพราะเจ้าของบ้านตั้งไว้เป็น “อุทกทาน”ปัจจุบันอุทกทานหรือพระแม่ธรณีบีบมวยผมได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับความเคารพบูชาจากประชาชน มีผู้นำทองคำเปลวไปปิด และนำดอกไม้ไปบูชาน้ำที่ไหลจากท่อลงมาถือว่าเป็นน้ำมนต์ สถานที่แห่งนี้จึงมีลักษณะเป็นเทวาลัยหรือสถานที่ประดิษฐานเทวรูปมากกว่าจะเป็นอนุสาวรีย์
                                คุณค่าและความสำคัญคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 5 ทรงตั้งพระทัยที่จะสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานน้ำดื่มแก่ประชาชน แสดงถึงพระเมตตาที่ทรงมีต่อพสกนิกร
                    • รูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรม รูปอุทกทานนี้ เฉพาะรูปนางพระธรณีหล่อด้วยโลหะลงรักปิดทอง ปลายมวยผมที่บีบนั้นวกมาทางด้านหน้า ตรงปลายเป็นท่อให้น้ำไหล ซุ้มเรือนแก้วมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านางสองชั้นฐานสูง เปิดโปร่งทั้ง 4 ด้าน ด้านหน้าซุ้ม มีแท่นตั้งหม้อรองรับน้ำจากปลายมวยผม
                    • 10.3 อนุสาวรีย์ทหารอาสา

                      อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1 สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อใช้เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่และใช้เป็นที่บรรจุอัฐิของเหล่าทหารผู้กล้า ที่เข้าร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยครั้งนั้นมีนายพลตรี พระยาพิไชยชาญฤทธิ์ (ผาด เทพหัสดินทร์ ณ อยุธยา) เป็นหัวหน้าทูตทหาร ภายหลังเมื่อสงครามสงบ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ จึงเดินทางกลับประเทศไทย โดยมีจำนวนทหารผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นจำนวนมาก
                      10.3 อนุสาวรีย์ทหารอาสา
                    • อนุสาวรีย์ทหารอาสาได้รับการออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ตัวอนุสาวรีย์เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะแบบศิลปะประยุกต์จากสถาปัตยกรรมแบบศรีวิชัย ซึ่งมีต้นเค้าจากศาสนสถานของชวาภาคกลางที่เรียกว่า จันทิ มีจารึกกล่าวถึงสาเหตุที่ไทยต้องเข้าร่วมสงคราม พร้อมทั้งรายนามผู้เสียชีวิต โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ไปทรงประกอบพิธีบรรจุอัฐิทหารอาสาที่ฐานอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2462 และโปรดพระราชทานนามเป็นอนุสรณ์ ถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า อนุสาวรีย์ทหารอาสาสงครามโลกครั้งที่ 1และทางราชการได้ถือเอาวันที่ 11 พฤศจิกายน เป็นวันประกอบพิธีวางพวงมาลา ปัจจุบัน อนุสาวรีย์ทหารอาสา ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและเป็นจุดพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ในแถบพระนคร มีบริเวณใกล้กับท้องสนามหลวง จึงสามารถเดินเล่นชมวิว รับลมเย็นยามค่ำ หรือเดินทางต่อไปยังจุดหมายใกล้เคียงได้อย่างง่ายดาย

                      เข้าชมการแนะนำการใช้และการดาวโหลดน์แอปพลิเคชั่น

                      แอปพลิเคชั่นที่จะเป็นไกด์นำทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ในหัวใจพระนคร และพร้อมจะเสนอผลงานศิลปะ AR เพื่อทำให้การท่องเที่ยวของคุณสนุกและได้ย้อนรำลึกถึงอดีตที่แสนสวยงามในเขตพระนครไปด้วยกัน

                      ดาวน์โหลดฟรี

                      พร้อมสนุกเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวในพระนคร คลิกได้เลย!
                      Click Here